แม่ต้องรู้! น้ำหนักคนท้อง แต่ละเดือนควรหนักเท่าไหร่? มาดูกัน

ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำหนักของคุณแม่ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก หากคุณแม่คนไหนอยากทราบว่าหากเรามีน้ำห 

 1642 views

ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำหนักของคุณแม่ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก หากคุณแม่คนไหนอยากทราบว่าหากเรามีน้ำหนักเท่านี้ เรามีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์อยู่หรือเปล่า และอยากอายุครรภ์ของเราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือนเราควรมีน้ำหนักประมาณเท่าไหร่ดี เอาเป็นว่าเรามาดู น้ำหนักคนท้อง ที่เหมาะสมไปพร้อมกันเลยดีกว่า



น้ำหนักคนท้องในแต่ละเดือนควรหนักเท่าไหร่ดี?

สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนค่อนข้างกังวลใจกันอยู่ไม่น้อย ไม่รู้ว่าเราควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ดี เพื่อที่ลูกในท้องของเราจะได้เป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ซึ่งต้องบอกว่าสำหรับคุณแม่บางคนก็อาจจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20 กิโลกรัมเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันหากคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 – 15 กิโลกรัม เพราะสิ่งนี้ค่อนข้างเป็นน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่หลาย ๆ คนนั่นเองค่ะ ส่วนในแต่ละเดือนเราควรมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาณเท่าไหร่ดี มาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : การเต้นระหว่างตั้งครรภ์ ดีอย่างไร? ช่วยทำให้ลูกน้อยสุขภาพแข็งแรงขึ้นจริงไหม


น้ำหนักคนท้อง


1. น้ำหนักแม่ท้อง ช่วงไตรมาสที่ 1

ช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ซึ่งอยู่ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 1 – 3 เดือน โดยส่วนใหญ่น้ำหนักตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 1 อาจจะเป็นช่วงน้ำหนักของคุณแม่ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากสักเท่าไหร่ หรือสำหรับคุณแม่บางคนแล้วก็อาจจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลงได้เช่นกัน เพราะอาจอยู่ในช่วงที่กำลังแพ้ท้อง นอนไม่ค่อยหลับ หรืออาจจะกินอะไรได้ไม่ค่อยเยอะนั่นเองค่ะ แต่อย่างไรก็ตามโดยส่วนใหญ่แล้ว หากคุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ก็อาจจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 กิโลกรัมค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ท้อง 1 เดือน อาการตั้งครรภ์ระยะแรก ที่คุณแม่ต้องรับมือ



2. น้ำหนักแม่ท้อง ช่วงไตรมาสที่ 2

เมื่ออายุครรภ์คุณแม่เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 หรือเริ่มเข้าสู่ช่วงอายุครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือน ในช่วงเดือนนี้คุณแม่โดยส่วนมากจะเริ่มมีอาการแพ้ท้องที่ลดลง และทำให้เราสามารถรับประทานอาหารประเภทต่าง ๆ ได้เยอะมากขึ้น หากคุณแม่คนไหนที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องแปลกใจไปนะคะ โดยน้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 1 – 1.5 กิโลกรัมนั่นเองค่ะ แต่คุณแม่อาจจะต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารกันด้วยนะคะ เมื่อไหร่ที่เรากินตามใจตัวเองจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไปได้เลย



3. น้ำหนักแม่ท้อง ช่วงไตรมาสที่ 3

เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งท้อง บอกเลยค่ะว่าช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่หลายคนมีรูปร่างที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนมาก ๆ เพราะน้ำหนักทารกในครรภ์ของเราก็เริ่มที่จะเจริญเติบโตตามไปด้วย ซึ่งคุณแม่อาจจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 2 – 2.5 กิโลกรัมได้เลย



หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป ส่งผลกระทบอะไรบ้าง?

