สำหรับคุณแม่คนไหนที่กำลังสงสัยว่า ลูกของเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคดาวน์ซินโดรมหรือเปล่า และสาเหตุหลัก ๆ ที่จะทำให้ลูกของเราป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรมขึ้นมาได้นั้น สิ่งเหล่านี้เกิดจากอะไรบ้าง และเราควรรู้ได้อย่างไรว่า ลูกของเราเสี่ยงที่จะมีภาวะดาวน์ซินโดรม เอาเป็นว่าเรามาดูวิธีการ ตรวจดาวน์ซินโดรม กันเลยดีกว่าค่ะ
ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรมบ้าง?
สำหรับคุณแม่หลายคนคงอยากรู้ใช่ไหมคะว่า การที่ลูกในท้องของเราจะเป็นดาวน์ซินโดรมขึ้นมาได้นั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ยังไงบ้าง เราเช็กและค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำหนักทารกแรกเกิด ควรหนักเท่าไหร่ดี? ลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์ไหมมาดูกัน
1. คุณแม่ที่เคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม
สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่บางคน หรือเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เคยมีเจ้าตัวเล็กที่เคยเป็นดาวน์ซินโดรมมาก่อน ซึ่งต้องบอกว่าหากลูกคนแรกของเราเป็นดาวน์ซินโดรม โอกาสที่ลูกคนที่สองของเราจะเป็นป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมได้ค่อนข้างสูงมาก ๆ เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจจะต้องทำการปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อนที่จะมีลูกคนต่อไปนะคะ
2. มีคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม
เมื่อไหร่ที่คนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคดาวน์ซินโดรม อาทิเช่น พี่น้อง รวมไปถึงเครือญาติ สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลทำให้ทารกในท้องของเราเสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน ทางที่ดีก่อนที่เราจะมีเจ้าตัวเล็กเราก็ดูให้ดีก่อนค่ะว่าคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีใครเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่หรือเปล่า เพื่อที่เราระวังในเรื่องนี้ได้มากขึ้นตามไปด้วย
3. เช็กจากผลตรวจอัลตราซาวนด์
สิ่งที่จะทำให้คุณแม่ทราบได้ว่าลูกในท้องของเราเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้หรือไม่นั้น สิ่งนี้ก็อาจจะมาจากผลอัลตราซาวนด์ที่ผิดปกติไปจากเดิม เพราะฉะนั้นคุณแม่ควรที่จะไปพบหมออยู่เป็นประจำ และตรวจอัลตราซาวนด์ตามที่คุณหมอนัดนะคะ เพื่อที่เราจะได้รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
4. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
การที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงที่อายุมากขึ้นแล้ว สิ่งนี้ก็ค่อนข้างเสี่ยงที่จะทำให้ลูกในท้องของเราเป็นดาวน์ซินโดรมมาก ๆ เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังจะมีเจ้าตัวเล็กในช่วงที่อายุมากไปแล้ว คุณแม่อาจจะต้องทำการปรึกษา และขอคำแนะนำจากคุณหมอตามไปด้วยนะคะ เพื่อที่เจ้าตัวเล็กจะได้เติบโตมาเป็นเด็กที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์นั่นเองค่ะ
วิธีการตรวจดาวน์ซินโดรมสำหรับแม่ท้อง
ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งท้องอยู่นี้ หากคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่าลูกในท้องของเราเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่หรือไม่ เรามาดูวิธีการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เช็กให้ชัวร์ ! สรุปแล้วเราตั้งครรภ์หรือไม่ ตรวจครรภ์ตอนไหนดีให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
1. สำหรับแม่ท้องที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูง
คุณแม่คนไหนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป บอกเลยค่ะว่าค่อนข้างที่จะเสี่ยงเป็นโรคดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน ยิ่งคุณแม่คนไหนที่เคยตั้งครรภ์ และมีทารกที่เคยป่วยเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่แล้วนั้น สิ่งนี้ก็ค่อนข้างน่าเป็นห่วงอยู่เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากคุณแม่อยากทราบว่าลูกในท้องคนต่อไปเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่นั้น คุณแม่อาจจะต้องมาให้คุณหมอทำการตรวจคัดกรองด้วยการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างเป็นการตรวจคัดกรองที่แม่นยำ และเห็นผลเร็วมาก ๆ เลยทีเดียว
2. สำหรับแม่ท้องที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป สำหรับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงน้อย
สำหรับคุณแม่คนไหนที่ไม่เคยมีประวัติทารกในครรภ์ป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรมมาก่อนหน้านี้ เราก็อาจจะทำการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมเบื้องต้นด้วยวิธีอัลตราซาวนด์ก่อนก็ได้เช่นกัน ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้อาจจะต้องทำการเจาะเลือดร่วมด้วย เพื่อที่เราจะได้ทราบผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
ดาวน์ซินโดรมตรวจได้จากอะไรบ้าง?
