เทคนิค! สอนลูกอาบน้ำ ทำอย่างไร? ไม่ให้ลูกงอแง

เมื่อลูกของเราเริ่มโตขึ้น แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะอยากฝึกให้เด็ก ๆ ลองอาบน้ำเองบ้าง เพราะเมื่อเขาโตขึ้นมาเขาจะได้ดูแลตัวเองได้  หากคุ 

 1246 views

เมื่อลูกของเราเริ่มโตขึ้น แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะอยากฝึกให้เด็ก ๆ ลองอาบน้ำเองบ้าง เพราะเมื่อเขาโตขึ้นมาเขาจะได้ดูแลตัวเองได้  หากคุณพ่อคุณแม่กำลังมองหาวิธีและเคล็ดลับดี ๆ อยากจะ สอนลูกอาบน้ำ เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

 

เทคนิคสอนลูกอาบน้ำ ด้วยตัวเองได้

สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการอาบน้ำให้เด็ก ๆ ไม่รู้ว่าเริ่มแรกเราต้องทำอย่างไรก่อน เข้ามาดูวิธีการสอนลูกอาบน้ำกันได้เลยนะคะ

สอนลูกอาบน้ำ

1. สอนลูกให้รู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ

ก่อนที่เราจะสอนให้เด็ก ๆ อาบน้ำเองได้ อย่างแรกเลยคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสอนให้เขารู้จักอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับอาบน้ำก่อน อาทิเช่น สบู่อาบน้ำ ยาสระผม หรือแปรงสีฟัน เป็นต้น เพราะหากเราไม่ได้สอนให้ลูกรู้จักอุปกรณ์เหล่านี้ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ นำอุปกรณ์มาใช้งานผิดได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 วิธีแก้ปัญหาเมื่อ ลูกทำร้ายตัวเองเวลาโมโห ก่อนสายเกินไป

2. ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน

อีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยทำให้เด็ก ๆ อาบน้ำเองได้เร็วขึ้น แน่นอนว่าเราต้องสอนลูก ๆ อยู่เป็นประจำ ไม่ควรที่เว้นระยะห่าง หรือผัดวันประกันพรุ่ง เพราะไม่อย่างนั้นเด็ก ๆ อาจจะลืมขั้นตอนหรือวิธีการอาบน้ำได้เลย

3. ร้องเพลง หรือเปิดเพลงไปด้วย

หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้การสอนลูกอาบน้ำในครั้งนี้ดูสนุกและ ทำให้เด็ก ๆ แฮปปี้กับการอาบน้ำมากขึ้น เราก็อาจจะเปิดเพลง หรือร้องเพลงไปพร้อมกับเด็ก ๆ เพื่อที่เขาจะได้ไม่รู้สึกกดดันและมีความสุขกับสิ่งที่ทำมากขึ้น และเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ เขารู้สึกมีความสุขและสนุกกับสิ่งที่ทำ เขาก็จะอยากอาบน้ำเองและไม่งอแงในขณะกำลังอาบน้ำนั่นเองค่ะ

4. หาของเล่นสำหรับเล่นเวลาอาบน้ำ

หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสอนเด็ก ๆ อาบน้ำเองครั้งแรก อีกหนึ่งวิธีที่จะไม่ทำให้เด็ก ๆ งอแงเวลาอาบน้ำ เราอาจจะต้องหาของเล่นมาให้เด็ก ๆ เล่นในระหว่างการอาบน้ำ เพื่อดึงดูดความสนใจและไม่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเบื่อเวลาอาบน้ำนะคะ

สอนลูกอาบน้ำ

5. กำหนดเวลาให้ชัดเจน

ทุกครั้งของการอาบน้ำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีการกำหนดเวลาในการอาบน้ำให้ชัดเจน ไม่ควรอาบน้ำดึกจนเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เด็ก ๆ ไม่สบายขึ้นมาได้ ซึ่งต้องบอกว่าเมื่อไหร่ที่เรากำหนดเวลาในการอาบน้ำ เด็ก ๆ ก็จะมีระเบียบวินัยในตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังสอนให้เขาเป็นเด็กที่ตรงต่อเวลาด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เมื่อลูกน้อยงอแง ไม่อยากไปโรงเรียน ทำอย่างไรดี ?

