โครโมโซมผิดปกติ เกิดขึ้นได้อย่างไร? สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง มาดูกัน

เมื่อพูดถึงเรื่อง โครโมโซมผิดปกติ สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกันว่า สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้น โด 

 1483 views

เมื่อพูดถึงเรื่อง โครโมโซมผิดปกติ สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างเป็นกังวลใจอยู่เหมือนกันว่า สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากอะไร และถ้าเกิดขึ้นเราควรรับมือกับสิ่งเหล่านี้กันอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่าเรามาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ เรื่อง โครโมโซมผิดปกติ ไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ



ภาวะความผิดปกติของโครโมโซมของทารกที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง?

หากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบทำให้ลูกของเรามีโครโมโซมที่ผิดปกติขึ้นมาได้ วันนี้เราได้นำคำตอบมาฝากทุกคนให้ได้รู้กันแล้ว โดยจะประกอบด้วยภาวะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตรวจดาวน์ซินโดรม มีวิธีการอย่างไรบ้าง? ทารกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือเปล่า


โครโมโซมผิดปกติ


1. พาทัวซินโดรม (Patau Syndrome)

มาดูกันที่ความผิดปกติของโครโมโซมอันแรก ซึ่งมีชื่อว่า “พาทัวซินโดรม” ความผิดปกตินี้จะเกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่งด้วยกัน ซึ่งหากลูกของเรามีความผิดปกติในลักษณะนี้ขึ้นมา ก็จะส่งผลทำให้เด็ก ๆ มีอาการหูหนวก ศีรษะเล็ก สมองพิการ หรือปากแหว่งเพดานโหว่ขึ้นมาได้เลย ซึ่งต้องบอกว่าหากทารกในครรภ์มีความผิดปกติขั้นรุนแรงก็อาจจะส่งผลทำให้เด็ก ๆ เสียชีวิตได้ค่อนข้างง่ายเหมือนกันค่ะ



2. เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward Syndrome)

ต่อมาเป็นความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 ที่เกินมา 1 แท่ง หากลูกของเรามีความผิดปกติของโครโมโซมในลักษณะแบบนี้ ต้องบอกว่าค่อนข้างส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ที่รุนแรงอยู่เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้ทารกในครรภ์ของเรามีการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างช้า มีปัญหาทางด้านสติปัญญา อีกทั้งยังส่งผลทำให้ทารกของเรามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อีกด้วย



3. ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม (Klinefelter Syndrome)

หากทารกเพศชายมีโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ โดยมีโครโมโซม X เกินมาเป็นจำนวน 1 แท่ง สิ่งนี้ก็จะส่งผลทำให้ลูกของเรามีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ทารกมีแขนขาที่ยาวกว่าปกติ มีหน้าอกที่ค่อนข้างใหญ่ หรือบางคนก็อาจจะมีอวัยวะเพศชายที่เล็กกว่าปกตินั่นเอง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบทางด้านสติปัญญาของเด็ก ๆ อีกด้วย อาทิเช่น มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นต้นค่ะ



4. เทอร์เนอร์ซินโดรม (Turner Syndrome)

“เทอร์เนอร์ซินโดรม” เป็นหนึ่งในความผิดปกติของโครโมโซมเพศหญิง ที่มีโครโมโซม X ขาดไปเป็นจำนวน 1 แท่ง และหากเมื่อไหร่ที่ทารกของเรามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับโครโมโซม สิ่งนี้ก็จะทำให้ลูกสาวของเรามีรูปร่างที่ค่อนข้างเตี้ย ปลายแขนกางออกอย่างเห็นได้ชัด เพดานปากสูงกว่าปกติ อีกทั้งยังทำให้ไม่มีประจำเดือน หรือมีบุตรยากขึ้นมาได้



วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมทำอย่างไรดี?

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากที่จะให้ลูกของเราเกิดมาเป็นเด็กที่พิการ หรือมีความผิดปกติทางด้านร่างกาย หรือสิ่งต่าง ๆ เพราะฉะนั้นหากใครที่ค่อนข้างกังวลในเรื่องนี้ และอยากรู้ว่าเราควรมีวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกในท้องของเราเกิดความปกติของโครโมโซมอย่างไรบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการป้องกันไปพร้อมกันเลยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำหนักทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ดี? ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ไหมมาดูกัน



