เทคนิค!! สอนลูกให้หายขี้กลัว ลูกขี้กลัวไปหมดทุกอย่างต้องทำอย่างไร?

มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังกังวลว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้อยหายกลัวกันอยู่บ้างไหมคะ? วันนี้ทางเราเอา เทคนิค!! วิธีสอนให้ลูกน้อยหายกลัว ลูกน้อยขี้ 

 1362 views

มีคุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังกังวลว่าจะทำอย่างไรให้ลูกน้อยหายกลัวกันอยู่บ้างไหมคะ? วันนี้ทางเราเอา เทคนิค!! วิธีสอนให้ลูกน้อยหายกลัว ลูกน้อยขี้กลัวควรทำอย่างไร มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ดูกัน เผื่อจะเป็นตัวช่วยยในการทำให้ลูกน้อยหายกลัวได้

ขี้กลัว



ลูกขี้กลัวอะไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยใช่ไหมว่าทำไมลูกถึงขี้กลัว? การที่ลูกขี้กลัวนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ธรรมชาติมาก ๆ เพราะเด็กแต่ละบ้านนั้นจะมีความที่แตกต่างกันออกไปตามแบบฉบับของตนเอง และความรู้สึกกลัวของพวกเขาในช่วงอายุหนึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงหากพวกเขามีอายุที่มากขึ้น โดยความกลัวที่มักพบบ่อยในเด็ก มีดังต่อไปนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมลูกถึงชอบปีนป่าย ลูกอย่าไม่นิ่งควรทำอย่างไร ลูกจะชอบปีนป่ายเมื่อไหร่


ความมืด

ความมืดเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ หลายคนนั้นกลัวมาก ๆ ถึงแม้ว่าเด็กนั้นจะชอบนอนมากแค่ไหน แต่ก็มักที่จะกลัวความมืดอยู่เสมอ และถ้าหากว่าพวกเขานั้นได้ตื่นขึ้นกลางดึกแล้วไม่พบใครเลย เด็ก ๆ ก็จะยิ่งกลัวไปใหญ่

ความสูง

เด็กหลาย ๆ คนนั้นจะกลัวความสูงมาก เพราะตัวของพวกเขานั้นไม่ได้สูงมากนัก และเรียกได้ว่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สามารถทำให้เด็กนั้นกลัวความสูงได้ เพราะพวกเด็ก ๆ นั้นจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยหากว่าจะต้องยืนมองลงไปยังพื้นที่ดูเหมือนไกล และอันตราย

กลัวการอยู่คนเดียว 

การที่ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวเด็กนั้นจะกลัวมาก ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเด็กที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 1 – 3 ปี จะอยู่ติดกับคุณแม่มาก ๆ หรือแทบจะติดอยู่กับแม่ตลอดเวลา เพราะพวกเขานั้นกลัวว่าแม่ของเขานั้นจะหายไปและทำให้พวกเขานั้นต้องอยู่เพียงลำพัง

การไปหาหมอ 

การไปหาหมอเรียกได้เป็นเรื่องที่เด็ก ๆ กลัวเป็นอันดับแรก ๆ เลย หลายบ้านมักงอแงทุกครั้งที่ถูกพาไปหาคุณหมอ ทั้งกลิ่นของโรงพยาบาล และเข็มฉีดยาที่มีปลายแหลม ทำให้พวกเด็ก ๆ นั้นไม่อยากที่จะไปหาคุณหมอกันสักเท่าไหร่

สัตว์ประหลาดหรือผี 

เด็ก ๆ นั้นอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่พวกเด็ก ๆ มักที่จะเก่งเรื่องจินตนาการ เขาสามารถสร้างสัตว์ประหลาดที่น่ากลัว หรือจะจินตนาการถึงสิ่งต่าง ๆ และสร้างมันขึ้นมาเป็นรูปร่างได้ โดยที่คุณพ่อคุณแม่อย่างเรานั้นไม่มีทางได้เห็นได้ ซึ่งการจินตนาการพวกนี้นั้นก็จะนำไปสู่ความกลัวของพวกเขาได้เช่นกัน


ขี้กลัว



ความกลัวของเด็กในแต่ละช่วงอายุ

ความของแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกันออกไป มีดังต่อไปนี้

