ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้อย่างไร? คุณแม่ควรมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง?

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกไม่สบาย แน่นอนว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นอะไรที่ทำให้คนส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นกังวลใจเป็นอย่างมาก ยิ่งคุณแม่ท้องคนไหนที่ป่วย 

 1370 views

เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกไม่สบาย แน่นอนว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นอะไรที่ทำให้คนส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นกังวลใจเป็นอย่างมาก ยิ่งคุณแม่ท้องคนไหนที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย สิ่งนี้น่าจะทำให้คุณแม่หลายคนค่อนข้างเป็นกังวลอยู่เช่นเดียวกัน เอาเป็นว่าหากคุณแม่คนไหนที่ค่อนข้างกังวลในเรื่องนี้ และอยากที่จะรู้ว่าเป็น ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์ เราควรรับมืออย่างไรบ้างนั้น มาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ



โรคธาลัสซีเมียคืออะไร?

คุณแม่หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อโรคนี้กันมาบ้างแล้ว ซึ่งโรคธาลัสซีเมียที่เราได้ยินกันนี้ จะเป็นโรคเกี่ยวกับเลือดจาง ซึ่งเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงของเรามีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อหรือคุณแม่คนไหนที่ค่อนข้างเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ก็อาจจะทำให้ลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่! คนท้องไม่สบาย ไม่สบายในช่วงตั้งท้อง ทำอย่างไรดี?


ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์


ใครที่สามารถเสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมียได้บ้าง?

เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก็อยากจะทราบว่าการที่เราจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียขึ้นมาได้นั้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง และเรามีโอกาสที่จะเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้หรือเปล่า เอาเป็นว่าเรามาเช็กไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ



1. มีลักษณะตัวซีด

เมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีตัวซีด หรือมีลักษณะผิวที่เปลี่ยนไปจากเดิม สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกว่าเราเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียขึ้นมาได้ และสำหรับบางคนแล้วก็อาจจะตรวจพบความผิดปกติของตับม้ามที่มีขนาดโตผิดปกติขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นหากใครที่มีลักษณะอาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์นะคะ



2. ครอบครัวมีประวัติตับม้ามโต

หากคนในครอบครัวของเราเคยมีประวัติที่พบว่าบริเวณตับม้ามโต สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณแม่เสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียขึ้นมาได้ง่ายมาก ๆ เช่นเดียวกัน เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าโรคธาลัสซีเมียนี้สามารถที่จะถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นคุณแม่ก็อาจจะลองดูประวัติของครอบครัวเราด้วยค่ะว่ามีใครที่เคยป่วย หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า เพื่อที่เราจะได้ระวังตัวและดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองให้มากขึ้นตามไปด้วย



3. เคยมีบุตรเป็นพาหะ หรือโรคธาลัสซีเมีย

การที่คุณแม่หรือใครก็ตามที่เคยมีบุตรป่วยเป็นโรคนี้ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณพ่อหรือคุณแม่เสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากใครที่อยากทราบว่าเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า ทางที่ดีเราก็อาจจะทำการปรึกษาคุณหมอ เพื่อที่เราจะได้ระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น และจะได้รีบทำการรักษาได้อย่างถูกวิธีค่ะ



4. ตรวจพบขนาดเม็ดเลือดแดงเล็กกว่าปกติ

สำหรับใครที่ตรวจพบขนาดเม็ดแดงมากกว่าปกติ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีขนาดเม็ดเลือดแดงที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สิ่งนี้ก็ค่อนข้างส่งผลทำให้คุณแม่เสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้เหมือนกัน ดังนั้นเราไม่ควรปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไปนะคะ คุณแม่อาจจะต้องคอยตรวจสุขภาพร่างกายกันอยู่บ่อย ๆ เพื่อที่เราจะได้ระมัดระวังตัวกันให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โลหิตจางตอนท้อง รับมืออย่างไรให้ปลอดภัย ควรดูแลตัวเองแบบไหน



5. เคยแท้งลูก หรือเคยมีบุตรเสียชีวิตในครรภ์

หารู้ไหมคะว่าการที่คุณแม่เคยแท้งลูก หรือเคยมีบุตรเสียชีวิตในครรภ์ สิ่งนี้ก็สามารถทำให้คุณแม่เสี่ยงที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ง่ายเช่นกัน เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจจะต้องทำการสังเกตอาการของตัวเองให้มากขึ้น หากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าตัวเองมีร่างกายหรือมีลักษณะอาการที่ผิดปกติไปจากเดิม เราควรที่จะรีบพบแพทย์ เพื่อคุณหมอจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องนะคะ



วิธีการรับมือกับโรคธาลัสซีเมียที่คุณแม่ควรรู้!

