พัฒนาการเด็ก 6 ปี เป็นอย่างไร ลูกเริ่มเรียนรู้จริงจังแล้ว

ปีนี้ลูกจะมีอายุครบ 6 ปีแล้ว พัฒนาการเด็ก 6 ปี เป็นอย่างไรบ้าง อะไรบ้างที่เริ่มโดดเด่นขึ้นมา ผู้ปกครองเตรียมตัวให้ดี เด็กช่วงวัยนี้เริ่มเข้า 

 1721 views

ปีนี้ลูกจะมีอายุครบ 6 ปีแล้ว พัฒนาการเด็ก 6 ปี เป็นอย่างไรบ้าง อะไรบ้างที่เริ่มโดดเด่นขึ้นมา ผู้ปกครองเตรียมตัวให้ดี เด็กช่วงวัยนี้เริ่มเข้าใจสิ่งรอบตัว สื่อสารได้ มีความต้องการ ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ค่อนข้างเต็มตัวแล้ว

พัฒนาการเด็ก 6 ปี เป็นอย่างไร ?

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มเข้าสู่วัยเรียนรู้อย่างเต็มตัว สามารถสื่อสาร และแสดงอารมณ์ มีความเข้าใจมากขึ้น ทำให้ผู้ปกครองต้องระวังพฤติกรรมที่แสดงออกมา เพื่อให้ลูกจดจำเรียนรู้ เพราะลูกอาจเลียนแบบ และควรส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างต่อเนื่อง โดยลูกอายุ 6 ปี จะมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้

วิดีโอจาก : Samitivej Hospitals

1. ส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน

สิ่งแรกที่ผู้ปกครองควรวัดจากเด็กในช่วงวัยนี้ คือ น้ำหนักและส่วนสูง ที่ควรจะเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนี้ ลูกชายควรสูงประมาณ 115.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 20.8 กิโลกรัม ส่วนลูกสาวควรสูงประมาณ 115.0 เซนติเมตร และหนักประมาณ 20 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่าในช่วงวัย 6 ปีนี้ ทั้งลูกสาว และลูกชายโดยเฉลี่ยจะมีส่วนสูง รวมถึงน้ำหนักที่ใกล้เคียงกันมาก แทบจะไม่ต่างกันหากมองด้วยสายตา

บทความที่เกี่ยวข้อง : 4 วิธีเคล็ดไม่ลับ เพิ่มส่วนสูง ให้ลูกน้อยเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ

2. ความอยากรู้อยากเห็นที่เพิ่มมากขึ้น

เป็นวัยที่เข้าสู่การเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ สามารถคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง และวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ได้เบื้องต้น ไม่ใช่แค่ต้องการจะสนุกสนานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ชอบกิจกรรมที่ทำให้ตนเองได้ฝึกทักษะ ความคิด และความสามารถมากขึ้นด้วย ในช่วงวัยนี้หากผู้ปกครองต้องการให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ใช่วิชาการยาก ๆ ก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตามจะต้องระวังให้ดีด้วย เพราะเด็กบางคนมีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกัน หากลูกยังไม่พร้อมกับสิ่งใหม่ ๆ ก็ไม่ควรไปบังคับลูกเช่นกัน

นอกจากนี้เด็กวัยนี้จะสามารถเข้าสังคมกับเด็กวัยเดียวกันได้แล้ว จึงเป็นช่วงวัยที่เหมาะสมที่ผู้ปกครองควรพาออกไปข้างนอก เพื่อได้มีโอกาสในการเล่น หรือพบเจอกับเด็กในช่วงวัยเดียวกัน เป็นการเรียนรู้ที่ดี และทำให้ลูกได้สนุกสนาน พร้อมกับฝึกการเข้าสังคมไปในตัวด้วย

3. เคลื่อนไหวได้อิสระกว่าเดิม

การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของเด็กวัย 6 ปี จะมีความคล่องแคล่วมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ระบบกระดูก สมอง และกล้ามเนื้อสามารถทำงานสัมพันธ์กันดี แม้ว่าลูกจะดูคล่องแคล่วมากขึ้น แต่ผู้ปกครองก็ควรฝึกการเคลื่อนไหวของลูกด้วยกิจกรรมง่าย ๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อของลูก เช่น ให้ลูกเต้นตามเพลง, เล่นกีฬาง่าย ๆ เช่น เตะฟุตบอล, เตะฟุตซอล หรือบาสเกตบอล เป็นต้น นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังมีกล้ามเนื้อนิ้วที่แข็งแรงมากขึ้น สามารถหยิบจับเคลื่อนไหว หรือหัดเขียนหนังสือเบื้องต้นได้แล้ว

พัฒนาการเด็ก 6 ปี


4. สื่อสารได้มากขึ้น

สำหรับทักษะด้านการสื่อสารเองก็พัฒนาขึ้นจนสามารถพูดคุยเป็นคำ และถูกหลักมากขึ้นแล้ว ในช่วงนี้ผู้ปกครองสามารถเสริมการพูดคุยของลูกวัย 6 ปีได้หลายวิธี เพื่อให้ลูกพูดได้คล่องมากขึ้น เช่น การพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ หรือการให้ลูกพูดตาม หรือฟังเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่มีความเหมาะสมต่อการเรียนภาษาที่ 2 ในระดับเบื้องต้นด้วย ผู้ปกครองสามารถฝึกได้ง่าย ๆ ด้วยการเปิดเพลง หรือการ์ตูนภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดให้ลูกดู เพื่อให้ลูกซึมซับมากขึ้น ดีต่อการเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคต

