สาเหตุที่ทำให้เกิด แผลในกระเพาะอาหาร คืออะไร?

วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร ให้มากยิ่งขึ้น ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด แผลในกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากอะไร รวม 

 642 views

วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร ให้มากยิ่งขึ้น ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด แผลในกระเพาะอาหาร นั้นเกิดจากอะไร รวมถึงมีอะไรอาการอะไรบ้าง แล้วเราจะมีวิธีป้องกันหรือรักษาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคนี้ได้อย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว มาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ


แผลในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร

แผลในกระเพาะอาหาร



สำหรับโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือโรคที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ โรคกระเพาะอาหาร นั่นเองค่ะ เรียกได้ว่าโรคที่หลาย ๆ คนจะต้องเคยเกิดขึ้นกับตัวเองแน่นอน สำหรับโรคแผลในกระเพาะอาหารนั้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ขึ้น นั้นมีหลากหลายมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกิดจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งก็คือการในกระเพาะมีกรดในปริมาณที่มากจนเกินไป จนไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดแผล และนอกจากนี้ ก็อาจจะมาจากสาเหตุการรับประทานยารักษาต่าง ๆ เช่น แอสไพริน ยารักษากระดูกและข้ออักเสบ ไอบูโพรเฟน เป็นต้น และพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ ก็อาจจะมีส่วนด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสชาติเผ็ด เป็นต้น ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารขึ้นได้ค่ะ




เชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร

สำหรับเชื้อ Helicobacter pylori (H. pylori) จะเป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่งที่จะอยู่ในบริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งเชื้อ H. pylori ตัวนี้นั้นจะไปสร้างกรดในกระเพาะอาหารในปริมาณมากจนทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบขึ้น แถมเชื้อตัวนี้ยังสามารถทำให้มีโอกาสเกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งในกระเพาะอาหารอีกด้วยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้น ๆ ของหญิงไทย


อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • มีอาการปวดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือหน้าท้องช่วงบน
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร
  • อาการปวดแน่นท้องหลังรับประทานอาหารรสชาติเผ็ด
  • มีอาการปวดแน่นท้องตอนกลางคืนบ่อย ๆ หลังจากที่หลับไปแล้ว จนต้องตื่นมากลางดึก
  • จะมีอาการปวดเป็นระยะสั้น หรือระยะยาว มักเป็นๆ หายๆ จนผ่านระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน และมีอาการเรื้อรังเป็นปี
  • บางครั้งก็มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย


ภาวะแทรกซ้อนของแผลในกระเพาะอาหาร

หากเกิดแผลในกระเพาะอาหารขึ้น แนะนำให้รีบทำการรักษาจะดีที่สุด ไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดเป็นอาการเรื้อรัง หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา และสำหรับภาวะแทรกซ้อนในแผลกระเพาะอาหารที่พบมากที่สุด จะแบ่งออกเป็น ดังนี้

เลือดออกภายในกระเพาะอาหาร เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุด โดยคนที่อยู่ในภาวะนี้จะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ อุจจาระเป็นเลือดหรือมีสีดำ เป็นต้น

กระเพาะอาหารเกิดการทะลุ เกิดจากการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการอักเสบ จนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งภาวะนี้จะมีอาการเจ็บท้องแบบเฉียบพลัน หากเกิดขึ้นต้องรีบรักษาโดยด่วน

กระเพาะอาหารอุดตัน สำหรับคนป่วยที่อยู่ในภาวะนี้อาจจะมีอาการอาเจียน น้ำหนักลดลง มีอาการท้องอืด อิ่มเร็ว




อาหารที่ควรรับประทาน และไม่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง

คนที่ป่วยเป็นแผลในกระเพาะอาหารควรกินอาหารชนิดไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ อาหารที่ควรรับประทาน และไม่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง เราจะแบ่งออกเป็นหลัก ๆ ดังนี้

  • สำหรับในเรื่องของการรับประทานอาหาร การรับประทานให้ตรงเวลาถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก คนที่ป่วยจะรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายเป็นหลัก และควรที่จะรับประทานในปริมาณน้อย ๆ และเคี้ยวอย่างช้า ๆ ไม่รับประทานอิ่มมากจนเกินไปสำหรับในแต่ละมื้อ
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือมีเครื่องเทศต่าง ๆ
  • อาหารทอด หรือไขมันสูง เพราะย่อยยากจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารขยายตัวมากทำให้ปวดมากขึ้น
  • ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชา กาแฟ น้ำส้ม น้ำมะนาว แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม เพราะอาจจะไปกระตุ้นการหลั่งกรดเพิ่มขึ้นได้ ทำให้อาหารไม่ย่อยได้
  • แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงกล้วย เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล แคนตาลูป เพราะจะช่วย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และของทอดต่าง ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผลร้อนใน เกิดจากอะไร เป็นร้อนในบ่อยรักษาอย่างไรดี?




วิธีป้องกัน และรักษา แผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร


  • สำหรับการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร สิ่งที่คุณสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงที่สามารถทำด้วยตัวเองง่าย ๆ คือ การล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร และจะต้องรับประทานอาหารที่สุก สะอาด รวมถึงการดื่มน้ำที่สะอาดด้วยนะคะ  
  • ควรงดใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาโรคกระดูก และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียดก่อนเข้านอน เพราะถ้าหากร่างกายได้รับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอหรือมีความเครียดสะสมก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจได้
  • สำหรับคนที่ติดเชื้อ H. pylori เพื่อผู้เชี่ยวชาญอาจจะให้รับประทานยารักษาโรคกระเพาะอาหาร หรือใช้ยาหลากหลายชนิด เพื่อทำการรักษากำจัดเชื้อ H. pylori
  • สำหรับคนที่ป่วยเป็นแผลในกระเพาะอาหารโดยใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจจะให้รับประทานยาลดกรด หรือยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาอาการให้ดีขึ้น




สำหรับคนที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารเกิดการฉีกขาด อาจจะต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เรานำมาฝากกัน

หากใครที่เริ่มมีอาการ หรือรู้สึกว่าอาการที่เกิดขึ้นเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาในขั้นตอนที่ถูกต้องโดยด่วนเลยนะคะ อย่าปล่อยให้มีอาการที่เริ่มรุนแรง หรือมีอาการแทรกซ้อนตามมาเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นอาจเป็นอันตรายได้

แต่ถ้าหากใครที่มีอาการที่ไม่ได้รุนแรงก็อาจจะไปพบแพทย์เพื่อรับยามาประทานเพื่อทำการรักษา และอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อบรรเทาอาการของแผลในกระเพาะอาหารให้ดีขึ้นค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้สำหรับทุกคนนะคะ





บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ไซนัส (Sinus) โรคใกล้ตัวที่น่ารำคาญ รักษาง่าย ไม่ยากอย่างที่คิด อย่าปล่อยไว้ !

โรคเริม เกิดจากอะไร? มาดูถึงสาเหตุ พร้อมวิธีการรักษากันดีกว่า

ต้อกระจก อาการเป็นอย่างไร อันตรายไหม รักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง?

ที่มา : 1, 2, 3, 4