6. คอยให้กำลังใจและชื่นชมลูก

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเอาใส่ใจไม่แพ้กันเลย นั่นคือคอยให้กำลังใจและคอยชื่นชมเด็ก ๆ อยู่เสมอ เพราะการที่เราคอยให้กำลังใจลูกและชื่นชมเด็ก ๆ นั้น เขาก็จะรู้สึกดีมีกำลังใจการทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไปค่ะ

7. อธิบายให้ลูกฟังด้วยเหตุผล

แต่ละครั้งของการสอนเด็ก ๆ อาบน้ำ แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ค่อยราบรื่นสักเท่าไหร่ เด็ก ๆ อาจจะรู้สึกงอแง หรือเอาแต่ใจขึ้นมาบ้าง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะพูดคุยกับเขาด้วยเหตุผล พยายามอธิบายถึงการอาบน้ำให้เด็ก ๆ ฟัง ในทางกลับกันไม่ควรที่จะบังคับหรือพูดเสียงดังกับลูก ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เด็ก ๆ รู้สึกกลัวและไม่กล้าที่จะทำอะไรด้วยตัวเองสักเท่าไหร่

8. เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ

การสอนลูกอาบน้ำที่จะได้ผลดีอีกหนึ่งวิธีคือเราจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ อย่างที่รู้กันดีว่า วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้ หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้เด็ก ๆ อาบน้ำเองได้ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น เราควรที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ นะคะ

วิธีการสังเกตว่าลูกของเราสามารถอาบน้ำเองได้แล้ว

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่า เรามีวิธีการสังเกตลูกอย่างไรว่าเด็ก ๆ เขาสามารถอาบน้ำเองได้แล้ว หรือหากลูกของเรามีพฤติกรรมแบบนี้เขาสามารถอาบน้ำเองได้ไหม มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ


บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกคิดบวก หายห่วงทุกสถานการณ์ กับ 5 วิธีแสนง่าย

 

สอนลูกอาบน้ำ

1. เขามีความตั้งใจกับการอาบน้ำมากขึ้น

ด้วยความที่เขายังเป็นเด็ก ๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม สำหรับเด็กบางคนแล้วเขาก็อาจจะมีช่วงที่เล่นบ้าง และจริงจังบ้าง หากเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ ตั้งใจอาบน้ำ และไม่ค่อยเล่นไปอาบน้ำไป สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าเขาเริ่มที่จะอาบน้ำเองได้ และเริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้นนั่นเองค่ะ

2. เด็ก ๆ เริ่มจำอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แล้ว

หากเด็ก ๆ เริ่มจำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการอาบน้ำได้ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องอธิบาย หรือบอกเขาอีกรอบ นั่นแสดงว่าเขาเริ่มมีความสนใจที่อยากจะลองอาบน้ำเองด้วยตัวเองนะคะ

3. เด็ก ๆ มีทักษะในการปีนป่าย

การสอนลูกอาบน้ำในแต่ละครั้งเราอาจจะต้องดูลูกของเราด้วยว่าถึงเวลาที่จะฝึกให้เขาอาบน้ำด้วยตัวเองแล้วหรือยัง ซึ่งเราอาจจะต้องดูทักษะการปีนป่ายของลูกเราด้วย หากเขาเริ่มทรงตัวได้ และอยู่ในช่วงวัยที่เขาต้องฝึกทำอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตัวเอง สิ่งนี้ก็จะทำให้การสอนอาบน้ำให้กับเด็ก ๆ ดูง่ายขึ้นมาเลยล่ะค่ะ

4. ดูทักษะความจำของเด็ก 

ไม่ว่าจะอาบน้ำอยู่กี่ครั้งหากเด็ก ๆ เริ่มจำขั้นตอนการอาบน้ำได้ โดยที่เราไม่ต้องคอยบอก นี่ก็อาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับที่กำลังบ่งบอกว่าเด็ก ๆ เขาเริ่มดูแลตัวเองได้และสามารถอาบน้ำด้วยตัวเองได้

 

เทคนิคการอาบน้ำที่เราได้นำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ในวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้หรือนำไปสอนเด็ก ๆ อาบน้ำได้เลยนะคะ บอกเลยว่าเป็นวิธีที่ทำตามได้ไม่ยาก อีกทั้งยังเป็นเคล็ดลับดี ๆ ที่จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการอาบน้ำในครั้งนี้ด้วยนะคะ



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ปัญหา “โลกส่วนตัวสูง” ไม่ใช่โรค ช่วยลูกปรับตัวได้ด้วยการยอมรับ และความเข้าใจ
6 วิธีแก้ปัญหาลูกน้อยไม่ยอม “ขอโทษ” เมื่อตนเองทำความผิด แก้ได้แต่ต้องเข้าใจ
ชื่นชมลูก อย่างไร? ให้ถูกวิธี และไม่ทำให้เด็กหลงตัวเอง
ที่มา : 1, 2