ปวดอุ้งเชิงกราน อาการขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในพัฒนาการตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องควรรู้ !

เพราะในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจมีอาการ ปวดอุ้งเชิงกราน ที่เป็นหนึ่งในความลำบากระหว่างวัน ซึ่งการปวดนี้ในผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการแต 

 1511 views

เพราะในช่วงที่ตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจมีอาการ ปวดอุ้งเชิงกราน ที่เป็นหนึ่งในความลำบากระหว่างวัน ซึ่งการปวดนี้ในผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันไป วันนี้ Mamastory จะพาไปดูอาการนี้ให้มากกว่าเดิม อีกทั้งการปวดนี้จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือไม่ ไปดูกันค่ะ



ปวดอุ้งเชิงกราน คืออาการอะไร ?

เป็นหนึ่งในอาการปวดท้องน้อยระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นอาการปวดที่เกิดจากการแข็งตัวของข้อต่ออุ้งเชิงกราน มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงหลังคลอด เมื่อคุณแม่อยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เช่น ยืนหรือนั่งนาน ๆ แล้วมีอาการปวดหลัง เอว ก้นกบ จนถึงบริเวณอุ้งเชิงกราน สัญญาณเหล่านี้คืออาการปวดเรื้อรัง อาจรุนแรงถึงขั้นหมอนรองกระดูกเสื่อมได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : รู้หรือไม่! นับลูกดิ้น นับอย่างไร? เพื่อให้รู้ว่าลูกปลอดภัย มาดูไปพร้อมกัน



อาการปวดอุ้งเชิงกราน

คุณแม่ตั้งท้องแต่ละคน จะมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานที่แตกต่างกันไป โดยที่ความเจ็บปวดบางคนอาจจะมีมาก หรือมีน้อยต่างกันไป โดยอาการที่เห็นได้บ่อย ได้แก่

  • ปวดกระดูกหัวหน่าวที่ด้านหน้าตรงกลาง
  • ปวดหลังช่วงล่าง ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
  • ปวดบริเวณระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก
  • ขยับ หรือแยกขาออกจากกันยากขึ้น



ปวดอุ้ง​เชิงกราน



สาเหตุที่ปวดอุ้งเชิงกราน

โดยอาการปวดอุ้งเชิงกราน ส่วนมากมักพบในแม่ท้องที่มีอายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป เพราะเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้น มดลูก และน้ำหนักลูก จะทำให้ท้องของแม่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งกระดูกสันหลังที่ยึดติดกับกระดูกเชิงกราน จะทำงานหนักขึ้นเพื่อป้องกันร่างกาย ไม่ให้เสียความสมดุล เมื่อการทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดร้าวได้



สาเหตุหลักที่ทำให้ปวดอุ้งเชิงกราน

1. น้ำหนักเพิ่มช่วงตั้งครรภ์

โดยทั่วไป แม่ท้องมักมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ควรเกิน 10-15 กิโลกรัม แต่ถ้าหนักเกินกว่านั้น อาจทำให้กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานออกแรงมากขึ้น ในการพยุงน้ำหนักของแม่ลูก จนอาจทำให้ปวดอุ้งเชิงกรานได้



2. แม่ท้องที่มีอายุมาก

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ อายุมากเกินกว่า 35 ปีขึ้นไป อาจทำให้ร่างกายปวดอุ้งเชิงกรานได้ เนื่องจากสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของร่างกายลดน้อยลง กล้ามเนื้อส่วนที่ต้องใช้พยุงน้ำหนัก ไม่สามารถทำงานได้ดี



3. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีระดับสูงขึ้น

ในระหว่างการตั้งครรภ์ 5-6 เดือนเป็นต้นไป ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว ในการเตรียมยืดขยายระหว่างการคลอด ที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ ที่ยึดกับอุ้งเชิงกรานไว้ ทำให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และตามมาด้วยอาการปวด



4. พื้นฐานสุขภาพเดิมของแม่ไม่ดี

ถ้าก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อที่ส่วนแข็งแรง จะทำให้อาการปวดอุ้งเชิงกรานมีน้อยกว่า คุณแม่ที่มีน้ำหนักมาก หรือกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง



ปวดอุ้ง​เชิงกราน



5. พฤติกรรมระหว่างการตั้งครรภ์

ท่านั่ง นอน ยืน ล้วนมีผลถึงอุ้งเชิงกรานทั้งหมด หากคุณแม่ท้องโตแล้ว ยังมีพฤติกรรมก้ม ยกของ หรือใด ๆ ที่ทำให้ร่างกายออกแรงเยอะ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนเชิงกราน ถูกดึงรั้งจนเกิดอาการปวดเพิ่มขึ้นกว่าเดิมค่ะ



6. ชอกช้ำจากการคลอด

กรณีคุณแม่ที่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายคน กล้ามเนื้อจะหย่อนยานมากกว่าคุณแม่ท้องแรก เมื่อต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงก็จะปวดรุนแรง รวมไปถึงระหว่างการคลอดที่ทารกตัวใหญ่ ก็จะส่งผลให้มีอาการปวดอุ้งเชิงกรานหลังคลอดได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดสะโพกร้าวลงขา สัญญาณอันตรายของแม่ท้องหรือไม่ บรรเทาได้อย่างไรบ้าง ? 



ปัจจัยที่ทำให้แม่ท้องปวดเชิงกรานมากขึ้น

  • การเดินนาน ๆ
  • การเดินเร็ว ๆ
  • การขึ้นลงรถ หรือเตียง
  • การพลิกตัวบนที่นอน
  • การนอนราบ
  • การนั่งยอง ๆ
  • การขึ้น-ลงบันได
  • การยืนขาเดียว เช่น เวลาแต่งตัว ใส่กางเกง
  • การเปลี่ยนท่าทาง จากนั่งเป็นยืน
  • การวิ่ง และการกระโดด



สำหรับคุณแม่บางคน อาจจะมีอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง ทั้งที่ผ่านเวลาคลอดมานานแล้ว เป็นเพราะกล้ามเนื้อที่ยืดขยายระหว่างตั้งครรภ์ ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดี จึงส่งผลต่อหมอนรองกระดูก ที่มีโอกาสกดทับเส้นประสาทได้ อีกทั้งเมื่อกระดูกต้องรับน้ำหนัก โดยที่ขาดกล้ามเนื้อในการช่วยพยุง ก็อาจเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุนได้ในเวลาต่อมา



ปวดอุ้ง​เชิงกราน



วิธีช่วยให้หายปวดเชิงกราน

  1. ประคบเย็นบริเวณที่ปวด ประมาณ 20 นาที ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
  2. ยืนตัวตรง หรือนั่งหลังตรงเสมอ
  3. ใช้เข็มขัดพยุงครรภ์
  4. เมื่อต้องเดินไกล ให้นั่งรถเข็นแทน
  5. เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรง
  6. เมื่อพลิกตัวบนที่นอน ควรรวบเข่าให้ชิดกัน
  7. เลี่ยงการใส่ส้นสูง



เพราะการตั้งครรภ์ เป็นหนึ่งในการเพิ่มน้ำหนักตัวเผื่อทั้งแม่และลูกในท้องอยู่แล้ว หากคุณแม่เริ่มต้นด้วยการคุมน้ำหนัก ไม่ให้ร่างกายเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานจนเกินไป ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการลดความเจ็บปวดได้ นอกจากนี้การบริหารอุ้งเชิงกราน ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ค่ะ



ที่สำคัญหากคุณแม่รู้สึกปวดรุนแรง และเป็นการปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะอาจจะเป็นอาการอื่น ๆ ได้เช่นกัน อาทิ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ที่สำคัญการพบสาเหตุอื่นก่อนการเรื้อรัง ย่อมปลอดภัยต่อคุณแม่ในก่อนการคลอดลูกค่ะ !



บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หมอนัดตรวจครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญไหม จำเป็นต้องไปให้ครบนัดหรือเปล่า ?

คนท้องช่วยตัวเอง ทำได้หรือไม่ ลูกจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ?

ทำไมท้องแล้วมี มูกปนเลือด ใช่มูกเลือดก่อนคลอดหรือเปล่า ? อันตรายไหม ?

ที่มา : 1