หากคุณแม่คนไหนที่กำลังกังวลว่าเราควรรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไรดี หรือหากเราป่วยเป็นโรคนี้แล้ว เราควรที่จะรับมือกับโรคธาลัสซีเมียกันอย่างไรบ้าง ขอบอกเลยว่าทำตามได้ไม่ยากเลย ส่วนจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ บอกเลยว่าทำตามได้ไม่ยากเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : 8 อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง แม่ท้องกินแล้วดีมีประโยชน์ต่อลูกในครรภ์



1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

สำหรับคุณแม่คนไหนที่ป่วยเป็นโรคนี้กันอยู่แล้ว เราอาจจะต้องหันมาดูสุขภาพในเรื่องของอาหารการกินให้มากขึ้น พยายามรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาทิเช่น เน้นทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ นม หรือไข่ เป็นต้น



2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

นอกจากนี้เราอาจจะต้องงดการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูง เช่น เลือด เครื่องใน และตับ เป็นต้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราเผลอกินอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเข้าไปแล้วนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้อาการของโรคธาลัสซีเมียรุนแรงขึ้นมาได้ ยิ่งคุณแม่คนไหนที่ป่วยเป็นโรคนี้ในขณะตั้งท้องเราควรต้องระวังกันให้มาก ๆ นะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลย


ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์


3. หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก

อย่างที่รู้กันดีค่ะว่าใครที่ป่วยเป็นโรคนี้ค่อนข้างที่จะเหนื่อยหรือเพลียได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราไม่ควรที่จะออกกำลังกายที่หนัก หรือทำงานหนักจนเกินไป พยายามออกกำลังกายเบา ๆ และออกกำลังกายในท่าที่เหมาะสม เพื่อที่สุขภาพร่างกายของเราจะได้แข็งแรง และไม่ได้รับอันตรายที่มากขึ้นกว่าเดิมนะคะ



4. ตรวจสุขภาพฟันอยู่เสมอ

เชื่อไหมคะว่าใครที่ป่วยโรคนี้ค่อนข้างที่จะฟันผุได้ง่ายมาก ๆ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะตรวจสุขภาพฟันกันอยู่เสมอ ไม่ควรปล่อยปละละเลยเรื่องนี้ไป เพราะเมื่อไหร่ที่เรามองข้ามไป นอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายของเราผิดปกติแล้วนั้น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้สุขภาพฟันของเราไม่ดีตามไปด้วยเช่นเดียวกัน



5. ไม่ควรซื้อยามาทานเอง

สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่คุณแม่ควรต้องระวังมาก ๆ แน่นอนค่ะว่าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกป่วย เราก็อยากที่จะซื้อยามารักษา หรือซื้อยามาทานเอง ทางที่ดีเราอาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอ หรือไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนจะดีกว่าค่ะ ไม่ควรรับประทานยาหรือซื้อยากินเอง เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลงได้ หรือบางคนก็อาจจะทำให้อาการที่เราเป็นอยู่ในตอนนี้รุนแรงขึ้นได้เลย


ธาลัสซีเมียขณะตั้งครรภ์



โรคธาลัสซีเมียที่เราได้พาคุณแม่หลาย ๆ คนมาทำความรู้จักแล้วนั้น แน่นอนว่าเราอาจจะปฏิเสธการเป็นโรคนี้ได้ยากอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะใครที่มีครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ก็ยิ่งระวังตัวยาก แต่อย่างไรก็ตามหากคุณแม่รู้จักดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้แข็งแรง และรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อยู่เสมอ สิ่งนี้ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เรากำลังพบเจออยู่ให้ดีขึ้นได้นะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

คนท้องปวดหลัง อันตรายไหม บรรเทาอาการด้วยวิธีใดได้บ้าง?

คนท้องปวดหัว รับมืออย่างไร แม่ท้องปวดหัวอันตรายต่อลูกในครรภ์ไหม?

คนท้องเท้าบวม ทำยังไงดี? อีกหนึ่งอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!

ที่มา : 1, 2, 3