1. เด็กที่มีอายุ 6-7 เดือน

เด็กที่อายุ 6 – 7 เดือน จะกลัวในเรื่องของคนแปลกหน้า คนที่ไม่คุ้นเคย หรือคนที่ไม่ค่อยที่จะได้เจอหน้ากันบ่อย ๆ ส่วนมากเด็ก ๆ มักที่จะแสดงออกมาในเวลาที่คุณพ่อคุณแม่นั้นพาไปเยี่ยมญาติ หรือเพื่อน ๆ นอกจากนี้ หากว่าเด็กนั้นร้องเมื่อเจอคนแปลกหน้าหรือคนที่เขานั้นไม่คุ้นเคยหน้า สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะทำคือ อย่าพยายามให้คนที่ลูกกลัวนั้นอุ้มลูกเด็ดขาด เพราะการที่ให้คนอื่นอุ้มทั้งที่เขานั้นไม่เต็มใจจะทำให้เด็กวัยนี้นั้นเกิดความกลัวกลัวคนแปลกหน้าเป็นปกตินั่นเอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะแนะนำให้ญาติ ๆ จับมือเล่นกับลูกน้อย หรือยิ้มทักทายเขาก็เพียงพอแล้ว

2. เด็กที่มีอายุ 2-3 ขวบ

เด็กในวัย 2 – 3 ขวบ เด็กในวัยนี้จะมีความกลัวที่มากขึ้น บางคนอาจจะกลัวความมืด กลัวผี กลัวสัตว์ต่าง ๆ กลัวเสียงฟ้าร้อง เสียงฟ้าฝ่า ฝันร้าย กลัวการอยู่คนเดียว กลัวการที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า หรือกลัวการไปหาหมอ หรือสัตว์ประหลาดตามหนังหรือนิทาน

เด็กวัยนี้ความกลัวจะมีมากขึ้น บางคนกลัวความมืด กลัวผี สัตว์ประหลาดตามหนังหรือนิทาน กลัวเสียงลม ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า การฝันร้าย กลัวการที่ต้องอยู่กับคนแปลกหน้า กลัวการอยู่คนเดียว กลัวคุณหมอทุกครั้งที่ไปฉีดยา หรือหาหมอฟัน และแม้ตัวการ์ตูนมาสคอตน่ารักๆ ก็ตาม เนื่องจากหนูๆ วัยนี้ เริ่มมีจินตนาการของตัวเองขึ้นมาแล้ว

สิ่งที่ทำให้เด็กกลัวมากขึ้น

  1. ใช้ความกลัวมาขู่ลูก เช่น ถ้าลูกเป็นคนกลัวหมา เวลาที่ลูกดื้อไม่เชื่อฟังแม่ก็จะดุลูกว่า “ถ้าดื้อ แม่จะให้หมากัดน่ะ” หรือบอกว่า “ถ้าไม่กินข้าว แม่จะให้หมอจับฉีดยา”
  2.  เวลาพาลูกไปเที่ยวสวนสัตว์ แล้วลูกกลัวสัตว์ชนิดหนึ่ง พอลูกกลัว และเริ่มร้องไห้ก็บอกว่า “จะกลัวทำไม ดูน้องเขาสิ ไม่เห็นจะกลัวเลย”
  3. เวลาไปเที่ยวสวนสนุก หรือสนามเด็กเล่น เด็กบางคนกลัวความสูง พ่อแม่ก็ยังจะให้ลูกปีนขึ้นไปเพื่อที่จะเล่นเครื่องเล่นสไลด์เดอร์สูงๆ


วิธีก้าวข้ามความกลัวสำหรับ ลูกขี้กลัว

การพาลูกก้าวข้ามความกลัวนั้นไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่คุณคิด เพราะสำหรับเด็ก ๆ แล้วคุณอาจเป็น Safe Zone ของพวกเขาที่พวกเขาต้องการมากที่สุดเมื่อเกิดความกลัว การเรียนรู้ที่จะรับมือ และฟังความเห็นของเด็ก ๆ นั้นคุณสามารถทำมันได้ เพียงแค่คุณต้องเริ่มลองลงมือทำ ก่อนที่จะเพียงแค่บอกให้พวกเขาเลิกกลัว

