โรคเริม เกิดจากอะไร? มาดูถึงสาเหตุ พร้อมวิธีการรักษากันดีกว่า

เชื่อว่าโรคนี้น่าจะเกิดขึ้นกับใครหลาย ๆ คน และน่าจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนสงสัยว่า โรคนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจ 

 936 views

เชื่อว่าโรคนี้น่าจะเกิดขึ้นกับใครหลาย ๆ คน และน่าจะเป็นสิ่งที่ใครหลายคนสงสัยว่า โรคนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไรได้บ้าง หากใครที่กำลังพบเจอกับโรคนี้กันอยู่บ่อย ๆ และอยากที่จะทราบว่าเราควรมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราหรือว่าลูกของเราจะได้หายจากการเป็นโรคนี้ หากใครพร้อมแล้วล่ะก็ เรามาดูวิธีการรับมือกับ โรคเริม ไปพร้อมกันเลยดีกว่า



โรคเริมคืออะไร?

เชื่อว่าหลายคนก็อาจจะกำลังสงสัยแหละค่ะว่าโรคนี้คืออะไร ต้องบอกก่อนว่าโรคเริมเป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpe Simplex Virus (HSV) โดยเชื้อไวรัสตัวนี้จะมีทั้งหมด 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ HSV type1 และ HSV type 2 เป็นต้น โดยโรคนี้จะเป็นโรคที่สามารถเป็นติดต่อกันผ่านทางผิวหนังได้ อีกทั้งยังสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยอีกด้วย แถมยังสามารถเกิดขึ้นได้อีกหลายปัจจัยมาก ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นเราควรต้องระวังโรคนี้กันด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : หูดหงอนไก่ (Anogenital Wart) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เรื่องใหญ่สำหรับชีวิตคู่



รู้หรือไม่! สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเริมมีอะไรบ้าง?

การที่เราหรือเจ้าตัวเล็กมีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคเริมนั้น บอกเลยว่าค่อนข้างเกิดขึ้นได้หลายปัจจัยมาก ๆ หากใครที่อยากทราบแล้วว่าหากมีพฤติกรรม หรือมีอาการแบบนี้ เราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเริมอยู่หรือเปล่า มาดูไปพร้อมกันได้เลย


 โรคเริม


1. ร่างกายอ่อนแอ

เมื่อไหร่ที่เรากำลังรู้สึกว่าร่างกายของตัวเองเริ่มอ่อนแอ หรือมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เราหรือเจ้าตัวเล็กป่วยเป็นโรคเริมขึ้นมาได้ง่าย ๆ ยิ่งใครที่ชอบทำงานดึก ๆ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอกันอยู่แล้วนั้น อาจจะต้องระวังเรื่องนี้ตามไปด้วยนะคะ



2. มีความเครียด

แน่นอนค่ะว่าความเครียดก็ถือเป็นหนึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้ใครหลายคนป่วยเป็นโรคเริมได้ ด้วยความวิตกกังวลใจอยู่บ่อย ๆ เมื่อสิ่งนี้เกิดการสะสมขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่งผลทำให้เกิดความเครียด และเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกเครียด เราก็จะกลายเป็นคนนอนไม่ค่อยหลับ หรือพักผ่อนไม่เพียงจนส่งผลทำให้เป็นโรคเริมได้เช่นเดียวกัน ยังไงพยายามอย่าเครียดหรือวิตกกังวลมากจนเกินไปนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ซึมเศร้าหลังคลอด โรคที่ต้องรู้ เพราะแม่หลายคนต้องเผชิญ!



3. อยู่ในช่วงพักฟื้น

ในช่วงเวลาที่จะทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ได้อีก อาจจะเป็นช่วงที่เราอยู่ในช่วงพักฟื้น หรือช่วงที่เรารู้สึกไม่สบายขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะช่วงระยะเวลาเหล่านี้ เป็นช่วงที่ร่างกายของเราค่อนข้างอ่อนแอ หากเราไม่ใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพ ผลที่ตามมาอีกอย่างก็อาจจะทำให้เราป่วยเป็นโรคเริมขึ้นมาได้เหมือนกัน



โรคเริมมีลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง?

นอกเหนือจากสาเหตุของการเกิดโรคเริมแล้วนั้น เรามาดูลักษณะอาการของโรคนี้ไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะว่า มีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง? หรืออาการที่เรากำลังพบเจออยู่ในตอนนี้ เสี่ยงที่จะทำให้เรากำลังเป็นโรคนี้อยู่หรือเปล่า หากเป็นเช่นนั้นแล้วล่ะก็ มาเช็กดูอาการกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ต่อมบาร์โธลินอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ผู้หญิงควรรู้จัก



 โรคเริม


1. มีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้น

อาการแรกที่เราอาจจะต้องทำการสังเกตเลยคือ โรคเริมจะมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นบริเวณที่เราติดเชื้อ อาทิเช่น บริเวณริมฝีปาก เป็นต้น โดยตุ่มที่เกิดขึ้นจะมีขนาดที่ไม่ได้ใหญ่มาก และอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นหลายตุ่มขนาดนั้น เอาเป็นว่า ย่าลืมเช็กอาการเหล่านี้กันด้วยนะคะ



