พัฒนาการทางภาษาช้า ทำอย่างไรดี? มาดูวิธีการรับมือไปพร้อมกัน

นี่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นกังวลใจ ว่าทำไมลูกของเราถึงมี พัฒนาการทางภาษาช้า เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ ต้องบอกก่อนว่าอย่ 

 1126 views

นี่อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนเป็นกังวลใจ ว่าทำไมลูกของเราถึงมี พัฒนาการทางภาษาช้า เมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ ต้องบอกก่อนว่าอย่าเพิ่งเป็นกังวลใจไปเลยนะคะ เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าค่ะว่า เมื่อลูกของเรามีพัฒนาการภาษาที่ช้า สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร และเราควรมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง เข้ามาอ่านกันเลยนะคะ

พัฒนาการทางภาษา หรือทักษะทางด้านการพูดของเด็กปกติ

พัฒนาการทางภาษาช้า

1. อายุ 4 – 6 เดือน

หากลูกของเรามีอายุได้ประมาณ 4 – 6 เดือน หากเขามีพัฒนาการที่ปกติ เด็ก ๆ เขาก็จะอยู่ในช่วงที่เริ่มส่งเสียงหัวเราะขึ้นมาบ้าง หรือบางคนก็อาจจะชอบเล่นน้ำลายตัวเอง ซึ่งหากเด็ก ๆ มีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ สิ่งนี้ก็อาจจะกำลังบ่งบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าลูกของเรามีพัฒนาการที่เป็นปกตินั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ระวังพฤติกรรมเลียนแบบในเด็ก เรื่องเล็กน้อยของพ่อแม่ แต่ลูกไม่ลืม

2. อายุ 7 – 9 เดือน

ต่อมาเลยคือเมื่อเด็ก ๆ เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยประมาณ 7 – 9 เดือน แน่นอนว่าเด็ก ๆ เขาก็จะมีการตอบสนองได้มากยิ่งขึ้น โดยเขาอาจจะมีการตอบสนองเราผ่านการเรียกชื่อ หรือบางทีเด็ก ๆ ก็อาจจะส่งเสียงตอบเรากลับมา โดยที่ยังไม่ส่งเสียงเป็นภาษานะคะ

3. อายุ 10 – 12 เดือน

เมื่อลูกของเราอายุได้ประมาณ 10 – 12 เดือน เด็ก ๆ เขาก็จะเริ่มทำตามคำสั่งของเรามากขึ้น อาจจะทำท่าทางประกอบ หรือพูดเป็นคำที่มีความหมายได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นหากเด็ก ๆ มีการตอบสนองเหล่านี้อยู่ก็แสดงว่าลูกของเรายังมีพัฒนาการที่ปกติค่ะ

4. อายุ 18 เดือน

สิ่งที่จะดูว่าลูกของเรามีพัฒนาการที่ปกติดีไหม เราก็อาจจะดูจากการที่เราชี้รูปภาพตามคำบอก จากนั้นหากเด็ก ๆ ทำตามคำสั่งของเรา หรือสามารถพูดเป็นคำได้ 1 พยางค์ แสดงว่าเด็ก ๆ มีพัฒนาการที่เป็นปกตินะคะ

5. อายุ 2 ปี

เมื่อเด็ก ๆ มีอายุครบ 2 ปี เขาก็จะเริ่มพูดได้มากขึ้น ซึ่งอาจจะพูดได้ประมาณ 2 – 3 คำเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากใครที่อยากรู้ว่าลูกของเรามีพฤติกรรมที่ปกติหรือไม่ เราก็อาจจะคอยสังเกตดูพัฒนาการของลูกเราเรื่อย ๆ นะคะ

6. อายุ 3 ปี

อย่างที่รู้กันดีว่า เมื่อเขาเริ่มโตขึ้นเด็ก ๆ เขาก็จะเริ่มที่จะพูดเป็นประโยคมากขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังเข้าใจเรื่องที่เราเล่าตามไปด้วยเช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาช้าเกิดจากอะไรบ้าง?

