รกเกาะต่ำ เกิดจากอะไร? อาการเหล่านี้ส่งผลอันตรายในอย่างไรบ้าง? มาดูกัน

คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า รกเกาะต่ำ เกิดจากอะไร? แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นสาเหตุหลัก ๆ มาจากอะไร และอาการที่เกิดขึ้นมานี้คุณแม่ควรมีวิธีการดูแลตัวเ 

 1324 views

คุณแม่เคยสงสัยไหมคะว่า รกเกาะต่ำ เกิดจากอะไร? แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นสาเหตุหลัก ๆ มาจากอะไร และอาการที่เกิดขึ้นมานี้คุณแม่ควรมีวิธีการดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง เพื่อที่ลูกในท้องของเราจะได้ปลอดภัยและเติบโตมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักกับ รกเกาะต่ำ พร้อมกับวิธีการรักษาไปพร้อมกันนะคะ



รกเกาะต่ำ เกิดจากอะไร?

รกเกาะต่ำที่คุณแม่ได้ยินนั้น เกิดจากการที่ภาวะรกเกิดการปิดขวาง หรือรกมีการคลุมปากมดลูกในบางส่วน หรืออาจจะมีการปกคลุมโดยทั้งหมด อย่างที่เรารู้กันดีค่ะว่าปกติทั่วไปแล้ว รกจะอยู่บริเวณด้านบนของมดลูก ซึ่งจะอยู่ห่างจากปากมดลูก และเมื่อไหร่ที่คุณแม่อยู่ในช่วงใกล้คลอด ปากมดลูกของเราก็จะเริ่มมีการขยายออกมา จนส่งผลทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมต่อกับรกและมดลูกเกิดการฉีกขาด และเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดขึ้นมาได้ง่าย ๆ และหากคุณแม่คนไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นภาวะรกเกาะต่ำ โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการผ่าคลอดเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่! แท้งลูก เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่ส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และลูกในท้อง



 รกเกาะต่ำ


สาเหตุที่ทำให้รกเกาะต่ำเกิดจากอะไร?

คุณแม่หลายคนคงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า การที่รกของเราจะเกาะต่ำขึ้นมาได้นั้น โดยส่วนใหญ่แล้วปัจจัยที่ทำให้เป็นแบบนี้หลัก ๆ เกิดมาจากอะไร เรามาดูสาเหตุที่ส่งผลทำให้รกเกาะต่ำไปพร้อมกันเลยนะคะ



1. เกิดจากตำแหน่งที่ผิดปกติของทารกในครรภ์

เมื่อไหร่ที่ทารกในครรภ์ของเราอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติไปจากเดิม สิ่งนี้ก็อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คุณแม่มีอาการรกเกาะต่ำขึ้นมาได้ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาการที่คุณแม่ควรต้องระวังกันให้มาก ๆ สำหรับใครที่เสี่ยงเป็นรกเกาะต่ำ เราควรที่จะทำการปรึกษาแพทย์ เพื่อที่คุณหมอจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?



2. เกิดจากการมีแผลที่ผนังมดลูก

สำหรับคุณแม่คนไหนที่มีแผลเกิดขึ้นบริเวณมดลูกกันอยู่บ่อย ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้คุณแม่มีอาการรกเกาะต่ำในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ ไม่ควรปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไปนะคะ เพื่อที่ลูกในท้องของเราจะได้ปลอดภัยมากขึ้นค่ะ



3. เกิดจากการที่คุณแม่ผ่านการผ่าคลอดมาแล้ว

คุณแม่คนไหนที่เคยผ่านการผ่าคลอดมาแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณแม่เสี่ยงที่จะมีรกเกาะต่ำขึ้นมาได้ง่ายเหมือนกัน เมื่อไหร่ที่คุณแม่มีลูกคนที่สอง เราก็อาจจะต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้น และที่สำคัญไปกว่านั้นเราอาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ตามไปด้วย


 รกเกาะต่ำ


4. ผ่านการขูดมดลูก

หากใครที่เคยผ่านการขูดมดลูกมาแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการมีรกเกาะต่ำขึ้นมาได้เช่นกัน นอกจากเราจะมีอาการรกเกาะต่ำขึ้นมาแล้วนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณแม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดขึ้นมาได้ง่าย ๆ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นควรต้องระวังกันให้มาก ๆ นะคะ ไม่อย่างนั้นเราก็อาจจะทำการปรึกษาคุณหมอก่อนที่จะมีบุตรดีที่สุด



5. มีลูกมากกว่า 1 คน

เมื่อไหร่ที่คุณแม่เคยมีเจ้าตัวเล็กมาแล้ว สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้รกเกาะต่ำขึ้นมาได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่คุณแม่วางแผนที่จะมีลูกอีกคน ก่อนที่เราจะมีเจ้าตัวเล็กเราอาจจะต้องพยายามดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อที่ลูกของเราจะได้ปลอดภัยและเติบโตมาเป็นเด็กที่แข็งแรงมากที่สุดนะคะ



วิธีรับมือกับภาวะรกเกาะต่ำควรทำอย่างไร?

สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้อยู่ อย่าพึ่งเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะวันนี้เราได้นำวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาให้คุณแม่ได้ทำตามกันแล้ว ส่วนจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น เรามาปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเท้าบวม ทำยังไงดี? อีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!


รกเกาะต่ำ

1. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

เมื่อไหร่ที่คุณแม่กำลังรู้สึกว่าเราเสี่ยงที่จะมีอาการรกเกาะต่ำ บอกเลยค่ะว่าการพักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ทางที่ดีคุณแม่ควรที่จะพักผ่อนให้มาก ๆ พยายามนอนอย่างน้อยให้ได้วันละ 8 – 10 ชั่วโมง โดยท่านอนที่เหมาะสมคุณแม่อาจจะต้องนอนในท่าตะแคงซ้าย และที่สำคัญไปกว่านั้นเลยคือ เราควรที่จะงดทำงานหนักตามไปด้วย



2. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

หากคุณแม่เสี่ยงมีอาการรกเกาะต่ำ เราควรที่จะหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการสวนล้างบริเวณช่องคลอดตามไปด้วยนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้ทำการระวังเรื่องนี้เลย ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการแท้งลูก หรือคลอดก่อนกำหนดได้เหมือนกัน



3. พยายามรักษาความสะอาดของร่างกาย

นอกจากสิ่งต่าง ๆ แล้วนั้น เราควรที่จะรักษาความสะอาดของร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศสืบพันธุ์บริเวณภายนอก ซึ่งการทำความสะอาดนั้นเราควรที่จะทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าดีที่สุด หรืออาจจะใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยน เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองตามมานะคะ



4. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมาก ๆ

สำหรับใครที่มีปัญหาในเรื่องระบบการขับถ่าย แน่นอนว่าคุณแม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เพื่อที่ระบบการขับถ่ายของเราจะได้เป็นปกติมากขึ้น ที่สำคัญไปกว่านั้นเลยคือ เราไม่ควรที่จะเบ่งถ่ายอุจจาระทุกครั้ง เพราะสิ่งนี้จะส่งผลทำให้คุณแม่ที่เสี่ยงต่อการเป็นรกเกาะต่ำได้รับอันตรายขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย



5. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กก็ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เช่นเดียวกัน โดยคุณแม่อาจจะต้องรับประทานเป็นอาหารจำพวกตับ หรือไข่แดง เป็นต้น นอกจากนี้คุณแม่อาจจะต้องงดเครื่องดื่มจำพวกกาแฟตามไปด้วยนะคะ เพื่อที่ลูกในท้องของเราจะได้รับสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์มากขึ้นด้วยค่ะ



6. งดการสูบบุหรี่

สิ่งที่คุณแม่ควรต้องคำนึงถึงต่อมาเลย งดการสูบบุหรี่นะคะ เพราะถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่สูบบุหรี่ในช่วงการตั้งครรภ์ หรือในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ก็ตาม สิ่งเหล่านี้ค่อนข้างที่จะทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอได้ง่าย อีกทั้งยังเข้าไปกระตุ้นทำให้มดลูกของเราเกิดการหดรัดตัวให้มาได้ง่ายมาก ๆ เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากลูกของเราเติบโตมาเป็นเด็กที่เติบโตมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่กันด้วยนะคะ



สาเหตุรกเกาะต่ำ พร้อมกับวิธีการรับมือกับรกเกาะต่ำที่เราได้นำมาฝากให้คุณแม่แล้วนั้น เชื่อว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นข้อมูลดี ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณแม่อย่างเราได้หันมาดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้มากขึ้นตามไปด้วย ยังไงอย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

วิธีสังเกตคนท้องระยะแรก ดูยังไง? อาการแบบนี้เรียกว่าท้องหรือเปล่า

คนท้องกินปลาอะไรดี กินแล้วมีประโยชน์ต่อลูกในท้องอย่างไร?

แม่ต้องรู้! คนท้องกินหญ้าฝรั่นได้ไหม กินแล้วจะส่งผลดีต่อลูกในท้องได้หรือเปล่า?

ที่มา : 1, 2