รู้ทัน! สาเหตุ อาการ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อันตรายมากแค่ไหน?

การติดเชื้อ และอักเสบบริเวณต่อมน้ำเหลือง ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้ ซึ่งการเกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้ห 

 624 views

การติดเชื้อ และอักเสบบริเวณต่อมน้ำเหลือง ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบได้ ซึ่งการเกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัย และสามารถเกิดขึ้นได้เพียงตำแหน่งเดียว และหลายตำแหน่งพร้อมกัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ นั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายมาก ๆ ดังนั้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลืองอักเสบมากยิ่งขึ้น รวมถึงอาการ และวิธีรักษา มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ


สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบเกิดจากอะไร?

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลือง คือเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง จะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร ต่อมน้ำเหลืองนั้นจะมีกระจายอยู่ทั่วทุกอวัยวะ ยกเว้นเพียงแค่ในสมอง หน้าที่ของต่อมน้ำเหลืองนั้นจะเป็นตัวดักจับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายอย่าง เชื้อโรค และต่อมน้ำเหลืองอักเสบ นั้นจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา จนทำให้เกิดการอักเสบ บริเวณต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมน้ำเหลืองเกิดการบวมขึ้น ซึ่งต่อมน้ำเหลืองอักเสบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ๆ ตั้งแต่คนอายุน้อยไปจนถึงคนอายุมาก ซึ่งบริเวณที่เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ นั้นสามารถเกิดได้เพียงต่อมเดียว หรือหลาย ๆ ต่อมพร้อมกันในหลายตำแหน่ง เช่น คอ, รักแร้ หรือขาหนีบ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ขาหนีบดำ เกิดจากอะไร? พฤติกรรมเหล่านี้เสี่ยงต่อการมีขาหนีบที่ดำขึ้นหรือไม่!



ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

  • อาจจะเกิดจากวัตถุทางเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
  • สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส หรือมีการติดเชื้อในระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ไวรัส HIV
  • มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  • พันธุกรรม ก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหากคนในครอบครัวเป็น เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือพร้อม ๆ กัน 
  • การอักเสบของช่องปาก และช่องคอจากเชื้อแบคทีเรีย

อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 

  • ต่อมน้ำเหลืองที่เกิดการอักเสบบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ มีอาการบวมเกิดขึ้น และขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ อย่างผิดปกติ
  • ผิวหนังบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบจะมีลักษณะแดง หรือมีริ้วสีแดงขึ้น
  • เมื่อต่อมน้ำเหลืองเกิดการอักเสบจะมีหนองในต่อมน้ำเหลือง และคั่งอยู่ในผิวหนัง
  • ผิวหนังบริเวณรอบ ๆ ต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบมีอาการบวม
  • อาจพบอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นด้วย เช่น ระบบทางเดินหายใจส่วนบนผิดปกติ ทำให้มีไข้ คัดจมูก เจ็บคอ แขน หรือขาบวม เป็นต้น
  • มีเหงื่อออกขณะที่นอนหลับ

การวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

สำหรับในส่วนของการวินิจฉัยในเบื้องต้นทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็จะเริ่มที่การซักถามประวัติทางการแพทย์ต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น อาการ, การใช้ยา, การมีแผล หรือโรคประจำตัว เป็นต้น จากนั้นก็จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วย เช่น ตรวจอวัยวะที่มีอาการ เช่น การตรวจสุขภาพช่องปาก ตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง และอาจมีการตรวจบริเวณอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น  ตรวจเลือด เพื่อการวินิจฉัยโรคเอดส์ และสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ แล้วก็การตรวจภาพต่อมน้ำเหลืองด้วยการอัลตราซาวนด์ ที่อาจร่วมกับการเจาะ และดูดเซลล์ เพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือตัดต่อมน้ำเหลือง เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนถึงความผิดปกติของต่อมน้ำเหลืองที่เกิดการอักเสบขึ้น



วิธีรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

  • สำหรับวิธีการรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร หรือต่อมน้ำเหลืองที่ไม่โตขึ้น ในกรณีนี้จะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ และไม่กลายเป็นมะเร็ง  จึงไม่จำเป็นจะต้องมีการรักษา เพราะต่อมน้ำเหลืองจะค่อย ๆ ยุบหายไปเอง หรือไม่ก็ยังคงอยู่คงที่ตลอดไปแต่จะเป็นในลักษณะก้อนเนื้อเล็ก ๆ ได้
  • ต่อมาจะเป็นวิธีการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น แพทย์ก็อาจจะให้ยาแก้ปวดมารับประทาน  สำหรับผู้ที่มีอาการปวดต่อมน้ำเหลืองมาก หรือให้ยาลดไข้ สำหรับคนที่อาการไข้ร่วมด้วย และถ้าหากใครที่มีอาการติดเชื้อก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
  • สำหรับการรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบในกรณีที่มีหนอง แพทย์ก็อาจจะต้องมีการเจาะ เพื่อระบายของเหลวภายในออก ซึ่งวิธีนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
  • และในกรณีที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ที่เกิดจากเนื้องอกที่มีเซลล์มะเร็ง ก็อาจจะต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งตามขั้นตอน ซึ่งมีวิธีรักษาหลากหลายวิธี ได้แก่ การผ่าตัด, การทำเคมีบำบัด หรือฉายแสง ซึ่งแล้วแต่แพทย์จะพิจารณาว่ามีวิธีการรักษาชนิดของมะเร็งนั้น ๆ อย่างไร


วิธีป้องกันต่อมน้ำเหลืองอักเสบมีอะไรบ้าง?

สำหรับวิธีการป้องกันต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ก็คือการป้องกันการติดเชื้อด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอรักษาสุขภาพช่องปาก ควรพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน และดูแลรักษาความสะอาดผิวหนัง ระวังไม่ให้ติดเชื้อ หรือเกิดแผล เช่น แผลจากการเกา แล้วก็สำหรับผู้ป่วยคนไหนที่จะต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือได้รับคำแนะนำใด ๆ จากแพทย์ ควรที่จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกชนิด โดยไม่จำเป็น หรือไม่ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ ซึ่งวิธีป้องกันเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดอาการที่รุนแรง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ



เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่เรานำมาฝากกัน การเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบจะต้องระมัดระวังไม่ให้ร่างกายไม่ติดเชื้อ หรือเกิดบาดแผลขึ้นนะคะ และถ้าหากใครที่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการที่เข้าข่ายการเกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แนะนำให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อทำการรักษาในขั้นตอนที่เหมาะสม และอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อไม่ให้อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบนั้นเกิดความรุนแรงขึ้น หวังว่าบทความในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับทุกคนนะคะ



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) รู้และเข้าใจ โรคภายในของผู้หญิง

ต่อมบาร์โธลินอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ผู้หญิงควรรู้จัก

แม่ท้อง 9 เดือนปัสสาวะไม่สุด อย่ารอช้า เสี่ยงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ที่มา : 1, 2