รู้หรือไม่! นับลูกดิ้น นับอย่างไร? เพื่อให้รู้ว่าลูกปลอดภัย มาดูไปพร้อมกัน

เมื่อทารกในครรภ์เริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่าเขาก็เริ่มที่จะมีการเคลื่อนไหว และเริ่มที่จะดิ้นมากขึ้น หากคุณแม่คนไหนที่อยาก 

 1434 views

เมื่อทารกในครรภ์เริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่าเขาก็เริ่มที่จะมีการเคลื่อนไหว และเริ่มที่จะดิ้นมากขึ้น หากคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่าการที่ทารกในครรภ์ดิ้นนั้น สิ่งนี้กำลังบ่งบอกอะไร แล้วเราควรมีวิธีการนับเวลาที่เขาดิ้นอย่างไรบ้าง เพื่อที่คุณแม่จะได้รู้ว่าเขายังปลอดภัยดีหรือไม่ เรามาดูวิธีการ นับลูกดิ้น ไปด้วยกันเลยนะคะ



นับลูกดิ้น


สิ่งสำคัญที่เราควรรู้เกี่ยวกับการนับลูกดิ้น

คุณแม่หลายคนก็คงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า ทำไมเราถึงต้องนับการดิ้นของลูก และสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร? แน่นอนค่ะว่าการที่เรานับระยะเวลาการดิ้นของลูกนั้น สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะบอกถึงเรื่องของสุขภาพ หรือสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของเด็ก ๆ ได้เหมือนกัน ซึ่งหากเมื่อไหร่ที่ลูกของเรามีระยะเวลาการดิ้นที่น้อยลง สิ่งนี้ก็อาจจะเกิดสิ่งไม่ดี หรือทำให้ลูกของเราตกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายขึ้นมาได้เหมือนกัน ซึ่งการดิ้นของลูกน้อยที่ค่อนข้างเป็นปกตินั้นจะอยู่ที่วันละ 1 – 2 ครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เช้า 1 ครั้ง และเย็น 1 ครั้ง เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการท้องแข็ง เกิดจากอะไร? หนึ่งในอาการที่คุณแม่ควรเฝ้าระวัง!



วิธีการนับลูกดิ้น ทำอย่างไรบ้าง?

สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากนับระยะเวลาการดิ้นของลูกว่า เราควรมีวิธีการนับอย่างไร หรือเราควรต้องดูยังไงว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้คือลักษณะอาการที่ลูกน้อยในครรภ์กำลังดิ้นอยู่ เอาเป็นว่าเรามาดูเรามาดูวิธีการนับกันเลยนะคะ




1. เริ่มนับเมื่อมีอายุครรภ์ในช่วงไตรมาส 3

การที่คุณแม่จะนับการดิ้นของลูกน้อยได้ แน่นอนว่าคุณแม่อาจจะเริ่มนับได้เมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ไปแล้ว เพราะในช่วงไตรมาสแรก ๆ ทารกในครรภ์อาจจะยังเป็นระยะตัวอ่อนที่ยังไม่ได้มีการเคลื่อนไหว จึงทำให้เราไม่สามารถที่จะนับระยะการดิ้นของเขาได้ แต่เมื่อไหร่ที่การเจริญเติบโตของเขาเริ่มที่จะมีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ สิ่งนี้ก็จะช่วยทำให้เราสามารถที่เช็กการดิ้นของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ



2. การนับการดิ้นของลูกในครรภ์จากการกระแทก

สิ่งที่จะทำให้คุณแม่นับการดิ้นของลูกน้อยได้นั้น อาจจะนับจากการกระแทกของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ โดยเมื่อไหร่ที่ทารกในครรภ์เริ่มมีการกระแทกเกิดขึ้น 1 ครั้ง เราก็อาจจะนับการดิ้นของลูกได้เป็นครั้งที่ 1 หากช่วงเวลาต่อมาลูกมีการกระแทกอีกครั้งเราก็อาจจะนับการดิ้นของลูกเป็นครั้งที่ 2 เป็นต้น และหากใน 1 ชั่วโมง ทารกในครรภ์มีการดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้ง คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจไปนะคะ เพราะสิ่งนี้อาจจะกำลังบ่งบอกเราได้ว่าลูกในท้องของเราเริ่มมีความผิดปกติเกิดขึ้น ที่สำคัญคุณแม่ควรรีบทำการไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดนะคะ



   

3. นับเวลาการดิ้นของลูกเป็นช่วงเวลาเดิม

นอกจากคุณแม่นับช่วงระยะเวลาการดิ้นของลูกเป็นวันแล้ว สิ่งสำคัญของการนับการดิ้นของลูกต่อมานั้น คุณแม่อาจจะต้องดูช่วงระยะเวลาการดิ้นของลูกน้อยตามไปด้วย ซึ่งการดิ้นของลูกน้อยนั้น อาจจะต้องเป็นช่วงระยะเวลาเดิมในทุก ๆ วัน หากเมื่อไหร่ที่ช่วงระยะเวลาการดิ้นของลูกน้อยได้เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่อาจจะต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อที่คุณหมอจะได้ทราบสาเหตุได้อย่างแน่ชัดว่า ทำไมทารกในครรภ์ถึงได้มีการดิ้นที่เปลี่ยนแปลงไป



สาเหตุที่ทำให้ลูกดิ้นน้อยลง สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไร?