ลูก 6 ปี จะสามารถพูดได้ประมาณ 5 – 6 คำต่อประโยค ผู้ปกครองต้องระวังการสื่อสาร เพราะลูกเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกได้มากขึ้นแล้ว นอกจากนี้ทักษะการสื่อสารทางการพูดคุยแล้ว ยังมีพัฒนาการทางด้านการอ่าน หากลูกได้รับการฝึกที่มากพอ จะสามารถหยิบหนังสือนิทานต่าง ๆ มาสะกดอ่านได้ด้วยตนเองเช่นกัน

5. มีความต้องการเบื้องต้น และชอบแสดงออก

เด็กวัยนี้จะมีความต้องการเบื้องต้นของตนเอง และสามารถพูดบอกได้อย่างชัดเจน สิ่งที่ลูกแสดงความต้องการออกมา ไม่ใช่เพียงคำพูดของเด็กเท่านั้น แต่เป็นเพราะลูกต้องการสิ่งนั้นจริง ๆ ดังนั้นผู้ปกครองจะต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย หากคิดว่าลูกแค่ล้อเล่น อาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดี อาจโวยวายได้ นอกจากนี้ลูกวัยนี้ยังมีความอดทนต่อสิ่งรอบตัวมากกว่าเดิม และมักต้องการแสดงออกมากกว่าเดิม โดยปกติแล้วจะช่างพูด ช่างคุย และขี้สงสัยถามนั่นนี่ตลอด

6. โภชนาการของเด็ก 6 ปี

ในส่วนของการรับประทานอาหารของลูกตอนนี้ จะสามารถกินอาหารได้หลากหลายอยู่แล้ว จะต้องการกินขนม หรือของว่างมากขึ้นด้วย ผู้ปกครองต้องคอยดูแลเรื่องมื้ออาหาร ให้ลูกมีโอกาสทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ส่วนขนมหรือของว่างก็ควรเน้นของที่มีรสชาติอร่อย และมีประโยชน์ต่อร่างกายควบคู่กันไปด้วย ผู้ปกครองสามารถให้ลูกกินของหวานได้บ้าง เป็นไปตามวัยนี้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องปริมาณ ไม่ให้กินมากเกินไปด้วย นอกจากมื้ออาหารแล้ว ยังควรให้เด็กวัยนี้กินน้ำสะอาดเยอะ ๆ เพราะอยู่ในช่วงเรียนรู้ อาจทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อย ๆ ตามไปด้วย

พัฒนาการเด็ก 6 ปี 2


เสริมสร้างพัฒนาการลูก 6 ปีได้อย่างไรบ้าง ?

  • ตอบสนอง และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ไม่ควรมองว่าเป็นแค่ความคิดของเด็ก เพราะวัยนี้สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ในระดับเบื้องต้นได้แล้ว
  • ออกกฎเกณฑ์ที่เหมาะกับเด็กเล็ก เพื่อให้ลูกปฏิบัติตัวตาม เป็นการฝึกวินัย และการยอมรับบรรทัดฐานของสังคมได้ดีในอนาคต เช่น ถ้าทำการบ้านห้ามเล่น หรือดูการ์ตูนจนกว่าจะทำการบ้านให้เสร็จก่อน เป็นต้น
  • เมื่อลูกสามารถอ่านหนังสือได้บ้างแล้ว สามารถเสริมพัฒนาการด้วยการอ่านนิทานให้มากขึ้นได้ เพื่อให้ลูกได้คุ้นชินกับการอ่านมากขึ้น อ่านได้คล่องขึ้น
  • อย่าให้ลูกเล่นมือถือมากเกินไป เสี่ยงติดมือถือ การเรียนรู้ที่สำคัญนอกจากสื่อออนไลน์ คือ การได้ออกไปพบเจอสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริง
  • หากลูกมีความสนใจในด้านใดเป็นพิเศษ ควรให้การส่งเสริมลูกเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่มากขึ้น


พัฒนาการเด็ก 6 ปี ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากพอสมควร การสื่อสาร และการเรียนรู้ที่มากขึ้น เป็นช่วงที่ดีในการรับโอกาสในการฝึกทักษะใหม่ ๆ มากขึ้นตามความเหมาะสม ผู้ปกครองที่อยากให้ลูกได้ทักษะใหม่ ๆ จึงควรเริ่มสอนลูกบ้างในตอนนี้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 เทคนิค เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด อารมณ์ดี เป็นอัจฉริยะ

วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ลูก แบบง่าย ๆ ทำอย่างไรให้ลูกมีสุขภาพดี ?

สอนลูกข้ามถนน อย่างไร ? ให้ปลอดภัยบนท้องถนน มาดูกัน !

ที่มา : 1, 2