สิ่งที่จะทำให้คุณแม่รู้ได้ว่าลูกในท้องของเราเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่นั้น แน่นอนว่าเราอาจจะต้องทำการตรวจคัดกรองได้จากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนจะมีวิธีการตรวจอย่างไรกันบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องกับภาวะ เชื้อราในช่องคลอด อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อทารกอย่างไร
1. ตรวจจากการเจาะน้ำคร่ำ
วิธีที่จะทำให้คุณแม่ทราบได้ว่าทารกในครรภ์เสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่นั้น เราอาจจะตรวจได้จากการเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งคุณหมอจะนำน้ำคร่ำที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ตัวทารกไปทำการตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ แต่การตรวจด้วยวิธีนี้เราอาจจะต้องทำการระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะค่อนข้างที่จะเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ง่ายเลย ทางที่ดีควรตรวจเมื่ออายุครรภ์ครบ 15 สัปดาห์ขึ้นไปนะคะ
2. ตรวจจากการเจาะสายสะดือทารก
อีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณแม่ทราบว่าลูกในท้องของเราเสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่หรือไม่นั้น อาจตรวจได้จากการเจาะเลือดจากสายสะดือ โดยคุณหมอจะนำเลือดที่อยู่บริเวณสายสะดือของเจ้าตัวเล็กไปตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งวิธีนี้อาจจะตรวจได้เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 18 – 22 สัปดาห์ไปแล้วนั่นเองค่ะ
3. ตรวจจากการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม
วิธีการตรวจดาวน์ซินโดรมที่น่าสนใจอีกหนึ่งวิธีคือ การวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมก่อนระยะการฝังตัว ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงของตัวอ่อนก่อนที่จะทำการฝังตัวเข้าไปในมดลูกของเรา เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการตรวจดาวน์ซินโดรมที่คนส่วนใหญ่ค่อนข้างนิยมมาก ๆ
4. ตรวจจากการตรวจโครโมโซมจากรกเด็ก
สิ่งที่จะทำให้คุณแม่ทราบได้ว่าลูกของเราเป็นดาวน์ซินโดรมไหม เราก็อาจจะให้คุณหมอตรวจโดยการนำโครโมโซมจากรกเด็กมาทำการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้เราอาจจะต้องทำการตรวจเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 10 สัปดาห์เป็นต้นไป แต่อาจจะต้องระมัดระวัง และพยายามทำตามที่คุณหมอแนะนำให้มากที่สุด ไม่อย่างนั้นคุณแม่อาจจะเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ค่อนข้างสูงมาก ๆ
ข้อมูลการตรวจดาวน์ซินโดรมในระหว่างการตั้งครรภ์ที่เราได้นำมาฝากคุณแม่ในวันนี้ นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจ และคุณแม่หลายคนไม่ควรมองข้ามมาก ๆ เพราะฉะนั้นใครที่มีภาวะเสี่ยงที่จะมีทารกเป็นดาวน์ซินโดรม หรือกลัวว่าลูกในท้องของเราจะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ ก่อนที่เราจะมีเจ้าตัวเล็ก เราก็อาจจะทำการปรึกษาคุณหมอ เพื่อที่คุณหมอจะได้แนะนำการมีบุตรให้กับเราได้อย่างถูกวิธีนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อาการแพ้ท้องลูกสาว เป็นอย่างไร? หากมีอาการแบบนี้อยู่ จะได้ลูกสาวจริงไหม!
แม่ต้องรู้! อาการแพ้ท้องลูกชาย มีลักษณะอย่างไร? มาดูกัน