สำหรับคุณแม่ท้องนอกจากเรื่องของอาหารที่จะต้องกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ซึ่งการทานอาหารเสริมอย่างวิตามินก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยบำรุงให้ร่างกายคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณแม่ไปคลายข้อสงสัยกันค่ะว่า คนท้องสามารถกิน วิตามินซี ได้ไหม หากกินไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ มาตามไปดูพร้อมกันเลย
วิตามินซี คืออะไร ?
วิตามินซี หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (l-ascorbic acid) เป็นวิตามินที่สามารถพบในอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ ได้ วิตามินซีถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกาย และมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และยังเป็นสารที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย และวิตามินซียังเป็นวิตามินที่สามารถนำไปละลายน้ำเพื่อทานได้อีกด้วย ซึ่งวิตามินซีสามารถพบได้ในผลไม้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ส้ม มะนาว ฝรั่ง มะเขือเทศ บรอกโคลี ผักคะน้า และผักปวยเล้ง
วิตามินซี ดีต่อแม่ท้องอย่างไร ?
ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น เนื่องจากคุณแม่จะต้องเสียเลือดมากตอนคลอด คุณแม่จึ้งจะต้องมีการเสริมธาตุเหล็กเพื่อนำไปใช้สร้างเม็ดเลือด วิตามินซีจึงถือเป็นสารอาหารที่สำคัญที่จะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
- ช่วยป้องกันอาการโรคเลือดออกตามไรฟันที่คนท้องส่วนใหญ่มักจะมีอาการเหล่านี้
- ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการหวัดหรือภูมิแพ้ ไม่ทำให้คุณแม่ป่วยได้ง่าย
- ช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อในการสร้างร่างกายของทารก
- ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายของคุณแม่ที่ท้อง
- ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้เซลล์ผิวแข็งแรง
แม่ท้องควรได้รับปริมาณวิตามินซีเท่าไหร่ ?
สำหรับปริมาณวิตามินซีที่คุณแม่ท้องควรได้รับ สำหรับคุณแม่ที่มีอายุ 18 ปี หรือต่ำกว่า ปริมาณที่เหมาะสมจะไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/ต่อวัน และสำหรับคุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ปริมาณที่เหมาะสมจะ ไม่เกิน 85 มิลลิกรัม/ต่อวัน ซึ่งวิตามินซีที่คนส่วนใหญ่นิยมทานกันจะอยู่ที่ปริมาณคือ 500 – 1000 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณนี้อาจจะมากเกินไปสำหรับคุณแม่ท้องค่ะ ดังนั้นหากถามว่า คนท้องกินวิตามินซีได้ไหม คำตอบคือคนท้องสามารถกินวิตามินซีได้นะคะ แต่ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากจนเกินไป
บทความที่เกี่ยวข้อง : แคลเซียมแม่ท้อง สารอาหารที่ร่างกายคุณแม่ผลิตเองไม่ได้
แม่ท้องกินวิตามินซีตอนไหนจะดีที่สุด
สำหรับเวลาที่คนท้องช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินวิตามินซี จะเป็นช่วงเช้าหรือเย็น ซึ่งควรที่จะกินพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร เพราะโดยปกติแล้ววิตามินซีจะถูกขับออกจากร่างกายในเวลา 2 -3 ชั่วโมงหลังทานอาหาร และไม่ควรกินวิตามินซี ตอนท้องว่างเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารได้
อาหารสำหรับแม่ท้องที่มีวิตามินซีสูง
ฝรั่ง
- เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีที่มีในปริมาณมาก โดยจะพบได้บริเวณเปลือกของฝรั่ง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหวัด
ส้ม
- เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งตัววิตามินซีจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันอาการหวัด และช่วยให้ขับถ่ายได้ดี
สับปะรด
- ผลไม้รสเปรี้ยวอมหวาน สับปะรดก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
บรอกโคลี
- เป็นผักดอกเขียวที่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูง ที่จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และยังมีสารโฟเลต ที่ดีต่อแม่ท้อง เพราะเป็นสารที่ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองและเส้นประสาท
ผักคะน้า
- เป็นผักที่มีวิตามินซี ที่จะช่วยป้องกันหวัด ช่วยต้านการเกิดมะเร็ง และช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี ควรล้างให้สะอาดเพื่อช่วยลดการตกค้างของสารเคมีก่อนทุกครั้ง
มะขามป้อม
- มะขามป้อมเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ที่จะช่วยรักษาโรคหลายชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
สตรอว์เบอร์รี
- เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซี แร่ธาตุสูง และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง และช่วยบำรุงสายตา
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ผักสีส้ม ผลไม้สีส้ม ดีต่อแม่ท้อง กินแล้วดี ช่วยบำรุงร่างกาย
ถ้ากินวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลอย่างไร ?
สำหรับคุณแม่ท้องที่กินวิตามินซีในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับในแต่ละวัน อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้คุณแม่มีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็น ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน หรืออาจทำให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ไม่หมดจนทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต
วิตามินซีถือเป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ๆ ดังนั้น คุณแม่ท้องควรกินในปริมาณที่เหมาะสม ถึงจะปลอดภัยสำหรับคุณแม่และลูกน้อย หากคุณแม่ท่านไหนไม่ชอบรับประทานวิตามินซีแบบเม็ด แนะนำให้เลือกแบบชงดื่มกินได้ค่ะ หรือจะเลือกกินอาหารที่มีวิตามินซีสูงก็ได้เช่นกัน เพียงเท่านี้คุณแม่ก็จะได้รับประโยชน์มากมายจากวิตามินซีแล้วค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แม่ต้องรู้! ธาตุเหล็กสำหรับคนท้อง ส่งผลดีต่อลูกอย่างไร?
โยคะคนท้อง ดีต่อคุณแม่อย่างไร ช่วยให้คลอดลูกง่ายจริงไหม?