วิธีลงโทษลูก ลงโทษอย่างไร?  เพื่อให้เขาเข้าใจ และไม่ทำผิดอีก

ด้วยความที่ลูกของเรายังเด็ก บางครั้งเขาก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยน่ารัก จนเราต้องตักเตือนหรือลงโทษเขาขึ้นมาได้ แต่เมื่อไหร่ที่เราลงโทษเด็ 

 1474 views

ด้วยความที่ลูกของเรายังเด็ก บางครั้งเขาก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยน่ารัก จนเราต้องตักเตือนหรือลงโทษเขาขึ้นมาได้ แต่เมื่อไหร่ที่เราลงโทษเด็ก ๆ ไม่ถูกวิธีสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เข้าใจผิดขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากรู้ว่า เราควรมี วิธีลงโทษลูก อย่างไร เพื่อที่เขาจะได้เข้าเหตุผลมากยิ่งขึ้นมาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

การกระทำอย่างไรที่เด็ก ๆ ควรได้รับการลงโทษ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากจะรู้ว่าหากลูกของเรามีพฤติกรรมแบบนี้ ควรได้รับการลงโทษหรือไม่ เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะว่าพฤติกรรมอะไรบ้างที่เด็ก ๆ ควรได้รับการลงโทษและตักเตือน
บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อลูกน้อยงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน ทำอย่างไรดี ?


ลงโทษลูก

1. เด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง

มาดูกันที่พฤติกรรมแรกที่เด็ก ๆ ควรได้รับการตักเตือน นั่นคือเด็ก ๆ ที่เอาแต่ใจตัวเองโดยที่ไม่ฟังเหตุผลอะไรเลย เพราะฉะนั้นหากลูกของเรากำลังมีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะตามใจเด็ก ๆ  แต่เราควรที่จะต้องฝึกให้เขาเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น

2. เด็กที่ขาดความอดทน

บางครั้งหากลูกของเราเป็นเด็กที่ไม่มีความอดทน หรือเป็นเด็กที่ค่อนข้างงอแงหน่อย ๆ เราก็อาจจะต้องสอนให้เขามีความอดทนมากยิ่งขึ้น พยายามสอนให้เขาเข้าใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพราะเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ ไม่มีความอดทนเลย ไม่ว่าเขาจะทำอะไรก็ตามเขาก็จะมีความถอดใจได้ง่ายจนบางครั้งอาจจะส่งผลทำให้เขาไม่มีเป้าหมายในชีวิตขึ้นมาได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ลูกทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ก่อนสายเกินไป

3. เด็กขาดคุณธรรมและจริยธรรม

อีกหนึ่งสิ่งที่เด็ก ๆ ควรได้รับการตักเตือน นั่นคือเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม เพราะถ้าเราไม่ปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีคุณธรรมและจริยธรรม สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เขากลายเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย

4. เด็กชอบโกหก

สิ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลย เพราะเมื่อไหร่ที่เขากลายเป็นเด็กที่ชอบโกหก สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เขากลายเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือและไม่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้ ดังนั้นเราก็ควรที่จะตักเตือนเด็ก ๆ สอนให้เขาเป็นเด็กที่ไม่โกหก และพูดความจริงออกมานะคะ

5. เด็กขี้แย

พฤติกรรมที่เด็ก ๆ ควรได้รับการตักเตือนอีกอย่างเลยคือการที่เด็ก ๆ เป็นคนขี้แย โดยไม่มีเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น อยู่ ๆ เด็ก ๆ ก็งอแงโดยไม่มีเหตุผล หรือทำอะไรไม่ได้ดั่งใจก็จะร้องไห้ไปหมดซะทุกอย่าง เพราะฉะนั้นหากเด็ก ๆ มีพฤติกรรมแบบนี้อยู่ เราควรที่จะรีบหาทางแก้ไขปัญหา และไม่ควรตามใจเด็ก ๆ ค่ะ


ลงโทษลูก

วิธีลงโทษลูก แต่ไม่อยากตีควรทำอย่างไร?

ด้วยความรักและความห่วงใยที่คุณพ่อคุณแม่มีต่อเด็ก ๆ แน่นอนว่าเราก็ไม่อยากที่จะให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่ดี หรือต้องมารู้สึกเจ็บตัว แต่เมื่อไหร่ที่เขามีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือยอมเชื่อฟัง เราก็อาจจะต้องมีการลงโทษหรือตักเตือนเด็ก ๆ บ้าง สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าเราควรมีวิธีการลงโทษเด็ก ๆ อย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีแก้ปัญหาลูกน้อยไม่ยอม “ขอโทษ” เมื่อตนเองทำความผิด แก้ได้แต่ต้องเข้าใจ

1. ส่งน้ำเสียง หรือสายตา

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่อยากลงโทษเด็ก ๆ ด้วยการตี เราก็อาจจะลงโทษเขาด้วยน้ำเสียงหรือสายตาได้ เพื่อให้เขาได้รู้ว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี หรือกำลังทำผิดอยู่ เพราะเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ เขาเห็นเราส่งสัญญาณไปแบบนี้ เด็ก ๆ เขาก็จะรู้สึกกลัวและไม่กล้ากระทำสิ่งนั้นอีกนั่นเองค่ะ

