สอนลูกเมื่อเพื่อนไม่คบ ทำอย่างไร? พร้อมวิธีการรับมือ!

หนึ่งในปัญหาที่ชอบเกิดขึ้นสำหรับเด็ก ๆ นั่นคือ เพื่อนไม่คบ หรือไม่มีคนเล่นด้วย แน่นอนว่าเมื่อลูกของเราเริ่มโตขึ้น เขาก็เริ่มที่จะได้เข้าส 

 1362 views

หนึ่งในปัญหาที่ชอบเกิดขึ้นสำหรับเด็ก ๆ นั่นคือ เพื่อนไม่คบ หรือไม่มีคนเล่นด้วย แน่นอนว่าเมื่อลูกของเราเริ่มโตขึ้น เขาก็เริ่มที่จะได้เข้าสังคมที่กว้างขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ พบเจอกับปัญหาเหล่านี้ได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะรู้ว่าสาเหตุที่ลูกของเราไม่มีเพื่อนคบเกิดจากอะไรบ้าง ละเราควรแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ยังไง มารู้วิธีการ สอนลูกเมื่อเพื่อนไม่คบ ทำอย่างไร? กันเลยดีกว่าค่ะ

สาเหตุที่เพื่อนไม่คบเกิดจากอะไรบ้าง?

การที่ลูกของเราไม่มีเพื่อนคบ หรือไม่มีเพื่อนเล่น แน่นอนว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดจากพฤติกรรมลูกของเราก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูสาเหตุไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าค่ะว่า เกิดจากอะไรบ้าง
บทความที่เกี่ยวข้อง : เทคนิค! ฝึกลูกให้เป็น เด็กกระตือรือร้น ดีอย่างไร?

สอนลูกเมื่อเพื่อนไม่คบ

1. ลูกขาดความมั่นใจ

สิ่งแรกที่เราจะสังเกตได้คือ อาจเป็นเพราะลูกของเราขาดความมั่นใจในตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ ขาดความมั่นใจ เขาก็จะไม่ค่อยกล้าเข้าสังคมสักเท่าไหร่ ไม่กล้าที่จะทำความรู้จักกับคนอื่น พยายามอยู่แต่กับตัวเอง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะต้องทำการสังเกตว่าลูกของเรามีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ และหากลูกของเรามีพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ เราควรที่จะฝึกให้ลูกของเรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นนะคะ

2. ไม่สามารถเข้าสังคมได้

สิ่งที่สำคัญต่อมาเลย เด็ก ๆ อาจจะไม่ค่อยกล้าเข้าสังคมสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะในช่วงวัยเรียน แน่นอนว่าอาจเป็นช่วงที่เขาได้พบเจอกับสังคมใหม่ ๆ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ อีกทั้งยังได้เจอกับสังคมที่ใหญ่มากขึ้น แต่เมื่อไหร่ที่เขาไม่รู้จักการเข้าสังคม ไม่รู้จักการปรับตัวเข้าหาคนอื่น ๆ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้เด็ก ๆ ไม่มีเพื่อนเล่นขึ้นมาได้เช่นกัน

 

สอนลูกเมื่อเพื่อนไม่คบ

3. เป็นเด็กที่ชอบก่อกวน

สิ่งที่จะทำให้เด็ก ๆ ไม่มีเพื่อนคบต่อมาเลยคือ ลูกของเราอาจจะมีพฤติกรรมที่ก่อกวน หรือทำตัวน่ารำคาญ เพราะฉะนั้นหากเด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่ไม่ดี คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยสั่งสอนเด็ก ๆ และคอยแนะนำเขา ให้เขาเป็นเด็กดี พร้อมบอกเหตุผลว่าทำไมถึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อที่เขาจะได้กลายเป็นที่รักของทุก ๆ คนนะคะ

4. เป็นเด็กขี้หงุดหงิด

การที่ลูกของเราเป็นเด็กขี้หงุดหงิด เอาแต่ใจตัวเอง สิ่งนี้ก็ค่อนข้างเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เขาไม่มีเพื่อนคบด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อไหร่ที่เขางอแง อยากได้อะไรตามใจตัวเองไปหมดซะทุกอย่าง แน่นอนว่าคนอื่น ๆ เขาอาจจะไม่อยากเล่นด้วย หรือไม่อยากที่จะเข้ามาทำความรู้จักกับลูกของเราได้เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ระวังพฤติกรรมเลียนแบบในเด็ก เรื่องเล็กน้อยของพ่อแม่ แต่ลูกไม่ลืม

