เมื่อเด็กเล็กเริ่มโตขึ้นพ้นผ่านจากช่วงทารก การดื่มนมจะเปลี่ยนจากนมผง นมชงไปเป็นนมกล่องแทน ด้วยเหตุนี้การมองหาสารอาหารในนมกล่องที่สำคัญ จึงต้องทำในการเลือกซื้อนมกล่องแต่ละครั้ง เนื่องจากการดื่มนมกล่องเป็นวิธีทางเลือกที่ทำให้เด็กเล็กวัยเรียนอนุบาล มีพัฒนาการเป็นไปตามเกณฑ์ และลดปัญหาการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโต
นมสำหรับเด็กวัยเรียนรู้ควรเป็นอย่างไร ?
เมื่อทารกเริ่มโตขึ้นเข้าสู่ช่วงเด็กเล็ก หรือในช่วงวัยอนุบาล จะเลิกกินนมผง และหันมาดื่มนมกล่องได้แล้ว โดยควรเป็นนมโคสดแท้ 100 % เท่านั้น และควรจะต้องเป็นนมรสจืดจะดีที่สุด เพราะนมรสหวานมักมีน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณมาก หากวัดนมในปริมาณ 100 มิลลิลิตรเท่ากัน พบว่า นมสด มีส่วนผสมของโปรตีน 3.3 กรัม, มีแคลเซียม 135 มิลลิลิตร, วิตามินเอ 71 มิลลิกรัม และวิตามินอี 0.22 มิลลิกรัม แต่ในนมปรุงแต่งรสชาติอื่น ๆ จะมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย นอกจากนี้ประโยชน์ของการทานนมจืด คือ การช่วยให้ลูกไม่ติดของหวาน ซึ่งในวัยเด็กของหวานถือว่าเป็นรสชาติที่เด็ก ๆ โปรดปรานเป็นพิเศษ ส่งผลให้เสี่ยงอ้วน หรือฟันผุได้นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีเด็ก ๆ ที่มีอาการแพ้นมวัวด้วย ทำให้ไม่สามารถดื่มนมโคแท้เหมือนเด็กทั่วไป ซึ่งสาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย หรืออาจมาจากพันธุกรรม แต่เด็ก ๆ เหล่านี้ยังสามารถดื่มนมได้ เพียงแต่ต้องเลือกนมชนิดอื่น ๆ มาทดแทน ตัวอย่างเช่น นมโปรตีนนมวัวย่อยละเอียด, นมจากเนื้อของไก่, นมข้าว หรือนมถั่ว เป็นต้น ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับอาการแพ้ของลูกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : รีวิว 6 นม UHT สำหรับเด็ก ยี่ห้อไหนดี ช่วยให้สารอาหารสมองดีที่สุด
วิดีโอจาก : Nurse Kids
ทำความรู้จักนมกล่องชนิดต่าง ๆ
ในปัจจุบันมีนมที่ถูกผลิตมาจากวัตถุดิบหลากหลายรูปแบบที่ได้รับความนิยม ทั้งนมจากพืช และนมจากสัตว์ ทำให้นอกจากนมวัวแล้ว ยังมีทางเลือกสำหรับการรับสารอาหารที่เหมาะสมอีกหลายแบบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเด็กแต่ละคนด้วย ได้แก่
- นมถั่วเปลือกแข็ง : ทำมาจากถั่วเปลือกแข็งชนิดต่าง ๆ ที่มีพลังงานไม่สูงมากนัก โดยจะมีไขมันอิ่มตัวต่ำ มีแคลเซียมพอประมาณ และมีโปรตีนค่อนข้างน้อยลง
- นมถั่วเหลือง : มักเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย นอกเหนือจากการดื่มนมโคแท้ โดยมีการปรับสูตรให้หลากหลาย มีโปรตีนค่อนข้างสูง บางสูตรมีแคลเซียมน้อย และบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของน้ำมันพืช หรือนมผงด้วย
- นมข้าวโพด : นมข้าวโพดถือเป็นนมธัญพืชที่มีไขมันน้อยที่สุด แต่บางยี่ห้ออาจมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง และมีโปรตีนต่ำ อาจไม่มีแคลเซียมเลย
นอกจากนี้ยังมีนมประเภทอื่น ๆ ที่เรามักเห็นวางขายกันทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ เช่น นมแพะ เป็นต้น ไม่ว่าผู้ปกครองจะให้ลูกทานนมชนิดไหน หากต้องการความปลอดภัย และความเหมาะสม ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนจะดีที่สุด เพราะเด็กบางคนอาจมีอาการแพ้ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้จนเกิดอันตรายได้
5 สารอาหารในนมกล่องที่สำคัญ