2. งดให้ลูกทำกิจกรรมที่ชอบ

กรณีนี้อาจจะเป็นวิธีการลงโทษสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น หากเขาไม่ยอมทำการบ้านให้เสร็จ เราก็อาจจะไม่อนุญาตให้เขาออกไปเล่นกับเพื่อน ๆ เป็นต้น ซึ่งการลงโทษด้วยวิธีนี้นอกจากจะทำให้เขามีความรับผิดชอบมากขึ้นแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะสอนให้เด็ก ๆ มีระเบียบวินัย อีกทั้งยังเป็นเด็กที่มีเหตุผลมากขึ้นด้วยค่ะ แต่ไม่ควรที่จะบังคับเด็ก ๆ จนเกินไปนะคะ ไม่อย่างนั้นก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกกดดันขึ้นมาได้เช่นกัน

3. ตักเตือน 1 – 3 ครั้ง

วิธีการลงโทษเด็ก ๆ ด้วยการตักเตือน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลงโทษเด็ก ๆ ได้โดยไม่ต้องตี เพราะฉะนั้นหากลูกของเราทำผิดเราก็อาจจะตักเตือนเขาก่อน ตักเตือนด้วยเหตุผล แล้วเด็ก ๆ เขาก็จะเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี หรือบางคนก็อาจจะเริ่มรู้ตัวว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นมันไม่ดีและอาจจะทำให้ตัวเองถูกตีได้เลย

4. สบตาและอธิบายให้เห็นภาพ

หากลูกของเรายังเด็ก เราก็อาจจะลงโทษเขาด้วยการสบตาและการใช้น้ำเสียงอย่างเหมาะสม แสดงให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำอยู่นั้นมันไม่ถูกต้อง ซึ่งวิธีนี้คุณพ่อคุณแม่อาจจะอธิบายสั้น ๆ เปรียบเทียบให้เขามองเห็นภาพมากขึ้น และเมื่อไหร่ที่เขามองเห็นภาพ และเข้าใจถึงเหตุผลที่เรากำลังสอนและตักเตือน เด็ก ๆ เขาก็จะไม่กล้าทำผิดอีกค่ะ

5. เด็กที่ไม่น่ารักจะไม่ได้รับความสนใจ

เมื่อไหร่ที่เขามีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือเป็นเด็กที่เอาแต่ใจ เราก็อาจจะแสดงให้เขาเห็นว่าหากเขามีพฤติกรรมแบบนี้ เขาก็จะไม่ได้รับความสนใจจากคนรอบข้าง ยกตัวอย่างเช่น เขากำลังร้องไห้ หรืองอแงแบบไม่มีเหตุผล เราก็อาจจะปล่อยให้เขาหยุดร้องเอง ไม่ควรรีบเข้าไปตามใจลูก เพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าสิ่งที่เขากำลังเป็นอยู่นั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารักนั่นเองค่ะ

ลงโทษลูก

6. จับแยกให้อยู่คนเดียวตามลำพัง

การลงโทษเด็ก ๆ ด้วยวิธีนี้ค่อนข้างได้ผลอยู่เช่นกัน ซึ่งวิธีการลงโทษแบบนี้จะเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 10 ปี เมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ เริ่มงอแง หรือทำอะไรที่ไม่น่ารัก เราก็อาจจะต้องพาเขาไปสงบสติอารมณ์ด้วยการนั่งอยู่คนเดียวสักพัก แต่ไม่ควรที่จะขังเด็ก ๆ ในห้องที่มีความมืด หรือในห้องน้ำ เพราะสิ่งนี้อาจจะเป็นอันตรายสำหรับเด็ก ๆ ได้ และหลังจากที่เราลงโทษลูกแบบนี้ เราควรที่จะให้ความสนใจลูกพร้อมกับอธิบายให้ลูกฟังถึงเหตุผลที่เราทำลงไป เพื่อที่เด็ก ๆ เขาจะได้เข้าใจในสิ่งที่เราทำไปค่ะ

7. ฝึกให้เขารับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไป

หากลูกของเรากระทำผิด หรือทำในสิ่งที่ไม่ดี เราอาจจะต้องฝึกให้เขารับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำลงไป ยกตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ทำน้ำหกใส่พื้น เราก็อาจจะให้เด็ก ๆ เช็ดด้วยตัวเอง เพื่อที่เขาจะได้เข้าใจในสิ่งที่ตัวเองกระทำมากขึ้น และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ในทางกลับกันหากเด็ก ๆ ทำผิด แต่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยปละละเลยเรื่องราวเหล่านี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ กลายเป็นคนที่ไม่มีความรับผิดชอบได้เหมือนกันนะคะ

วิธีลงโทษลูก ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจมาก ๆ ดังนั้นหากเราอยากจะให้เด็ก ๆ เติบโตมาเป็นเด็กที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม เมื่อไหร่ที่เขามีพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือเป็นเด็กที่ไม่น่ารักเราก็อาจจะลงโทษเด็ก ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 วิธีแก้เมื่อ ลูกหวงของ ให้มีน้ำใจ เป็นเด็กชอบแบ่งปัน

ลูกชอบ ทะเลาะวิวาท ทั้งกับเพื่อน และพี่น้อง ทำอย่างไรดี ?

ปัญหาเด็กยุคใหม่ ลูกติดมือถือ จับไม่ยอมวาง ทำอย่างไรดี ?

ที่มา : 1, 2, 3