2. มีแผลเกิดขึ้น

หลังจากที่มีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นบริเวณที่ติดเชื้อ เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก ตุ่มใส ๆ ที่เรากำลังเป็นอยู่ในตอนนี้ก็จะเริ่มแตก และกลายเป็นแผลเกิดขึ้น ซึ่งหากใครที่กำลังเป็นแบบนี้อยู่แล้วล่ะก็ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาเลยนะคะ หากปล่อยไว้นานอาจจะส่งผลอันตรายกว่านี้ได้



3. มีอาการแสบบริเวณแผล

เมื่อตุ่มใส ๆ เริ่มแตกแล้วนั้น สิ่งที่ตามมาอีกอย่างเลยคือ เราจะรู้สึกแสบบริเวณที่เป็นแผล ซึ่งแผลที่เกิดขึ้นนั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่อาจจะขึ้นอยู่กับตุ่มใส ๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังมีอาการแบบนี้อยู่แล้วล่ะก็ ควรรีบทำการรักษาโดยทันทีนะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายเราเพิ่มขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน



วิธีการรักษาโรคเริมทำอย่างไรดี?

สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีการรักษาโรคเริม และอยากที่จะรู้ว่าเราควรมีวิธีการรักษาโรคเริมอย่างไรบ้าง เพื่อที่อาการที่เราเป็นอยู่นั้นจะได้หายเร็วมากที่สุด เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการรักษา พร้อมวิธีการรับมือกับโรคนี้ไปด้วยกันเลยนะคะ


 โรคเริม


1. ทายาบรรเทาอาการปวด

สำหรับการรักษาโรคเริมนั้น เราไม่ควรที่จะซื้อยามาทา หรือมากินเองนะคะ เราอาจจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำให้ถูกต้องก่อน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอก็อาจจะทำการรักษาด้วยวิธีการทายาเพื่อบรรเทาอาการปวด โดยการทายาบรรเทาอาการปวด อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ  2 – 6 สัปดาห์ จากนั้นแผลที่เกิดขึ้นก็จะเริ่มหายเองไปเรื่อย ๆ ค่ะ



2. ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

สำหรับวิธีการรักษาอีกหนึ่งวิธีคือ การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสด้วยยาที่มีชื่อว่า วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) และยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) โดยยาทั้งสองชนิดนี้จะเข้าไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเชื้อไวรัสให้กับร่างกาย อีกทั้งยังเข้าไปช่วยลดอาการที่อาจเกิดความรุนแรงของเชื้อไวรัสตัวนี้ได้ด้วยนั่นเอง



ควรป้องกันตัวเองอย่างไร? ไม่ให้เป็นโรคเริม

สำหรับใครที่ค่อนข้างกลัว และไม่อยากให้ตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเราควรมีวิธีการป้องกันโรคนี้อย่างไรบ้าง หมดห่วงเรื่องนี้ไปได้เลยนะคะ บอกเลยว่าวิธีการป้องกันโรคนี้ทำตามได้ไม่ยากเลย



1. ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

การป้องกันอย่างแรกสำหรับโรคนี้เลยคือ เราจะต้องไม่ไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ อาทิเช่น น้ำลาย หรือรวมไปถึงการสัมผัสแผลตามไปด้วย เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคนี้เราก็อาจจะต้องระวังกันให้มากขึ้นด้วยนะคะ



2. งดการมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้โรคเริมยังสามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ดังนั้นเราอาจจะต้องระวังเรื่องนี้ตามไปด้วยนะคะ ไม่ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่กำลังป่วยเป็นโรคนี้ เพราะไม่อย่างนั้นก็อาจจะทำให้เราป่วยเป็นโรคเริมได้ง่ายด้วยเช่นกัน



3. หลีกเลี่ยงการกระตุ้นที่ทำให้ป่วยเป็นโรคนี้

ต้องบอกอีกนะคะว่าโรคเริมเป็นหนึ่งในโรคที่สามารถเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นเราควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และไม่ควรที่จะทำอะไรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ อาทิเช่น การนอนดึก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น



จากข้อมูลเกี่ยวกับโรคเริมที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ทุกคนให้ได้รู้กันแล้วนั้น ต้องบอกเลยนะคะว่าโรคนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ง่าย หากเราไม่รู้จักดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทางที่ดีสำหรับใครที่ไม่อยากป่วยเป็นโรคนี้ และอยากที่จะเป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพดี เราก็อย่าลืมหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพกันให้มากขึ้นด้วยนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ซิฟิลิส โรคร้ายที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

หนองในแท้ (Gonorrhea) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดได้ทั้งชายและหญิง !

หนองในเทียม (Chlamydia) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย !

ที่มา : 1, 2