นมข้นเป็นวัตถุดิบที่ค่อนข้างอร่อย และเป็นสิ่งที่พวกเราแทบจะขาดไม่ได้เลย โดยเฉพาะใครที่ชอบกินเมนูของหวาน หรืออะไรหวาน ๆ อยู่แล้ว เอาเป็นว่าหากคุณแม่เป็นคนที่ชอบหาเมนูของหวานอร่อย ๆ มากินในช่วงเวลาว่าง และอยากรู้ว่าจะเป็นอะไรไหมหากเรากินนมข้นหวานมากจนเกินไป หรือแท้จริงแล้ว คนท้องกินนมข้นหวานได้ไหม มาดูกันค่ะ
จริงไหม? คนท้องสามารถกินนมข้นหวานได้
เชื่อว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับคุณแม่หลาย ๆ คนว่า เราสามารถที่จะกินนมข้นในช่วงตั้งท้องได้หรือเปล่า ต้องบอกเลยนะคะว่านมข้นหวานที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้เป็นอะไรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน และนมข้นหวานเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องสามารถกินได้ แต่ควรที่จะกินควบคู่กับสิ่งที่มีประโยชน์ตามไปด้วย และที่สำคัญไม่ควรกินในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย
สิ่งที่ควรระวังสำหรับการกินนมข้นหวานคืออะไร?
นมข้นหวานถึงแม้จะเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องสามารถกินได้ตามปกติ แต่ในขณะเดียวกันเราอาจจะต้องระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นตามไปด้วย เพราะสิ่งนี้หากเรากินได้ไม่ถูกวิธี หรือกินเข้าไปเป็นจำนวนมาก ก็ค่อนข้างที่จะส่งผลร้ายแรงได้อยู่เหมือนกัน ส่วนเราจะต้องทำยังไงบ้าง หรือควรระวังในเรื่องไหน มาดูกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : มาดูกัน! คนท้องกินน้ำใบเตยได้ไหม เครื่องดื่มสมุนไพรที่แม่ต้องรู้
1. ให้พลังงานมากจนเกินไป
สิ่งที่เราอาจจะต้องระวังเป็นอย่างแรกเลยอาจจะเป็นเรื่องของปริมาณการกินนมข้นหวาน ซึ่งเราอาจจะต้องรู้ด้วยว่าการที่เราจะกินนมข้นหวานได้อย่างปลอดภัยนั้น เราควรที่จะกินได้ในปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน หากเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้เลย และกินไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดสักที ผลข้างเคียงที่ตามมาก็อาจจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น หรือสำหรับบางคนก็อาจจะกลายเป็นโรคเบาหวานขึ้นมาได้เลย ทางที่ดีก็อาจจะปรึกษาคุณหมอตามไปด้วยนะคะ
2. มีครีมเทียมในนมข้นหวาน
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามต่อมาเลย อาจจะเป็นเรื่องการระมัดระวังครีมเทียมในนมข้นหวาน ซึ่งนมข้นที่ดีไม่ควรทำแบบนี้ ดังนั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกซื้อนมข้นหวานมากิน เราก็อาจจะต้องทำการดูส่วนผสมและพยายามเลือกยี่ห้อนมข้นหวานให้ดูน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่เราเผลอกินครีมเทียมเข้าไปสิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เรารู้สึกว่านมข้นหวานที่เรากำลังกินอยู่นั้นมีรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้
ควรเลือกซื้อนมข้นหวานแบบไหนดี?
หากใครที่กำลังมองหานมข้นหวานที่มีรสชาติอร่อย และอยากที่จะได้นมข้นหวานที่ค่อนข้างปลอดภัย ไม่มีผลกระทบหรือผลข้างเคียงตามมาแล้วล่ะก็ ขอบอกเลยนะคะว่าวิธีการเลือกซื้อนมข้นหวานนั้นก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เลย เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการเลือกซื้อกันเลยดีกว่าค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินครัวซองต์ได้ไหม กินแล้วมีประโยชน์อย่างไรต่อลูกในท้อง!
