ท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลง ทำอย่างไรดี อันตรายแค่ไหน ?

ลูกดิ้นเป็นสัญญาณว่าทารกในครรภ์ยังปลอดภัยอยู่ เหมือนกับสัญญาณชีพของทารกตัวน้อย แต่ยังมีอัตราการดิ้นที่เป็นอันตรายที่ต้องสังเกต โดยเฉพาะ 

 1634 views

ลูกดิ้นเป็นสัญญาณว่าทารกในครรภ์ยังปลอดภัยอยู่ เหมือนกับสัญญาณชีพของทารกตัวน้อย แต่ยังมีอัตราการดิ้นที่เป็นอันตรายที่ต้องสังเกต โดยเฉพาะในช่วงใกล้คลอดที่ทารกอาจมีการดิ้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง ท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลงจึงต้องมีหลักการในการสังเกต และการปฏิบัติตนเมื่อพบว่าทารกดิ้นน้อยลงจนอาจเกิดอันตรายได้

การดิ้นของทารกตลอดการตั้งครรภ์ 3 ไตรมาส

โดยทั่วไปคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกของการดิ้น การเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ช่วง 16 -20 สัปดาห์ หรือในไตรมาสที่ 2 ลักษณะอาการจะคล้ายกับมีเส้นประสาทกระตุกบริเวณหน้าท้อง เกิดจากทารกพลิกตัว, ม้วนตัว, เตะ และต่อย เป็นต้น การดิ้นของทารกนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุครรภ์ จนกระทั่งสัปดาห์ที่ 32 ซึ่งหลังจากนั้นการดิ้นของทารกจะมีความคงที่มากขึ้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในช่วงที่ใกล้วันคลอด

ถึงแม้ทารกจะมีการดิ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2 แต่ไม่ได้หมายความว่าไตรมาสที่ 1 ทารกจะไม่ดิ้นเลย โดยในไตรมาสแรกทารกจะดิ้นเช่นกัน แต่จะเบามาก จนไม่สามารถสังเกตได้ หรือสังเกตได้ยาก อัตราการดิ้นของทารกจึงสัมผัสได้มากขึ้นในช่วงไตรมาสที่  เพราะทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และอวัยวะพัฒนามากขึ้น ไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ที่อาจพบว่าทารกมีอัตราการดิ้นมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการท้อง 9 เดือน ที่สำคัญมีอะไรบ้าง ? และการฝึกหายใจเตรียมคลอด


วิดีโอจาก : Nurse Kids


ลักษณะของลูกดิ้นมีแบบไหนบ้าง ?

รูปแบบการดิ้นของทารกนั้น สามารถสังเกตได้ด้วยการสัมผัสดูว่าทารกดิ้นน้อย หรือทารกดิ้นมากเป็นอย่างไร แบบไหนปกติ แบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ลูกดิ้นมาก : คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจมีความกังวล เมื่อทารกในครรภ์ดิ้นมากเกินไป กลัวว่าจะเกิดความผิดปกติขึ้นหรือไม่ ความจริงแล้วทารกดิ้นมากถือว่ายังปกติอยู่ เพราะทารกในครรภ์มีช่วงหลับ และช่วงตื่น เมื่อตื่นขึ้นจะดิ้นมากเป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีลักษณะการดิ้นที่ต้องระวังอยู่ คือ การที่ทารกดิ้นมากเกินไป หรือดิ้นแรงระยะหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นทารกก็หยุดดิ้นไปเลย หากเป็นเช่นนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ลูกดิ้นน้อย : ทารกบางคนอาจดิ้นไม่มาก ซึ่งแน่นอนว่าความแตกต่างของแต่ละครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้ การจะนับว่าทารกดิ้นน้อยนั้นไม่ควรนับจากความรู้สึก แต่ควรนับจากอัตราการดิ้นตามมาตรฐานของครรภ์ที่ปลอดภัย คือ ไม่ควรดิ้นต่ำกว่า 10 ครั้ง / 2 ชั่วโมง หากต่ำกว่านี้ ถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด


ท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลงปกติไหม ?