สารอาหารหลัก ๆ โดยทั่วไปในนมกล่องที่ปลอดภัย และเหมาะกับเด็กที่หย่าจากนมแม่ หรือนมผงแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องทานนมกล่องต่อก็ได้ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ เนื่องจากเด็กเล็กอาจปฏิเสธอาหารที่มีประโยชน์ เพราะรสชาติไม่อร่อย การดื่มนมกล่องจะช่วยทดแทนสารอาหารที่อาจขาดไปให้สมบูรณ์ขึ้นได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก หรือวัยกำลังเรียนรู้ ซึ่งนมกล่องมักมีสารอาหารที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น
1. วิตามินบี 12 (Vitamin B12)
คงไม่ใช่เรื่องดีหากลูกน้อยขาดวิตามินซี เนื่องจากจะทำให้มีความเสี่ยงการเกิดภาวะโลหิตจาง หรือเซลล์เม็ดเลือดแดงโตมากกว่าปกติ จนจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำลง วิตามินบี 12 เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทำงานของระบบประสาท และสมองของเด็ก สำหรับเด็กที่เริ่มทานนมกล่องโดยปกติจะเข้าโรงเรียนแล้ว การที่ต้องอยู่ในห้องเรียน และเป็นวัยที่ต้องปรับตัวเรียนรู้ การให้ลูกวัยนี้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอต่อความต้องการจึงสำคัญมาก
2. วิตามินบี 2 (Vitamin B2)
สำหรับวิตามินบี 2 สามารถช่วยให้ร่างกายได้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมันมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวหนัง และเส้นผมดูมีสุขภาพดี และลดโอกาสในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารในอนาคต หากเด็ก ๆ ขาดวิตามินบี 2 จะทำให้มีความเสี่ยงโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก หรืออาการมีแผลที่มุมปาก ริมฝีปากแห้งแตก รวมถึงทำให้สายตามีปัญหา เช่น มีอาการระคายเคืองตา, ไม่กล้าสู้แสงสว่าง หรือมองไม่ชัด เป็นต้น
3. แคลเซียม (Calcium)
สำหรับเด็กเล็กนั้นนอกจากพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และการเรียนรู้แล้ว สิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือ พัฒนาการด้านร่างกาย โดยเฉพาะกระดูก และกล้ามเนื้อ เพราะแคลเซียมมีส่วนสำคัญที่จะช่วยในกระบวนการสร้างกระดูก และฟันที่แข็งแรง หากคุณพ่อคุณแม่คนไหน อยากให้ลูกตัวสูง ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ ด้วยการเลือกนมที่มีแคลเซียมสูง สำคัญต่อความแข็งแรงของร่างกาย
บทความที่เกี่ยวข้อง : DHA กับ 3 คุณประโยชน์ที่มากกว่าแค่พัฒนาสมอง และดวงตา
4. ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ และยังเป็นโครงสร้างสำคัญของกระดูก และฟัน มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับแคลเซียม หากลูกน้อยขาดฟอสฟอรัส จะส่งผลให้กระดูกของลูกมีปัญหา คล้ายคลึงกับการขาดแคลเซียม ทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัสเป็นสิ่งที่คู่กัน และทำงานได้ดีเมื่อ 2 สารอาหารนี้มีเพียงพอในร่างกาย
5. ไอโอดีน (Iodine)
ไอโอดีนถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้มีหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกาย รวมถึงสมอง การขาดไอโอดีนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็ก หากไอโอดีนไม่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดอันตราย หรือโรคต่าง ๆ ในเด็กได้ เช่น โรคคอพอก, พัฒนาการสมองไม่สมบูรณ์, มีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว, ไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นต้น
สารอาหารในนมกล่องเป็นหนึ่งในทางเลือกการรับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่จะไม่สำคัญ หนูน้อยยังคงต้องทานผักผลไม้ และเนื้ออย่างพอดีอยู่ เพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมวัย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
นมอัลมอนด์ นมทางเลือก เปี่ยมด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ
ลูกน้อย “แพ้นมวัว” ทำไงดี ให้ลูกกินนมอะไรแทนได้บ้าง ?