1. เลือกยี่ห้อให้ดีและเหมาะสม
ก่อนที่เราจะเลือกซื้ออะไรก็ตาม หากคุณแม่อยากได้ของที่ดีและมีคุณภาพขึ้นมานั้น เราจะต้องพยายามเลือกซื้อของที่มียี่ห้อ และเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ และที่สำคัญเราก็อาจจะต้องพยายามอ่านฉลาก และส่วนผสมต่าง ๆ ของนมข้นหวานชนิดนี้ตามไปด้วย
2. ดูวันเดือนปีที่ผลิต
วันเดือนปีที่ผลิตก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างสำคัญมาก ๆ อย่างที่รู้กันดีว่านมข้นหวานที่เราซื้อไปนั้น เราไม่สามารถที่จะกินให้หมดในวันเดียวแน่นอน แต่เราอาจจะต้องเก็บนมข้นหวานที่ซื้อมาไว้กินในวันต่อ ๆ ไปด้วย เพราะฉะนั้นใครที่อยากจะเก็บนมข้นหวานไว้กินได้นานมากขึ้น เราก็อาจจะต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตนมข้นหวานตามไปด้วย และอาจจะต้องเลือกซื้อนมข้นหวานที่มีการผลิตใหม่ ๆ นั่นเอง
3. เลือกสูตรที่มีไขมันน้อย
สิ่งที่เราอาจจะต้องเลือกต่อมาเลย เราก็อาจจะต้องเลือกนมข้นหวานสูตรที่มีไขมันน้อย ๆ หรือเป็นนมข้นหวานที่มีรสชาติไม่ได้หวานมากขนาดนั้น เพราะเมื่อไหร่ที่เราไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ และเลือกซื้อนมข้นหวานที่มีรสชาติหวานมากจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่ท้องได้เลย
3. ดูลักษณะภายนอก หรือการบรรจุภัณฑ์
จากนั้นเราก็อาจจะต้องทำการสังเกตดูลักษณะกระป๋อง หรืออะไรก็ตามที่ใช้บรรจุ โดยเราอาจจะดูว่าลักษณะการบรรจุภัณฑ์นั้นเกิดความเสียหาย หรือมีการชำรุดเกิดขึ้นหรือไม่ หากเมื่อไหร่ที่เราพบเห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีความเสียหายเกิดขึ้น ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้นมข้นหวานที่เราซื้อมานั้นไม่ได้คุณภาพ หรืออาจจะเกิดการปนเปื้อนขึ้นมาได้เหมือนกัน
เคล็ดลับ! เก็บนมข้นหวานยังไงให้อยู่ได้นาน
สำหรับใครที่ค่อนข้างเป็นกังวลไม่รู้ว่าเราควรเก็บนมข้นหวานที่กินไม่หมดยังไงดี เพื่อที่เราจะเก็บไว้กินได้นาน หรือสามารถเก็บไว้กินในวันต่อ ๆ ไปด้วย เอาเป็นว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาเลย เพราะนมข้นหวานเป็นอะไรที่เราสามารถเก็บไว้กินได้เรื่อย ๆ เพียงแค่เราอาจจะต้องรู้วิธีการเก็บให้เหมาะสม ส่วนจะต้องทำยังไงบ้างนั้น อย่ารอช้ามาดูกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินขนมปังปิ้งได้ไหม ขนมปังมีประโยชน์ต่อคนท้องหรือไม่!
1. ปิดฝาทุกครั้ง
ไม่ว่าเราจะกินวันละกี่รอบต่อวัน แต่หลังจากที่เราไม่ได้กินต่อ หรือไม่ได้ใช้นมข้นหวานแล้วนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำเลยคือให้เราทำการปิดฝานมข้นหวานทุกครั้งหลังใช้งาน ซึ่งขั้นตอนการปิดนั้นเราควรที่จะปิดให้สนิท พร้อมกับนำนมข้นหวานไปแช่ในตู้เย็นโดยทันที
2. ควรเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสม
สิ่งสำคัญของการเก็บนมข้นหวานต่อมาเลยคือ เราควรที่จะเก็บนมข้นหวานไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึง เพราะเมื่อไหร่ที่เราเก็บนมข้นหวานไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง และเป็นที่ที่มีแสงแดดส่องถึง สิ่งที่ตามมาก็อาจจะทำให้นมข้นหวานที่เราซื้อมานั้นหมดอายุได้เร็วขึ้นแน่นอน
3. ลักษณะสีของนมข้นหวานจะเปลี่ยนไป
หากเมื่อไหร่ที่เราเก็บนมข้นหวานไว้ที่ที่มีอุณหภูมิสูง ๆ ผลที่ตามมาอีกอย่างเลยคือ นมข้นหวานที่เราซื้อมานั้นจะมีลักษณะของสีที่เป็นโทนสีเข้มมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากใครที่อยากให้นมข้นหวานมีลักษณะของสีและรสชาติที่เหมือนเดิมเป็นปกติ ให้เราเก็บนมข้นหวานในตู้เย็นจะดีกว่า
4. ไม่ควรให้บรรจุภัณฑ์เกิดการชำรุด
ทุกครั้งที่เรานำนมข้นหวานมาเก็บไว้ในตู้เย็นนั้น สิ่งที่เราอาจจะต้องระวังกันอีกอย่างเลยคือ พยายามอย่าปล่อยให้บรรจุภัณฑ์เกิดการชำรุด เพราะเมื่อไหร่ที่บรรจุภัณฑ์เกิดการชำรุด ผลที่ตามมาก็อาจจะทำให้นมข้นหวานเกิดการเน่าเสียได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้นมข้นหวานมีกลิ่นและมีรสชาติที่เปลี่ยนไปได้เลย
4. ควรบริโภคให้หมดก่อนวันหมดอายุ
เมื่อไหร่ที่เราทำการเปิดกล่องบรรจุภัณฑ์นมข้นหวานเรียบร้อยแล้วนั้น เราควรที่จะรีบกินนมข้นหวานให้หมดก่อนที่จะหมดอายุ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้นมข้นที่เราซื้อมาเกิดการปนเปื้อนและไม่อร่อยขึ้นมาได้ ทางที่ดีให้รีบกินก่อนวันหมดอายุจะดีกว่า
จากที่เราพาคุณแม่มาทำความเข้าใจกับนมข้นหวานกันแล้วนั้น ทำเอาคุณแม่หลายคนต้องระมัดระวังการกินนมข้นขึ้นมากันเลยใช่ไหมคะ ต้องบอกว่านมข้นหวานเป็นสิ่งที่คุณแม่ท้องสามารถกินได้ แต่เราก็อาจจะต้องระวังให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน หรือเพื่อความมั่นใจในการกินนมข้นกันมากขึ้น เราก็อาจจะขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนได้เลยนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
สิ่งที่ควรรู้! คนท้องกินวุ้นเส้นได้ไหม กินแล้วสุขภาพดีหรือไม่?
คนท้องกินหม่าล่าได้ไหม เมนูแสนอร่อยที่แม่ทุกคนอยากลอง!
คนท้องกินปูอัดได้ไหม ปูอัดคือสิ่งที่มีประโยชน์หรือเปล่า?
ที่มา : 1, 2