ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) รู้และเข้าใจ โรคภายในของผู้หญิง

เมื่อพูดถึงปัญหาโรคภายในของผู้หญิง อีกหนึ่งภาวะที่ละเลยไม่ได้ก็คือ ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) ถึงแม้จะเป็นภาวะติดเชื้อที่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็จำเ 

 904 views

เมื่อพูดถึงปัญหาโรคภายในของผู้หญิง อีกหนึ่งภาวะที่ละเลยไม่ได้ก็คือ ช่องคลอดอักเสบ (Vaginitis) ถึงแม้จะเป็นภาวะติดเชื้อที่ไม่รุนแรงมาก แต่ก็จำเป็นต้องรักษาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน วันนี้ Mamastory จะพาไปทำความรู้จักกับอาการนี้เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้รักษาและดูแลป้องกันได้อย่างถูกวิธี หากพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ !

ช่องคลอดอักเสบ คืออะไร ?

การอักเสบของช่องคลอดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Vaginosis ที่เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด เป็นการติดเชื้อในระดับที่ไม่รุนแรงมาก โดยแบคทีเรียมีปริมาณลดลง จนเป็นเหตุให้ช่องคลอดอักเสบ

การที่ช่องคลอดมีการอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกเพศทุกวัย แม้ผู้หญิงคนนั้นจะไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นได้ เพราะยังไม่มีสาเหตุที่แน่นอน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นภาวะที่สามารถรักษาได้ง่าย ไม่ได้เป็นขั้นตอนยุ่งยาก แต่ก็อาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ร่างกายอาจจะมีการติดเชื้ออื่นที่รุนแรงกว่านี้ก็เป็นได้


ช่องคลอดอักเสบ



สาเหตุที่ช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อ

จากการที่แบคทีเรียแลคโตบาซิไลมีจำนวนลดลง ทำให้ช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลกัน จนกลายเป็นภาวะอักเสบในช่องคลอด จากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีสาเหตุดังนี้

  • การสวนล้างช่องคลอด
  • การสวมใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • การตั้งครรภ์
  • การมีเพศสัมพันธ์แบบหมู่ หรือการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย ขณะมีเพศสัมพันธ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : หนองในเทียม (Chlamydia) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย !



สำหรับผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากการลดลงของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียก่อโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดการเสียสมดุลในภูมิคุ้มกัน

อาการอักเสบในช่องคลอดที่พบได้บ่อย

  1. ตกขาวมีอาการผิดปกติ มีสีเทาปน หรือมีสีส้ม สีเขียว บางรายอาจเป็นฟอง
  2. ตกขาวมีกลิ่นเหม็นอับ คล้ายกับกลิ่นคาวปลาเค็ม
  3. กลิ่นของตกขาวยิ่งรุนแรง หลังจากการร่วมเพศ หรือหลังหมดระดู
  4. รู้สึกเจ็บช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์
  5. ระคายเคือง เจ็บ หรือแสบขัด บริเวณช่องคลอด
  6. รู้สึกแสบร้อน ขณะปัสสาวะ
  7. ใช้ยารักษาช่องคลอดไม่หาย



การวินิจฉัยโรค

สำหรับการตรวจหาโรคช่องคลอดอักเสบ ในขั้นต้นแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วย รวมถึงการถามประวัติการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากนั้นจะทำการตรวจดังนี้

1. ตรวจภายในช่องคลอด

แพทย์จะทำการสังเกตบริเวณช่องคลอด ตกขาว และกลิ่นตกขาว ก่อนจะใช้เครื่องมือตรวจภายใน เพื่อดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือการติดเชื้อจากภายใน

2. ตรวจตกขาว

แพทย์จะทำการขอเก็บตัวอย่าง การตกขาวของผู้ป่วย เพื่อส่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์


ช่องคลอดอักเสบ



3. ตรวจค่าความเป็นกรดในช่องคลอด

ในข้อนี้แพทย์จะทำการตรวจสอบความเป็นกรด ในช่องคลอดของผู้ป่วย ด้วยการวัดค่า pH หากค่าอยู่ที่ 4.5 ขึ้นไป อาจจะมีความเสี่ยงว่า ผู้ป่วยมีการติดเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด

การรักษาช่องคลอดอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะทำการรักษาด้วยการจ่ายยา ในกลุ่มยาปฏิชีวนะ และต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา 1 อาทิตย์ ในระหว่างการรักษา หากระหว่างรักษา มีอาการต้องสงสัยว่าแพ้ยา เช่น มีผื่นคัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาด้วยตัวเอง เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการดื้อยาได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับการรักษาด้วยยา เพราะอาจส่งผลข้างเคียง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ควรพบสูตินรีเวชเพื่อรักษาด้วยวิธีอื่น


ช่องคลอดอักเสบ



วิธีป้องกันช่องคลอดอักเสบ

  1. งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหาย หากจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย
  2. ไม่สวนล้างช่องคลอด หรือใช้น้ำยาล้างทำความสะอาด โดยไม่จำเป็น
  3. ลดการใช้ผ้าอนามัยตลอดเวลา รวมถึงการใส่ชุดชั้นในที่รัดเกินไป
  4. ไม่ใช้ชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าที่อับชื้นง่าย ไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำ ไม่ใช้ชุดชั้นในร่วมกับผู้อื่น
  5. ทำความสะอาดหลังการขับถ่ายทุกครั้ง ล้างและเช็ดให้สะอาด
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ในขณะที่มีการอักเสบ
  7. เมื่อมีอาการผิดปกติ กลิ่นแรง ตกขาว คันช่องคลอด ควรรีบพบแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง



จริงอยู่ที่การเป็นภาวะช่องคลอดอักเสบ ไม่เป็นโรคที่ร้ายแรง ไม่ใช่โรคทางการมีเพศสัมพันธ์ แต่การติดเชื้อจากแบคทีเรียโดยไม่รักษา แล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสูง ที่จะทำให้ร่างกายติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ หรือโรคซิฟิลิส นอกจากนี้ถึงแม้จะรักษาหายแล้ว แต่ถ้ายังละเลยการดูแลที่ดี ก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเรื่อย ๆ ค่ะ !

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แม่ท้องกับภาวะ เชื้อราในช่องคลอด อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อทารกอย่างไร

หนองในแท้ (Gonorrhea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดได้ทั้งชายและหญิง !

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้น ๆ ของหญิงไทย

ที่มา : 1