โฟลิก คืออะไร? ทำไมคุณแม่มือใหม่ถึงควรรู้จัก!

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ สารอาหารที่จำเป็นที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้จักเลยคือ โฟลิก สารอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อคนท้อ 

 1543 views

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ สารอาหารที่จำเป็นที่สุดที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรรู้จักเลยคือ โฟลิก สารอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อคนท้อง เพราะสิ่งแรกที่คุณแม่มือใหม่ทุกคนควรเริ่มต้นดูแลตัวเองเมื่อกำลังตั้งครรภ์ คือควรใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ แล้ว โฟลิก คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับคนท้องขนาดนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าค่ะ 

โฟลิก


โฟลิก คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับคนท้อง

โฟลิก หรือ กรดโฟลิก หลายคนอาจคุ้นเคยในชื่อของอาหารเสริมที่เรียกว่า โฟเลต เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบี โดยปกติแล้ว โฟลิก จะมีหน้าที่ช่วยสร้างและแบ่งเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่บอกว่าสำคัญกับคนท้อง เพราะว่า โฟลิก มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างตัวอ่อนให้สมบูรณ์ ตั้งแต่การสร้างหลอดประสาทที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นระบบประสาท ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 28 วันแรก หลังการปฏิสนธิ(ช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์) ช่วยในการเสริมสร้างไขและกระดูกสันหลัง ทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของทารกในครรภ์

ยิ่งไปกว่านั้น โฟลิก ยังมีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่เองอีกด้วย สามารถช่วยให้คุณแม่เจริญอาหาร ไม่เพลีย ทั้งยังมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มมากขึ้นจากการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากคุณแม่ได้รับปริมาณ โฟลิก ที่เพียงพอ จะช่วยให้ไม่เกิดปัญหาภาวะซีดหรือโลหิตจาง รวมถึงภาวะเสี่ยงอื่น ๆ จากการคลอดได้อีกด้วยค่ะ

ควรเริ่มทาน โฟลิก ตั้งแต่เมื่อไร

จากที่กล่าวไปข้างบนว่า โฟลิก มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเซลล์และหลอดประสาท ซึ่งเป็นสิ่งที่เสริมสร้างตัวอ่อนให้สมบูรณ์ ดังนั้น สามารถทานได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มท้องไตรมาสแรก หรือหากใครที่วางแผนจะตั้งครรภ์อยู่ ก็สามารถทานสะสมได้ตั้งแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ หรือตอนที่เริ่มวางแผนมีลูกได้เลยค่ะ

โฟลิก



อาหารอะไรบ้าง ที่มีส่วนประกอบของโฟลิก

1. ผักใบเขียวเข้ม

เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ตำลึง 

เมนูที่แนะนำ : คะน้าผัดน้ำมันหอย ผักโขมอบชีส ไข่ตุ๋นผักโขม สลัดผักรวม

2. บรอกโคลี

สามารถเพิ่มโฟลิกได้ถึง 26% ของจำนวนโฟลิกที่ร่างกายต้องการ

เมนูที่แนะนำ : บรอกโคลีผัดกุ้ง ซุปครีมบรอกโคลี

บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 เมนูบรอกโคลี ผักเพื่อสุขภาพ อร่อยทำง่าย มีวิตามินซีสูง!

3. ไข่

โดยเฉพาะไข่แดง อาหารง่าย ๆ อย่างเมนูไข่ สามารถเพิ่มปริมาณโฟลิกที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ได้มากถึง 22 กรัม ทั้งยังมีวิตามิน รวมถึงโปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

เมนูที่แนะนำ : ไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่น้ำ ซุปไข่

4. ถั่วชนิดต่าง ๆ

รวมถึงเมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วแดง เมล็ดทานตะวัน

เมนูที่แนะนำ : โจ๊กถั่วแดง ถั่วแดงต้มน้ำตาล ซุปถั่ว น้ำเต้าหู้ลูกเดือย

5. ผลไม้รสเปรี้ยว

เช่น สับปะรด ส้ม องุ่น สตรอว์เบอร์รี

เมนูที่แนะนำ : สลัดผลไม้ น้ำผลไม้ปั่น ผลไม้สด แกงไก่สับปะรด

6. อะโวคาโด

อะโวคาโดมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก ให้ทั้งโฟลิก และไขมันที่ดีต่อร่างกาย

เมนูที่แนะนำ : ยำอะโวคาโดเพิ่มเนื้อสัตว์ สลัดอะโวคาโด

7. อาหารเสริม

ในรูปแบบของยา เพราะร่างกายสามารถดูดซึมจากอาหารเสริมได้มากที่สุด โดยเลือกทานวันละ 1 เม็ด (1-5 มิลลิกรัม) ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้น เลือกทานที่เป็นแบบบำรุงครรภ์ ที่โดยปกติแล้วมีโฟลิกอยู่ประมาณ 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม)

โฟลิก


โฟลิก ปริมาณแค่ไหน ถึงจะปลอดภัยสำหรับคนท้อง

โดยทั่วไปแล้ว หญิงตั้งครรภ์ต้องการ โฟลิก ประมาณ 400 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงไตรมาสแรกควรได้รับอย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม แต่ไม่ควรถึง 1 มิลลิกรัม เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและลูกในครรภ์ได้ ส่วนช่วงไตรมาสที่สอง จนถึงกำหนดคลอด ควรได้รับปริมาณ 600 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนในช่วงให้นมลูก ควรได้รับในปริมาณ 500 ไมโครกรัมต่อวันค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1



หากเสริมโฟลิกมากเกินไป จะเป็นอันตรายไหม

ต้องบอกก่อนว่า ถึงแม้จะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย ย่อมสามารถส่งผลเสียได้เช่นกัน เพราะอาจทำให้ร่างกายดูดซึมไม่ทัน จนทำให้ไปกระทบกับสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ค่ะ


ผลเสียในกรณีที่ได้รับโฟลิกมากเกินไป

  • โลหิตจาง เพราะโฟลิกจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 ซึ่งอาจทำให้มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ หรือ มีอาการเพลีย
  • พัฒนาการของลูกช้าลง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และทำให้พัฒนาการทางสมองของลูกช้าลง อาจทำให้กลายเป็นโรคออทิสติกได้

เห็นไหมคะว่า โฟลิก มีประโยชน์มากต่อทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ รวมถึงลูกน้อยในครรภ์ด้วย อย่างไรก็ดี หากคุณแม่ต้องการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของโฟลิก หรืออาหารเสริม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญควบคู่ไปด้วย เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์จะดีที่สุดนะคะ แล้วอย่าลืมทานอาหารตามเมนูที่เราแนะนำด้วยนะคะ!

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โฟลิก สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร? คนท้องเริ่มกินโฟลิกได้ตอนไหน

วิตามินบี 12 มีประโยชน์อย่างไร จำเป็นสำหรับคนท้องหรือไม่ ?

10 ผักใบเขียว ดีต่อแม่ท้อง วิตามินสูง กินแล้วมีประโยชน์

ที่มา : 1 2 3