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยว่า สิ่งที่ทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าขึ้นมานั่น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง และพฤติกรรมลูกของเราเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการทางภาษาช้าหรือเปล่า มาดูสาเหตุที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เทคนิค เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด อารมณ์ดี เป็นอัจฉริยะ

พัฒนาการทางภาษาช้า

1. เกิดจากสติปัญญาบกพร่อง

สาเหตุอย่างแรกที่อาจส่งผลทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาช้า สิ่งนี้ก็อาจเกิดจากสติปัญญาที่บกพร่องได้เหมือนกัน เพราะเมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีปัญหาทางด้านสติปัญญา ผลที่ตามมาก็อาจจะส่งผลทำให้เด็ก ๆ พูดได้ช้าขึ้น อีกทั้งยังทำให้พัฒนาทางด้านอื่น ๆ ช้าตามไปด้วยได้

2. เกิดจากการได้ยินที่ผิดปกติ

ปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ส่งผลทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากอวัยวะที่รับการได้ยินผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น อาการหูหนวก หรือหูตึง เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากลูกของเรามีความผิดปกติทางอวัยวะที่ได้รับการได้ยิน เราก็อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาขั้นตอนต่อไปนะคะ

3. เกิดพัฒนาการล่าช้าเพียงด้านเดียว

การที่ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าเพียงด้านเดียว สิ่งนี้ก็ค่อนข้างเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันถึงแม้เขาจะมีพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่เด็กกลุ่มนี้เขาก็ยังมีความสนใจ และมีอารมณ์ร่วมสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเพื่อน ๆ ได้ตามปกตินั่นเองค่ะ

4. เกิดจากการเลี้ยงดู

หารู้ไหมว่าการเลี้ยงดูลูก ๆ ปัจจัยนี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะการที่เด็ก ๆ จะพูดหรือทำท่าทางต่าง ๆ ได้ เขาก็อาจจะต้องเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวตามไปด้วย และหากใครที่ไม่อยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับลูกของเรา เราก็สื่อสารกับลูก ๆ ผ่านการพูด หรือเล่านิทานได้เลยนะคะ

5. เกิดจากอาการออทิซึม

ปัจจัยต่อมาที่สามารถส่งผลทำให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าได้เช่นกัน คือเกิดจากอาการออทิซึม ซึ่งเด็ก ๆ กลุ่มนี้จะมีพัฒนาการทางภาษาที่ค่อนข้างช้าอยู่เหมือนกัน และนอกจากนี้ยังมีความบกพร่องทางด้านสังคมตามไปด้วย ดังนั้นหากลูกของเราจัดอยู่ในกลุ่มเด็กออทิซึม คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะคอยดูแลและขอคำแนะนำจากคุณหมอ เพื่อที่เราจะได้รู้วิธีการรับมือ และดูแลเด็ก ๆ ได้ถูกวิธีนะคะ

เคล็ดลับวิธีดูแลเด็ก ๆ ที่มีพัฒนาการทางภาษาช้า

พัฒนาการทางภาษาช้า

1. เลี้ยงดูด้วยความใส่ใจ

เมื่อไหร่ที่เรารู้ตัวว่าเด็ก ๆ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าเมื่อเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่เด็ก ๆ ให้มากขึ้น พยายามเล่านิทาน หรือพูดคุยกับลูกให้มากขึ้น วิธีการดูแลแบบนี้ก็อาจจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก ๆ ได้ดีเช่นเดียวกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : 6 วิธีเพิ่มความสูงให้ลูก วิธีง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม

2. ตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ร่วมด้วย

หลังจากที่เรารู้แล้วว่าเด็ก ๆ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้ากว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะพาเด็ก ๆ ไปตรวจหาสิ่งต่าง ๆ ร่วมด้วย เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า นอกจากเด็ก ๆ มีพัฒนาการทางภาษาที่ช้าแล้ว เขายังมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาหรือไม่ และเราจะได้รีบทำการรักษาในขั้นตอนของแพทย์ต่อไปนะคะ

3. ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็ก ๆ ซึ่งเราอาจจะเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ยกตัวอย่างเช่น การทำกิจกรรมต่าง ๆ กับครอบครัว หรือทำอะไรก็ได้ที่เด็ก ๆ สามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย และที่สำคัญจะต้องเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้กับเด็ก ๆ ตามไปด้วยนะคะ

สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังพบเจอกับปัญหาลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ช้า อย่าพึ่งเป็นกังวลใจไปนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เรารู้จักวิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้ลูกของเรามีพัฒนาการทางภาษาที่เป็นปกติเหมือนกับเด็กคนอื่น ๆ ได้เลยค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เคล็ดลับ! ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยวิธีง่าย ๆ เริ่มต้นจากอะไร?

ลูกชอบ “กลั่นแกล้ง” เพื่อน สอนลูกอย่างไรไม่ให้รังแกผู้อื่น?

4 เทคนิค สอนลูกทำงานบ้าน มีประโยชน์ต่อพัฒนาการลูกน้อย

ที่มา : 1, 2