การที่ทารกในครรภ์ดิ้น เป็นสัญญาณที่ยังบ่งบอกว่าทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ หลังจากที่สามารถวัดอัตราการดิ้นของทารกได้ชัดเจนแล้ว ไม่ใช่แค่ช่วงไตรมาสที่ 3 หรือเดือนที่ 9 เท่านั้นที่ต้องวัดการดิ้นของทารก แต่การวัดอัตราการดิ้นควรทำเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาไหน ดังนั้นท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลง จึงใช้รูปแบบการวัดไม่ต่างจากครรภ์ไตรมาสอื่น ๆ คือ ไม่ควรต่ำกว่า 10 ครั้ง / 2 ชั่วโมง

จริงอยู่ที่ช่วงใกล้คลอดทารกอาจมีการดิ้นที่เปลี่ยนแปลงไป ดิ้นมากขึ้น หรือน้อยลงอย่างไร ก็ต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามกำหนดหากทารกยังดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง / 2 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าทารกในครรภ์ยังมีความผิดปกติอยู่ หากทารกดิ้นน้อยกว่านั้นคือสัญญาณของอันตราย เนื่องจากมีแม่ท้องน้อยคนที่จะคลอดตามกำหนด การคลอดเลยกำหนดมาอาจทำให้รกเสื่อมสภาพ ทารกได้สารอาหาร และออกซิเจนน้อยลง อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้อง 9 เดือนมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม ต้องระวังมากแค่ไหน ?

ท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลง


สาเหตุที่ทำให้ท้อง 9 เดือนลูกดิ้นน้อยลง

  • อายุครรภ์ที่มากขึ้นส่งผลให้รกเสื่อมสภาพตามที่กล่าวไป ความเสี่ยงนี้พบได้ในครรภ์ที่คลอดเกินกำหนด ยิ่งเกินมากยิ่งมีความเสี่ยง รกเป็นเหมือนหัวใจหลักในการปกป้องดูแลทารก ดังนั้นหากครรภ์มีอายุมาก จะส่งผลต่อรกทำให้เสื่อมสภาพ ซึ่งส่งผลต่อทารกโดยตรง
  • โพรงมดลูกมีขนาดที่แคบเกินไป จนทำให้ทารกไม่สามารถดิ้นได้ หรือมีปัจจัยที่ส่งผลให้ทารกไม่มีแรงดิ้น ไม่ว่าจะในกรณีไหน หากแพทย์ตรวจพบอาจพิจารณาเร่งคลอด หรือทำการคลอดด้วยการผ่าเพื่อความปลอดภัย
  • ทารกอาจขาดออกซิเจนเรื้อรัง การขาดออกซิเจนเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นกับทารกที่มีโอกาสเสียชีวิตอยู่เสมอ ดังนั้นหากพบว่าทารกดิ้นน้อยต่ำกว่าเกณฑ์แน่นอนแล้ว ควรรีบพามาพบแพทย์ ทารกที่ขาดออกซิเจนจนเสี่ยงเสียชีวิตจะอยู่ในช่วง 12 – 48 ชั่วโมง จึงไม่ควรรอให้ทารกดิ้นน้อยครบ 12 ชั่วโมง ถ้าถึงตอนนั้นอาจสายเกินไป
  • พื้นที่ของครรภ์มีขนาดน้อยลง ไม่เพียงพอที่จะให้ทารกในครรภ์ดิ้นได้ตามปกติเหมือนก่อนหน้านี้ เนื่องจากนอกจากขนาดของครรภ์จะใหญ่ขึ้นแล้ว ขนาดตัวของทารกที่ใกล้คลอดเองก็ใหญ่ขึ้นด้วย และในทารกบางคนอาจมีน้ำหนักมากจนส่งผลต่อพื้นที่ในครรภ์ได้


ข้อปฏิบัติเมื่อพบว่าทารกดิ้นน้อยลง

หลังจากวัดได้แน่ชัดว่าทารกดิ้นน้อยลง ไม่ควรรอให้ถึง 12 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์ทันที ในระหว่างนั้นการงดน้ำ งดอาหารถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากจำเป็นต้องผ่าตัดเร่งด่วนจะสามารถทำได้โดยง่าย และถึงแม้จะได้รับการตรวจโดยแพทย์บ่งชี้ว่าทารกยังมีความปกติดี การนับลูกดิ้นก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่ นอกจากนี้การป้องกันที่ดี คือ การคอยเฝ้าสังเกตอัตราลูกดิ้นว่าปกติไหม ประกอบกับการตรวจสุขภาพครรภ์ และการฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐาน จะมีส่วนช่วยในการตรวจหาความสมบูรณ์ และความผิดปกติของครรภ์ ลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

ทารกในครรภ์ท้องแก่ หรือช่วงครรภ์ 9 เดือน เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะใกล้กำหนดคลอด คุณแม่จึงต้องเตรียมตัว และดูแลเกี่ยวกับความสมบูรณ์ และความพร้อมของทารก เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อทั้งตัวของคุณแม่ และตัวของทารกน้อยด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

สรุป สิทธิประกันสังคมแม่ท้อง ปี 2565 สิทธิไหนที่คุณแม่ต้องรู้ !

คลอดธรรมชาติดีอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะคลอดแบบธรรมชาติได้ ?

7 สัญญาณเตือนก่อนคลอด มีอาการอะไรบ้างที่คุณแม่ห้ามพลาด

ที่มา : 1, 2, 3