คุณแม่ควรรู้! วิธีนับอายุครรภ์ นับอย่างไรให้ถูกต้องและแม่นยำ

คำถามที่แม่ท้อง มักจะได้ยินบ่อย ๆ ขณะตั้งครรภ์ คือ ท้องได้กี่เดือนแล้ว ? ใกล้จะคลอดหรือยัง ? แล้วถ้าเป็นคุณแม่มือใหม่ที่พึ่งตั้งครรภ์ล่ะ จะตอ 

 1369 views

คำถามที่แม่ท้อง มักจะได้ยินบ่อย ๆ ขณะตั้งครรภ์ คือ ท้องได้กี่เดือนแล้ว ? ใกล้จะคลอดหรือยัง ? แล้วถ้าเป็นคุณแม่มือใหม่ที่พึ่งตั้งครรภ์ล่ะ จะตอบคำถามนี้ได้อย่างไร ? เพราะตัวเองก็ไม่รู้วิธีนับด้วยสิ วันนี้ Mamastory มี วิธีนับอายุครรภ์ มาบอก นับอย่างไรจะแม่นยำที่สุด มีวิธีไหนบ้าง ตามไปอ่านกันเลย 


วิธีนับอายุครรภ์

การนับอายุครรภ์คืออะไร

เป็นวิธีการคำนวณอายุครรภ์ของคุณแม่ ว่าตั้งครรภ์มาเป็นระยะเวลาเท่าไหร่แล้ว อีกเรื่องที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญเลยทีเดียว เพราะคุณแม่จะสามารถทราบพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ และคุณหมอก็จะสามารถทำการติดตามการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งคุณแม่อาจจะสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จากการนับอายุครรภ์ได้ค่ะ 


อายุครรภ์แบ่งอย่างไรได้บ้าง

แม่ท้อง จะตั้งครรภ์ทั้งหมด 3 ไตรมาสด้วยกัน รวมแล้ว ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน โดยแบ่งได้เป็น 3 เดือนต่อ 1 ไตรมาส ก็จะครบ 9 เดือนของการตั้งครรภ์พอดี โดยการอายุครรภ์แบ่งเป็นรายสัปดาห์ ได้ดังนี้ 

  • เดือนที่ 1 เท่ากับสัปดาห์ที่ 1-4 
  • เดือนที่ 2 เท่ากับสัปดาห์ที่ 5-8
  • เดือนที่ 3 เท่ากับสัปดาห์ที่ 9-13
  • เดือนที่ 4 เท่ากับสัปดาห์ที่ 14-17
  • เดือนที่ 5 เท่ากับสัปดาห์ที่ 18-21
  • เดือนที่ 6 เท่ากับสัปดาห์ที่ 22-26
  • เดือนที่ 7 เท่ากับสัปดาห์ที่ 27-30
  • เดือนที่ 8 เท่ากับสัปดาห์ที่ 31-35
  • เดือนที่ 9 เท่ากับสัปดาห์ที่ 36-40 

นับอายุครรภ์ ทำอย่างไร

วิธีนับอายุครรภ์

เพื่อความละเอียดในการนับอายุครรภ์ ส่วนใหญ่จะนับเป็นหน่วย สัปดาห์ เช่น ตั้งครรภ์มาแล้ว 11 สัปดาห์ และเศษของสัปดาห์ ให้นับเป็นวัน เช่น ตั้งครรภ์มาแล้ว 11 สัปดาห์ 3 วัน โดยระยะเวลาของการตั้งครรภ์ทั้งหมดของคุณแม่จะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ ลูกน้อยถึงจะออกมาลืมตาดูโลกค่ะ  มีวิธีนับที่ถูกต้องและแม่นยำ 2 วิธี ได้แก่ 

วิธีนับอายุครรภ์ จากวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย

สำหรับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ การใช้วิธีนับจากวันที่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุดก็ไม่ใช่เรื่องยาก และยังแม่นยำด้วยนะ โดยเราจะเริ่มนับจากวันแรก ที่ประจำเดือนมารอบล่าสุดเป็นวันแรกของการตั้งครรภ์ เพราะถือเป็นวันที่มีการปฏิสนธิขึ้น ตัวอย่างเช่น ประจำเดือนมาวันแรก วันที่ 1 มกราคม 2565 ซึ่งเป็นรอบล่าสุดที่ประจำเดือนมา ดังนั้น วันที่ 1 มกราคม 2565 จะเป็นวันแรกของการตั้งครรภ์ นั่นเองค่ะ 

