เมื่อพูดถึงเรื่องของการเจ็บคอ ในปัจจุบันนี้มีอาการหลายอย่าง ที่สามารถเป็นได้ ทั้งไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 หรือแม้กระทั่ง ทอนซิลอักเสบ ที่เป็นอาการที่พบได้บ่อย และพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งบางรายอาจจะเกิดอาการซ้ำ ๆ จนกลายเป็นอาการเรื้อรัง หรือรุนแรงได้ในภายหลัง
วันนี้ Mamastory จะพาไปดูอาการนี้ให้ลึกกว่าเดิม เพื่อให้เข้าใจ และควรรู้ว่าใช้วิธีแบบไหนจะป้องกันได้ดีที่สุด ถ้าหากพร้อมแล้วไปอ่านบทความด้านล่างได้เลยค่ะ !
ต่อมทอนซิลคืออะไร ?
ต่อมทอนซิล คือ เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมคู่ข้างซ้ายและขวาในลำคอ ที่ภายในมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด อยู่ด้านข้างใกล้กับโคนลิ้น มีหน้าที่หลักในการดักจับ และกำจัดเชื้อโรค ที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และมีบทบาทในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ซึ่งมักเกิดอาการอักเสบ หรือมีขนาดโตผิดปกติ จนส่งผลกระทบต่อการหายใจ หรือการกลืนของผู้ป่วยได้
ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน คืออะไร ?
ภาวะทอนซิลอักเสบเฉียบพลันนี้ มักเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเจ็บคอที่พบได้บ่อย ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บคอ และร้าวไปถึงหู ไข้หนาวสั่น กลืนอาหารหรือน้ำลายเจ็บ คลำคอแล้วเจอต่อมบวม ซึ่งหากมีอาการบ่อย อักเสบซ้ำ ๆ ในหลายครั้งต่อปี อาจจะหลายเป็นการอักเสบเรื้อรังได้ค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคทอนซิลโตในเด็ก ปัญหาที่ห้ามละเลย หากไม่อยากให้ลูกเจ็บหนักกว่าเคย !
สาเหตุที่ทอนซิลอักเสบ
โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย สเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ ซึ่งการได้รับเชื้อโรค จะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ
อาการทอนซิลอักเสบ
- ต่อมทอนซิลบวมแดง กดแล้วเจ็บ
- กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอเวลากลืน
- เจ็บคอร้าวไปบริเวณหู
- ปวดศีรษะ
- มีไข้ หนาวสั่น
- เสียงแหบ หรือเสียงเปลี่ยน
- มีกลิ่นปาก
- มีเมือกสีขาวหรือเหลือง เคลือบต่อมทอนซิล
- อาจมีอาการอาเจียน หลังกินอาหาร
ในขณะเดียวกัน เด็กบางคนอาจจะยังไม่สามารถบอกอาการที่เกิดขึ้นได้ ผู้ปกครองอาจจะต้องสังเกตอาการเหล่านี้ร่วม
- ลูกมีอาการน้ำลายไหลผิดปกติ
- ลูกมีปัญหากลืนไม่ได้
- ลูกไม่อยากอาการ หรือกินอะไรไม่ได้
- ลูกงอแงผิดปกติ
ปัจจัยเสี่ยงทอนซิลอักเสบ
โดยปกติแล้วมักเกิดกับเด็กมากกว่า เพราะเป็นช่วงที่รับเชื้อได้มากที่สุด และมีแนวโน้มในการสัมผัสเชื้อโรคมากกว่าผู้ใหญ่ รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น
- ติดเชื้อรอบต่อมทอนซิล
- เป็นหนองช่องคอส่วนลึก
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอน
บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคปากนกกระจอก เกิดขึ้นได้อย่างไร? อะไรเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้!
เมื่อไรที่ควรไปหาหมอ
หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ได้แก่
- เจ็บคอต่อเนื่อง เจ็บคอไม่หายใน 1-2 วัน
- เจ็บคอ คู่กับเป็นไข้
- มีปัญหาระหว่างที่กลืนอาหาร หรือน้ำลาย
- อ่อนเพลียมากผิดปกติ
- หายใจหรือกลืนลำบาก
- น้ำลายไหลมากผิดปกติ
วิธีป้องกันตัวเอง
เมื่อมีอาการทอนซิลอักเสบ หลังจากไปหาหมอมาแล้ว สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ตามปกติ เพื่อให้อาการเบาลง และสามารถฟื้นตัวจากการติดเชื้อได้เร็วขึ้น ซึ่งแพทย์จะไม่จ่ายยาปฏิชีวนะ อาการมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน สามารถดูแลตัวเองได้ดังนี้
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเต็มที่
- ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อย ๆ เปลี่ยนเป็นอาหารอุ่น ๆ
- กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
- ไม่สูดดมควันบุหรี่
นอกจากนี้ยังมีวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย สามารถป้องกันการติดต่อของโรคได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- หมั่นล้างมือก่อนทานอาหาร หลังไอหรือจาม และหลังเข้าห้องน้ำ
- งดการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือแบ่งอาหารร่วมกัน
- เปลี่ยนแปรงสีฟันทุกครั้ง หลังต่อมทอนซิลอักเสบ
- ให้ใช้กระดาษทิชชู ป้องปิดปากเวลาไอหรือจาม
- พักอยู่บ้านระหว่างที่ป่วย
ในทางเดียวกันมีความเชื่อผิด ๆ ว่า การผ่าตัดต่อมทอนซิลออกอาจทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น เพราะไม่มีตัวดักจับเชื้อโรค แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง การผ่าตัดจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อไม่เป็นการสะสมเชื้อโรค อย่างไรก็ตามหากกังวลเรื่องการเจ็บคอ หรืออาการเรื้อรัง สามารถเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
รู้ทัน! สาเหตุ อาการ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อันตรายมากแค่ไหน?
ไซนัส (Sinus) โรคใกล้ตัวที่น่ารำคาญ รักษาง่าย ไม่ยากอย่างที่คิด อย่าปล่อยไว้ !
กรดไหลย้อน (GERD) อาการอันตรายที่ควรต้องรู้ เพราะเกิดหลังการทานอาหาร !