เมื่อไหร่ที่คุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นจนเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่ได้สนใจเรื่องของน้ำหนักเลย บอกเลยค่ะว่าสิ่งนี้ค่อนข้างส่งผลไม่ดีทั้งต่อตัวคุณแม่และลูกในท้องของเราได้ง่าย ๆ ส่วนจะส่งผลในเรื่องไหนบ้างนั้น เรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ



น้ำหนักคนท้อง



1. ทำให้คุณแม่เหนื่อยง่าย

แน่นอนค่ะว่าการที่เรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่เราไม่ค่อยได้ออกกำลังกายเลย สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยง่าย รวมถึงรู้สึกอัดอึดมากขึ้น ทางที่ดีเราไม่ควรปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นจนเกินไปนะคะ ซึ่งคุณแม่อาจจะต้องรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ พร้อมรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามไปด้วยนะคะ



2. ทำให้คุณแม่ปวดหลัง

สิ่งที่ตามมาอีกอย่างเลยนั่นคือ อาการปวดหลัง เพราะนอกจากน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้นแล้ว หากเมื่อไหร่ที่น้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มขึ้นตาม สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังขึ้นมาได้เหมือนกัน ดังนั้นคุณแม่ควรที่จะหมั่นออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ และไม่ควรที่จะเลือกรับประทานอาหารตามใจตัวเองจนเกินไป แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อลูกในท้องนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?



3. รู้สึกไม่สบายตัว หรืออึดอัด

อย่างที่รู้กันดีค่ะว่า เมื่อไหร่ที่เรามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะทำให้เรารู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายตัวขึ้นมาได้ง่ายมาก ๆ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม เราอาจจะต้องพยามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่บ่อย ๆ เพื่อที่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราจะได้เผาผลาญมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายขึ้นอีกด้วย



คุณแม่ควรรับประทานอาหารแบบไหน? เพื่อให้ได้น้ำหนักที่มาตรฐาน

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า เราควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหนดี เพื่อที่เราจะได้มีน้ำหนักที่มาตรฐานในช่วงของการตั้งครรภ์มากที่สุด หรือสิ่งที่เรารับประทานอยู่ในทุกวันนี้ เป็นอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อลูกในท้องหรือไม่ เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ



น้ำหนักคนท้อง



1. เลือกรับประทานอาหารตามธรรมชาติ

อย่างแรกเลยคือ คุณแม่อาจจะต้องเลือกรับประทานอาหารให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยอาหารที่เราพูดถึงกันอยู่ในตอนนี้ อาจจะเลือกทานเป็น อาหารที่มีความสดใหม่ และเป็นอาหารที่ผ่านการปรุงสุกมาแล้วนั่นเองค่ะ ในขณะเดียวกันคุณแม่อาจจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกกระป๋องตามไปด้วย เพื่อที่เราจะได้รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายตามไปด้วย



2. เลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงาน

สิ่งที่คุณแม่ควรต้องคำนึงถึงต่อมาเลยคือ คุณแม่อาจจะต้องพยายามเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานที่ค่อนข้างเพียงพอต่อร่างกาย เพราะในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์เป็นอะไรที่ร่างกายของเราต้องการพลังงานค่อนข้างสูงมาก ๆ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลอรีต่อวันเลยทีเดียว



3. รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

สำหรับคุณแม่คนไหนที่ค่อนข้างหิวข้าวอยู่บ่อย ๆ เราก็อาจจะเลือกรับประทานอาหารให้บ่อยขึ้น ซึ่งการรับประทานในแต่ละมื้อเราก็อาจจะรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่ได้มากจนเกินไป



4. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

อย่างที่รู้กันดีค่ะว่า หากเราอยากเป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และอยากที่จะให้ลูกในท้องมีร่างกายที่แข็งแรงตามไปด้วย คุณแม่ควรต้องเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อที่เราและลูกในท้องจะได้รับสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายได้อย่างเต็มที่

จากข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักคนท้องที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ให้ได้รู้จักกันแล้วนั้น ต้องบอกว่าเป็นอะไรที่ช่วยทำให้คุณแม่หายข้องใจขึ้นมาได้มาก ๆ เลยใช่ไหมคะ หากใครที่อยากมีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ อย่าลืมแวะเข้ามาอ่านกันนะคะ เราได้นำข้อมูลดี ๆ มาฝากทุกคนแล้ว


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการแพ้ท้องลูกสาว เป็นอย่างไร? หากมีอาการแบบนี้อยู่ จะได้ลูกสาวจริงไหม!

แม่ต้องรู้! อาการแพ้ท้องลูกชาย มีลักษณะอย่างไร? มาดูกัน

ตรวจเลือดตอนตั้งครรภ์ ตรวจอะไรบ้าง? คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร

ที่มา : 1, 2