การอัลตราซาวนด์ หรือใช้คลื่นเสียงความถี่สูง

วิธีนับอายุครรภ์ โดยการอัลตราซาวนด์ หรือใช้คลื่นความถี่สูงวัดนั้น สำหรับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คุณแม่จะต้องเลือกใช้วิธี ไปหาคุณหมอเพื่อให้แพทย์ใช้คลื่นความถี่สูง หรือ อัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินถึงการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่า Gestational Sac หรือเพื่อวัดขนาดตัวของทารกในครรภ์ เพื่อประมาณอายุครรภ์ เพราะโดยทั่วไปแล้วพัฒนาการของทารกในครรภ์ของคุณแม่ จะใกล้ ๆ กันค่ะ มีความแม่นยำเช่นเดียวกัน บวก ลบ 3-5 วันค่ะ 

นอกจากนี้แล้วการใช้วิธีอัลตราซาวนด์ ยังช่วยบ่งบอกในเรื่องอื่น ๆ ได้ เช่น ตั้งครรภ์แฝดหรือไม่ ตรวจดูสุขภาพครรภ์ ภาวะแทรกซ้อน ท้องนอกมดลูก หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในแม่ท้องได้ด้วยนะคะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : อัลตราซาวนด์ สำคัญอย่างไร เหตุผลที่คุณแม่ท้องควรตรวจทุกไตรมาส


นับอายุครรภ์ vs กำหนดคลอด

วิธีนับอายุครรภ์

อายุครรภ์ และวันกำหนดคลอดไม่ใช่อย่างเดียวกัน เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่าตั้งครรภ์มานานเท่าไหร่แล้ว คุณแม่ก็คงอยากจะทราบว่าลูกน้อยมีกำหนดคลอดในช่วงไหน ซึ่งแม่ท้องสามารถคำนวณวันกำหนดคลอด (Expected date of delivery) ได้ง่าย ๆ เลย ดังนี้ 

วิธีแรกนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด + 7 วัน + 9 เดือน

ตัวอย่างเช่น คุณแม่ประจำเดือนมาวันแรก วันที่ 1 มกราคม 2565 + 7 วัน + = วันที่ 8 มกราคม 2565 และ + 9 เดือน ดังนั้น วันกำหนดคลอดแบบคร่าวของคุณแม่จะอยู่ราว ๆ วันที่ 8 ตุลาคม 2565 นั่นเอง

วิธีที่สองนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด – 3 เดือน + 7 วัน

ตัวอย่างเช่น คุณแม่ประจำเดือนมาวันแรก วันที่ 1 มกราคม 2565 – 3 เดือน = วันที่ 1 ตุลาคม 2565 และ + 7 วัน ดังนั้น วันกำหนดคลอดแบบคร่าวของคุณแม่จะอยู่ราว ๆ วันที่ 8 ตุลาคม 2565 นั่นเองค่ะ 

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่แรก หรือวิธีที่สอง ก็จะได้วันกำหนดคลอดที่ตรงกัน ดังนั้นเลือกนับได้ตามสะดวกเลยนะคะ 
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 1 – 42 สัปดาห์ ติดตามอาการคนท้อง และพัฒนาการทารกในครรภ์


แม่ท้องควรระวัง

โดยปกติแล้วทารกจะอยู่ในครรภ์มารดา 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน สามารถบวก ลบได้เล็กน้อยค่ะ แต่ถ้าหากว่าทารก อยู่ในครรภ์ของคุณแม่นานเกินกว่านี้ หรือคุณแม่มีท่าทีที่จะคลอดก่อนกำหนด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับคุณแม่หรือทารก ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ เพื่อให้คุณหมอประเมินความเสี่ยงต่อไปค่ะ 

เป็นอย่างไรบ้างคะ ได้เรียนรู้ วิธีนับอายุครรภ์ กันไปแล้ว ไม่ยากเลยใช่ไหม อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มสงสัยแล้วว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่ ให้รีบไปซื้อที่ตรวจครรภ์ ตรวจก่อนเพื่อความแน่ใจเป็นอันดับแรก เมื่อทราบแล้วว่าท้อง คุณแม่มีหน้าที่ต้องไปฝากครรภ์ เพื่อติดตามการตั้งครรภ์ รวมถึงตรวจสุขภาพร่างกายของแม่ท้องต่อไป ซึ่งในกระบวนการฝากครรภ์ คุณหมอก็จะทำการประเมินอายุครรภ์ของคุณแม่ให้อยู่แล้ว โดยที่คุณแม่ไม่ต้องมานั่งเดา หรือนับเองเลยค่ะ 


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

โยคะคนท้อง ดีต่อคุณแม่อย่างไร ช่วยให้คลอดลูกง่ายจริงไหม?

ธัญพืช อาหารบำรุงคนท้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูกน้อย

ท้องผูกหลังคลอด เกิดจากอะไร คุณแม่รับมือการอาการนี้ได้อย่างไรบ้าง?

ที่มา : 1 2