1. สร้างความกล้า แทนความกลัว

ในบางครั้งที่ลูกของคุณวิ่งร้องไห้มาหา หรือแม้แต่พวกเขานั่งร้องไห้ และเก็บตัวอยู่ในห้อง ขั้นตอนพื้นฐานที่คุณควรทำคือการพูดกับพวกเขาว่า “ไม่มีอะไรต้องกลัว” หรือ“คุณอยู่ตรงนี้แล้ว” ถึงแม้ว่าคำพูดประเภทนี้จะทำให้เด็ก ๆ กลัวน้อยลงบ้างก็ตาม แต่คุณควรลองเปลี่ยนเป็นการสร้างความกล้าให้กับพวกเขาแทน โดยการพูดว่า “มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่พวกเขาคิด” หรือ “เราสามารถเอาชนะมันได้” เป็นคำพูดที่จะพาลูกของคุณให้ก้าวข้ามความกลัวได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ใช่เพียงแค่คุณคอยปลอบพวกเขา แต่เป็นสอนให้เขากล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้นด้วยตัวของพวกเขาเอง โดยมีคุณคอยดูแลอยู่ข้างหลัง

2. ใช้เหตุ และผลในการอธิบาย

ลูกขี้กลัวของคุณ มักจินตนาการไปต่าง ๆ นานา ทำให้พวกเกิดความกลัวขึ้นเอง ซึ่งนั่นอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาได้ และแน่นอนว่าพวกเด็ก ๆ บางครั้งก็ไม่สามารถตอบคำถามคุณเองได้ด้วยซ้ำว่าเขากำลังกลัวอะไร คุณควรจะถามเขาว่า “ทำไมเขาถึงกลัว” หรือ “คิดว่าสิ่งเหล่านั้นจะทำร้าย หรือคุกคามหรือเปล่า” เพื่อเป็นคำถามปลายเปิดให้กับพวกเขาได้อธิบายสิ่งที่พวกเขากลัว ถ้าหากเป็นเพียงแค่ความกลัวที่มาจากจินตนาการ คุณเพียงแค่อธิบายให้พวกเขาฟังว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง  หรือไม่มีทางทำร้ายพวกเขาได้ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องจริงที่พวกเขาประสบมา ไม่ว่าจะเป็นการถูกคุกคามทั้งทางร่ายกาย หรือจิตใจ คุณควรระวังให้มากขึ้น หรืออาจต้องดูแลพวกเขาเป็นพิเศษ

3. จดจำ และไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ

ความกลัวที่เกิดขึ้นจากการมีประสบการณ์ตรง หรือประสบการณ์ร่วมนั้นเหมือนเป็นฝันร้ายที่ทำให้เกิดบาดแผลที่ฝังลึกอยู่ภายในใจของเด็ก ๆ ที่ส่งผลทำให้ลูกขี้กลัวของคุณนั้นยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่ โดยสิ่งเหล่านั้นมีโอกาสที่ส่งผลกระทบถึงความกลัวในวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ได้ ซึ่งคุณควรที่จะจดจำรายละเอียดของเรื่องราว และระวังไม่ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 อาทิ เด็กอาจกลัวน้ำทะเล เพราะเคยจมน้ำมาก่อน หรือแม้แต่การถูกทำร้ายจากโรงเรียนที่ทำให้พวกเขากลัวที่จะไปโรงเรียน เป็นต้น

4. ทำให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่เขาคิดไม่ได้น่ากลัว

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่หากสิ่งที่พวกเด็ก ๆ คิดกำลังส่งผลทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กขี้กลัว และไม่สามารถทำกิจกรรม หรือเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ตัวตนเอง บางครั้งอาจเป็นเพียงจินตนาการของพวกเขาที่คิดไปก่อนว่าสิ่งเหล่านั้นน่ากลัว ทั้งที่พวกเขายังไม่เคยลองทำ คุณควรทำให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่คิดไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น เช่น การที่พวกเขากลัวการให้อาหารสัตว์ตัวใหญ่ ด้วยขนาดตัวที่แตกต่าง ทำให้พวกเขาไม่กล้าที่จะทำ ทั้งที่ก่อนหน้าที่จะเข้าไปพวกเขาต่างให้ความรักกับสัตว์เหล่านั้นเป็นอย่างมาก คุณควรทำเป็นตัวอย่างให้พวกเขาได้ดูว่าไม่มีอันตรายเกิดขึ้น และให้พวกเขาลองอีกครั้งพร้อมกับจับมือ หรืออุ้มพวกเขาไว้ เพื่อให้เขาแน่ใจว่ายังมีคุณอยู่นั่นเอง

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

 การกระโดด มีประโยชน์อย่างไรต่อลูกน้อย ลูกน้อยควรเริ่มกระโดดเมื่อไหร่?

ตะคริว เกิดจากอะไร เป็นตะคริวบ่อยรักษาอย่างไรให้หายดี?

6 เทคนิคสอนลูกขี่จักรยาน กิจกรรมแสนสนุกแถมสุขภาพดี

ที่มา : 1