สำหรับช่วงอายุการ ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ หรือเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ช่วงนี้ทารกในครรภ์ก็ยังคงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเริ่มสามารถได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้แล้ว ส่วนอาการแพ้ท้องของคุณแม่นั้นก็เริ่มดีขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันค่ะ ว่าสำหรับช่วง ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ นั้นจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงร่างกายของคุณแม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง มาตามไปดูพร้อมกันเลย
พัฒนาการของทารกในครรภ์ 15 สัปดาห์
- ทารกในครรภ์มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 4.5 นิ้ว หนักประมาณ 80 กรัม
- ส่วนขาของทารกยาวกว่าส่วนแขน และสามารถเคลื่อนไหวขยับข้อต่อของแขนขาได้ อวัยวะต่าง ๆ เริ่มเติบโตขึ้น
- ช่วงนี้เริ่มสร้างกระดูกเล็ก ๆ สามชิ้นในหูชั้นใน ดังนั้นช่วงนี้ทารกในครรภ์จะได้ยินเสียงคุณแม่แล้ว
- ทารกจะเริ่มมีคิ้วและผมให้เห็นชัดขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 1
ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ?
- มีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยกับการแพ้ท้องในช่วงไตรมาสแรก พลังของคุณแม่ฟื้นกลับมา แล้วอาจทำให้รู้สึกตื่นตัวเมื่ออยู่ในห้องนอนมากขึ้น แต่จากอาการอื่น ๆ ในสัปดาห์ที่ 15 ที่อาจเกิดขึ้น อาจทำให้อาการนี้ไม่ได้จะเกิดขึ้นกับทุกคน
- เลือดกำเดาไหลง่าย อาการนี้จะเกิดจากเลือดกำเดาไหลจะมีปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นและช่องจมูกที่เปราะบางกว่าปกติ
- หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกคัดหน้าอก เนื่องจากหน้านั้นจะมีการขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นคุณแม่จะต้องสวมชุดชั้นในที่ออกแบบมาสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะจะดีที่สุด
- อาการเท้าบวม นั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะทำให้เอ็นในกระดูกเชิงกรานยืดขยาย รวมทั้งเท้าใหญ่ขึ้น หลังคลอดแล้วอาการบวมนั้นจะหายไป
- เหงือกบวม คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีอาการเหงือกบวม และมีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน สาเหตุมาจากการเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงเหงือกมากกว่าปกติ ดังนั้นนอกจากคุณแม่จะทำการแปรงฟันวันแล้ว จะต้องใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยกำจัดเศษอาหารตกค้าง และทานอาหารที่มีแคลเซียมเพื่อบำรุงให้ฟันแข็งแรง
- ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ช่วงนี้คุณแม่จะมีผิวพรรณที่เปล่งปลั่งขึ้น สิวอักเสบบนใบหน้านั้นจะหายและจางลง คุณแม่สามารถบำรุงผิวได้ตามปกติ แต่ก่อนจะทำการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมาใช้นั้น คุณแม่ควรที่จะต้องตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นดูก่อนว่า ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นั้นมีสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้หรือไม่ ถ้ามีแนะนำให้หลีกเลี่ยง คุณแม่ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อผิวจะดีที่สุด
- อาการแพ้ท้อง ช่วงนี้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะไม่ค่อยแพ้ท้องแล้ว
เคล็ดลับดูแลตัวเองสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์
ชุดชั้นใน
- เนื่องจากคุณแม่มีหน้าอกที่ขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้นควรเลือกใส่ชุดชั้นในที่เหมาะสำหรับคนท้อง เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณแม่ไม่รู้สึกอึดอัดเวลาใส่
ดื่มน้ำเปล่า
- การดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ฟลูออไรด์ในน้ำ สร้างฟันและเคลือบฟันให้แข็งแรง ดังนั้นคุณแม่ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อร่างกาย เพื่อที่ร่างกายจะได้สดชื่นอยู่เสมอ
ดูแลสุขภาพช่องปาก
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน และทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง
ทานอาหารเพื่อสุขภาพ
- คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ที่หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ และต้องทานในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำ ที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เหล็ก วิตามิน เป็นต้นเพื่อที่จะได้ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ให้แข็งแรง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์
- สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในเรื่องของอาหารนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องระมัดระวัง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้ ดังนั้นอาหารส่วนใหญ่ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงก็จะเป็นอาหารจำพวก ที่ไม่สุกหรือกึ่งดิบ หรือของหมักดอง ส่วนใหญ่ที่ผ่านกรรมวิธีการทำที่ไม่สะอาด อาหารที่มีน้ำตาลมาก หรือแอลกอฮอล์เพราะอาหารเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกในครรภ์ได้
ออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายจะช่วยให้อวัยวะการทำงานภายในร่างกายของคุณแม่แข็งแรง และอาจส่งผลดีต่อร่างกายหลังคลอดอีกด้วยค่ะ แต่คุณแม่ควรที่จะต้องออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและพอดีด้วยนะคะ แนะนำให้ออกกำลังกายง่าย ๆ อย่างเช่น ว่ายน้ำ พิลาทิส หรือโยคะ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 14 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลเกี่ยวกับการ ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ ที่เรานำมาฝากกันวันนี้ สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และใกล้เริ่มเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ ก็สามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับอาการเหล่านี้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นคุณแม่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ทั้งตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกในท้องจะได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงกันทั้งคู่ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 15 สัปดาห์หรือไตรมาสที่ 2 กันนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เรียนรู้ครรภ์ 16 สัปดาห์ พัฒนาการทารกที่ก้าวกระโดดกว่าที่คิด
ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2