สำหรับคุณแม่บางคนก็อาจจะยังไม่ทราบสาเหตุกันอย่างแน่ชัดว่า มีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกในท้องของเรามีอาการดิ้นที่น้อยลงได้ หากใครที่กำลังสงสัยอยู่แล้วล่ะก็ เรามาดูสาเหตุที่เกิดขึ้นไปพร้อมกันได้เลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : การเต้นระหว่างตั้งครรภ์ ดีอย่างไร? ช่วยทำให้ลูกน้อยสุขภาพแข็งแรงขึ้นจริงไหม



นับลูกดิ้น


1. ภาวะการขาดออกซิเจน

การที่ลูกในท้องของเรามีการดิ้นที่น้อยลงได้นั้น สิ่งนี้อาจจะมาจากการที่ทารกในครรภ์เกิดภาวะการขาดออกซิเจนก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อไหร่ที่ทารกในครรภ์มีการดิ้นน้อยลงเรื่อย ๆ อาทิเช่น ดิ้นเป็นเวลา 12 – 48 ชั่วโมง สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลไม่ดีต่อทารกในครรภ์ ดีไม่ดีอาจทำให้ลูกของเราเสียชีวิตขึ้นมาได้เลย ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจไปนะคะ



2. รกเสื่อมสภาพ

เมื่อไหร่ที่รกของเราเริ่มเสื่อมสภาพ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างที่จะส่งผลไม่ดีต่อทารกในครรภ์ได้มาก ๆ เลย เพราะสาเหตุเหล่านี้จะส่งผลทำให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหาร รวมถึงออกซิเจนได้น้อยลง และหากเป็นเช่นนี้แล้วล่ะก็ บอกเลยว่าการดิ้นของทารกในครรภ์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทางที่ดีหากคุณแม่กำลังรู้สึกว่าลูกในท้องของเราเริ่มมีการดิ้นที่น้อยลงกว่าปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจไปนะคะ เราควรรีบทำการพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเลยนะคะ



3. อาจมีรกพันบริเวณคอของทารก

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์มีอาการดิ้นที่น้อยลงได้นั้น นั่นคืออาจจะมีรกพันบริเวณคอของลูกน้อยได้ ซึ่งหากเกิดสาเหตุเหล่านี้ขึ้นแล้วล่ะก็ สิ่งไม่ดีที่จะตามมาอีกอย่างเลยคือ อาจทำให้ลูกในท้องของเราขาดออกซิเจน จนส่งผลทำให้เสียชีวิตได้เลย ดังนั้นคุณแม่ควรต้องระวังกันให้มาก ๆ เลยนะคะ หากเมื่อไหร่ที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด



เทคนิคการทำให้ลูกดิ้นมีวิธีอย่างไรบ้าง?

หากคุณแม่คนไหนที่อยากรู้ว่าเราควรมีเทคนิคหรือเคล็ดลับอะไรบ้างที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกของเราดิ้นขึ้นมาได้บ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ บอกเลยว่าทำตามได้ไม่ยากเลย
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีสังเกตคนท้องระยะแรก ดูยังไง? อาการแบบนี้เรียกว่าท้องหรือเปล่า


นับลูกดิ้น


1. การที่คุณแม่รับประทานอาหารว่าง หรือดื่มน้ำผลไม้

เมื่อไหร่ที่คุณแม่เริ่มดื่มน้ำผลไม้ หรือรับประทานผลไม้ สิ่งนี้ก็อาจจะเข้าไปช่วยกระตุ้นการดิ้นให้กับทารกในครรภ์ของเราได้เช่นเดียวกัน และที่ส่งผลดีอีกอย่างเลยคือ สิ่งนี้จะช่วยทำให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายได้เต็มที่อีกด้วย



2. การที่คุณแม่ลุกขึ้นเดินไปมา

เมื่อไหร่ที่คุณแม่ลุกหรือเดินไปมา เชื่อหรือไม่คะว่าสิ่งนี้ก็สามารถที่ช่วยทำให้ลูกในท้องของเรามีการดิ้นขึ้นมาได้เหมือนกัน หากใครที่อยากให้ลูกในท้องดิ้นตามปกติเหมือนเด็กคนอื่น ๆ คุณแม่ก็อาจจะลองเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดิน หรือออกกำลังกายนิดหน่อย สิ่งนี้ก็ค่อนข้างช่วยได้เยอะเลยล่ะค่ะ



3. พยายามพูดคุยกับลูก

การที่คุณพ่อหรือคุณแม่พูดคุยกับลูกเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ก็ค่อนข้างช่วยทำให้ลูกในท้องของเราดิ้นขึ้นมาได้ และนอกจากจะทำให้เขาดิ้นขึ้นมาได้แล้วนั้น สิ่งนี้ก็ค่อนข้างที่จะส่งเสริมในเรื่องของพัฒนาการลูกน้อยได้เหมือนกัน ยังไงอย่าลืมพูดคุยกับลูกน้อยบ่อย ๆ นะคะ



วิธีการนับการดิ้นของลูกน้อยที่เราได้นำข้อมูลมาฝากคุณแม่ให้ได้รู้กันแล้วนั้น ขอบอกเลยค่ะว่าเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรรู้และไม่ควรมองข้ามมาก ๆ หากใครที่อยากทราบว่าเราควรดูวิธีการนับ หรือมีสิ่งกระตุ้นอะไรที่ช่วยทำให้ลูกของเราดิ้นปกติ อย่าลืมเข้ามาอ่านกันนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการแพ้ท้องลูกสาว เป็นอย่างไร? หากมีอาการแบบนี้อยู่ จะได้ลูกสาวจริงไหม!

แม่ต้องรู้! อาการแพ้ท้องลูกชาย มีลักษณะอย่างไร? มาดูกัน

ท่าออกกำลังกายคนท้อง ทำยังไงดี?สุขภาพร่างกายแข็งแรงทั้งแม่และลูก

ที่มา : 1, 2