โครโมโซมผิดปกติ


1. การรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ

สิ่งแรกที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ เลยคือเรื่องของอาหารการกิน อย่างที่รู้กันดีว่าในช่วงของการตั้งท้อง คุณไม่ควรที่จะต้องดูแลเรื่องของการรับประทานอาหารกันเป็นประจำอยู่แล้ว นอกจากเราจะต้องดูปริมาณการกิน หรือแม้แต่สารอาหารสำคัญชนิดต่าง ๆ ไปแล้วนั้น สิ่งสำคัญอีกอย่างเลยคือ คุณแม่อาจจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของเราตามไปด้วย โดยอาจจะต้องทำการปรึกษาคุณหมอด้วยค่ะว่า เราควรรับประทานอาหาร หรือเน้นอาหารประเภทไหนมากเป็นพิเศษหรือเปล่า เพื่อที่เราและเจ้าตัวเล็กจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุด



2. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

สำหรับคุณแม่คนไหนที่มีการดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีการสูบบุหรี่อยู่บ้าง ต้องบอกเลยค่ะว่าเมื่อเราเข้าสู่ช่วงการตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ไปก่อนนะคะ เพราะเมื่อไหร่ที่เราเผลอดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เข้าไป ไม่ว่าสิ่งนี้จะมีปริมาณมาก หรือน้อย หากทารกได้รับเข้าไป บอกเลยค่ะว่าค่อนข้างส่งผลอันตรายมาก ๆ เลย ดีไม่ดีก็อาจจะทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติของโครโมโซมขึ้นมาได้ง่ายเลย



3. ทานวิตามินบำรุง

นอกเหนือจากที่คุณแม่รับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ไปแล้วนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างเลยคือ เราอาจจะต้องทานวิตามินบำรุงเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เพราะอาหารบางชนิดที่เราทานเข้าไปนั้น อาจจะไม่ได้รับสารอาหารที่สำคัญได้อย่างเต็มเปี่ยม ดังนั้นคุณแม่ก็อาจจะหันมาทานวิตามินในทุก ๆ เพื่อส่งเสริมในเรื่องของสุขภาพ ให้เราและลูกในท้องมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ตามไปด้วยนะคะ



4. การออกกำลังกาย

การที่คุณแม่ออกกำลังกาย หรือชอบเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว สิ่งนี้ก็ค่อนข้างทำให้คุณแม่และลูกในท้องมีสุขภาพที่แข็งแรงได้มากเหมือนกัน และนอกจากคุณแม่และทารกจะมีสุขภาพที่ดีแล้วนั้น สิ่งนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ให้กับคุณแม่อีกด้วย และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเลยคือ ช่วยทำให้คุณแม่คลอดเจ้าตัวเล็กได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ ยังไงอย่าลืมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีกันนะคะ โดยเราอาจจะเลือกออกกำลังกายที่เป็นท่าสำหรับคนท้องได้เลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทำยังไงดี?สุขภาพร่างกายแข็งแรงทั้งแม่และลูก



5. วางแผนการตั้งครรภ์

หากเมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้ว่าเรากำลังตั้งท้องอยู่ในตอนนี้ เราไม่ควรที่จะนิ่งเฉย แต่เราควรที่จะรีบทำการวางแผน เพื่อที่จะได้ทำการฝากครรภ์ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่เรารีบทำการฝากครรภ์ คุณหมอก็จะได้ทำการตรวจสิ่งต่าง ๆ ภายในร่างกายของเรา เพื่อดูว่าคุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่เป็นปกติหรือเปล่า หรือมีสิ่งไหนที่ควรต้องระวังมากเป็นพิเศษไหม ในทางกลับกันหากคุณแม่ไม่รีบทำการฝากครรภ์ และค่อนข้างที่ปล่อยปละละเลยเรื่องเหล่านี้ไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ทารกในท้องของเรามีภาวะเสี่ยงอันตราย หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้ง่าย ๆ เลยล่ะค่ะ


โครโมโซมผิดปกติ


สิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ ความผิดปกติของโครโมโซม แน่นอนว่ามันอาจเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้ แต่ใช่ว่าเราจะไม่มีวิธีการป้องกันอะไรเลย เพราะฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่วางแผนจะมีเจ้าตัวเล็กในเร็ว ๆ นี้ หากเราอยากให้ลูกของเราเติบโตมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรง เราก็อาจจะทำการปรึกษาคุณหมอ รวมถึงตรวจเช็กร่างกายเพื่อตรวจความพร้อมในการมีบุตรได้เลยนะคะ เพราะการที่เรามีความพร้อมในหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านร่างกาย สิ่งนี้ก็เป็นอะไรที่ค่อนข้างส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพของคุณแม่ รวมถึงสุขภาพของลูกน้อยตามไปด้วยนั่นเองค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

มดลูกบีบตัว เกิดจากอะไร? เรื่องใกล้ตัวที่คุณแม่ควรระวัง!

อาการท้องแข็ง เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!

แม่ต้องรู้! อาการแพ้ท้องลูกชาย มีลักษณะอย่างไร? มาดูกัน

ที่มา : 1, 2