5. มีความแตกต่างจากคนอื่น

ในเรื่องของความแตกต่าง สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ลูกของเราไม่มีเพื่อนเล่นได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความแตกต่างทางด้านร่างกาย หรือสิ่งต่าง ๆ ก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีจิตใจที่เข้มแข็งมากขึ้น พยายามอธิบายเหตุผลให้เขาเข้าใจ เพื่อที่เขาจะได้อยู่ในสังคมได้ต่อไปค่ะ

วิธีการรับมือเมื่อลูกไม่มีเพื่อนคบทำอย่างไร?

เมื่อไหร่ที่เด็ก ๆ กำลังพบเจอกับปัญหาเพื่อนไม่คบ สิ่งนี้ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างกังวลและเป็นห่วงลูกมาก ๆ เอาเป็นว่าเรามารู้วิธีการรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมฝึกให้เด็ก ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อที่เขาจะได้กลายเป็นที่รักของเพื่อน ๆ กันเลยดีกว่าค่ะ

สอนลูกเมื่อเพื่อนไม่คบ

1. ฝึกให้ลูกเข้าใจตัวเอง

อย่างแรกที่เราจะต้องดูเลยคือการฝึกให้ลูก ๆ เข้าใจตัวเองมาก เพราะการที่เขาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น เขาก็จะรู้ว่าสิ่งที่เขาเป็นอยู่ในตอนนี้ มีพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือไม่ เด็ก ๆ เขาจะกลายเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้เขาก็จะได้รู้ความชอบของตัวเองมากขึ้นว่าชอบอะไร หรือไม่ชอบอะไร ดังนั้นการที่เด็ก ๆ ได้รู้จักและเข้าใจตัวเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เด็ก ๆ อยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้นนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับ! ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยวิธีง่าย ๆ เริ่มต้นจากอะไร?

2. ฝึกให้ลูกมีทักษะเข้าหาคนอื่น

การที่เราฝึกให้ลูกรู้จักปรับตัวเข้าหากับคนอื่น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรปลูกฝังเด็ก ๆ มาก เพราะเมื่อไหร่ที่เขาโตขึ้น นอกจากบ้านของเราแล้ว เด็ก ๆ ก็เริ่มที่จะต้องเข้าโรงเรียน หรือได้พบปะกับคนใหม่ ๆ เยอะขึ้น และถ้าเมื่อไหร่ที่เขากล้าที่จะเข้าหาสังคม กล้าที่จะทำให้ความรู้จักกับคนแปลกใหม่ สิ่งนี้ก็จะทำให้เพื่อนของเรามีเพื่อนเล่น และเป็นที่รักของทุกคนอย่างแน่นอนค่ะ

3. ฝึกให้ลูกรู้จักมองสถานการณ์ต่าง ๆ

อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ เราจะต้องฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักการมองสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ยกตัวอย่างเช่น การที่ลูกของเราทำงานร่วมกันกับเพื่อน ๆ แน่นอนว่ามันอาจจะมีช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ไม่ชอบใจกันบ้าง หรืออาจจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องคอยบอกลูก ๆ ของเราให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น พร้อมให้เขาเป็นเด็กที่มีเหตุนั่นเองค่ะ

สำหรับข้อมูลที่เราได้นำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ในวันนี้ เชื่อว่าน่าจะทำให้ใครหลาย ๆ คนคลายความกังวลขึ้นมาบ้าง เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ หากลูกของเรากำลังพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ แต่ไม่รู้จะช่วยลูก ๆ แก้ไขปัญหายังไงดี ขอบอกเลยว่าเทคนิคที่เราได้นำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ จะช่วยทำให้เด็ก ๆ กลายเป็นที่รักและเอ็นดูของเพื่อน ๆ อย่างแน่นอนค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 เทคนิค เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด อารมณ์ดี เป็นอัจฉริยะ

สอนลูกข้ามถนน อย่างไร? ให้ปลอดภัยบนท้องถนน มาดูกัน!

6 วิธีฝึกลูกไหว้สวัสดี ยิ่งฝึกเร็ว ยิ่งได้ผลดี !

ที่มา : 1, 2