สิ่งที่คุณแม่หลายคนชอบพูดถึงกันอยู่บ่อย ๆ นั่นก็อาจจะเป็นเมนูข้าวหน้าเป็ด สำหรับใครที่มีความชื่นชอบเมนูนี้กันอยู่แล้ว เรามาดูไปพร้อมกันเลยนะคะว่าเมนูนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์หรือเปล่า หากเรากินเข้าไปนั้นสิ่งจะส่งผลอะไรกับลูกน้อยของเราได้บ้าง หรือ คนท้องกินข้าวหน้าเป็ดได้ไหม มาดูกันเลยนะคะ
ประโยชน์ของเนื้อเป็ดที่ใคร ๆ ก็ต้องว้าว
หากพูดถึงประโยชน์ของเนื้อเป็ดต้องบอกเลยนะคะว่า เนื้อเป็ดเป็นวัตถุดิบที่อร่อยและคุณแม่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ คงอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าการที่เรากินเป็ดเข้าไปนั้น สิ่งนี้จะส่งผลดีอย่างไรต่อลูกในท้องบ้าง เอาเป็นว่าเรามาดูไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
บทความที่เกี่ยวข้อง : เนื้อวัว กินแล้วมีประโยชน์อย่างไร? แม่ท้องสามารถกินได้ไหม
1. ช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
การที่เรากินเนื้อเป็ดเข้าไป หรือเลือกกินสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผลที่ตามมาก็จะทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของเราทำงานได้อย่างเป็นปกติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เอาเป็นว่าใครที่อยากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เราก็อาจจะหันมากินเนื้อเป็นกันดูบ้างนะคะ
2. ช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย
สำหรับใครที่ชอบกินเนื้อเป็ดกันอยู่แล้ว ต้องบอกว่าสิ่งนี้จะเข้าไปช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยไม่ทำให้เรารู้สึกวิตกกังวลหรือคิดมากตามไปด้วย เอาเป็นว่าหากใครที่ค่อนข้างเครียด หรือมีสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายใจสักเท่าไหร่ เราก็อาจจะลองหันมากินเมนูอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น เมนูข้าวหน้าเป็ด เป็นต้น
3. ช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกาย
อย่างที่เรารู้กันว่า หากเมื่อไหร่ที่ร่างกายของเรามีโซเดียมมากจนเกินไป สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้ร่างกายของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ หรือใครที่กำลังป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงในตอนนี้ เราก็อาจจะหันมากินเมนูข้าวหน้าเป็ดกันดูนะคะ บอกเลยนะคะว่าเมนูนี้ค่อนข้างส่งผลดีต่อโรคความดันโลหิตสูงมาก ๆ เลยทีเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 อาหารโซเดียมสูงอันตรายต่อคนท้อง มีอะไรบ้างต้องระวัง ?
4. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
สิ่งที่น่าสนใจของการกินเนื้อเป็ดต่อมาเลยคือ เมนูที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในตอนนี้ค่อนข้างที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางได้ดีมาก ๆ เลย สำหรับใครที่ชอบมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดอยู่บ่อย ๆ เราก็อาจจะต้องลองกินเนื้อเป็ดกันดูได้เลยนะคะ บอกเลยว่าเป็นอะไรที่ดีมาก ๆ
คนท้องกินข้าวหน้าเป็ดได้ไหม?
มาไขข้อสงสัยกับสิ่งนี้กันต่อเลยดีกว่า หากใครที่กำลังมีความกังวลกับเรื่องนี้กันอยู่แล้วล่ะก็ บอกเลยนะคะว่าหายกังวลได้เลย เพราะเนื้อเป็ด หรือเมนูข้าวหน้าเป็ดนั้นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ดีและมีประโยชน์ อีกทั้งยังเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์ทางด้านอาหารมาก ๆ เลยทีเดียว
บทความที่เกี่ยวข้อง : สิ่งที่ควรรู้! คนท้องกินวุ้นเส้นได้ไหม กินแล้วสุขภาพดีหรือไม่?
เลือกซื้อเนื้อเป็ดแบบไหนให้อร่อย!
เมื่อไหร่ที่เราต้องเลือกซื้อเนื้อเป็ดมาประกอบทำเป็นเมนูอาหาร ขอบอกเลยนะคะว่าการที่เราจะเลือกเนื้อเป็ดที่ดีและมีคุณภาพนั้น เป็นอะไรที่เลือกได้ไม่ยากเลย หากเรารู้จักวิธีการเลือกซื้อเนื้อเป็ดได้อย่างถูกวิธี ส่วนจะต้องเลือกยังไงบ้าง มาดูขั้นตอนการเลือกซื้อเนื้อเป็ดกันเลยดีกว่า
1. เลือกซื้อเนื้อเป็ดที่มีสีอ่อน
ใครที่อยากจะลองชิมเนื้อเป็ดที่อร่อย นุ่ม ละมุนลิ้น แน่นอนว่าเราอาจจะต้องทำการสังเกตดูสีของเนื้อเป็ดตามไปด้วย ซึ่งเนื้อเป็ดที่ดีจะต้องมีสีอ่อน ไม่เข้มจนเกินไป เพราะเมื่อไหร่ที่เราเผลอซื้อเนื้อเป็ดที่ค่อนข้างมีความเข้มขึ้นมาหน่อย บอกเลยนะคะว่าเราอาจจะเผลอไปซื้อเนื้อเป็ดที่ค่อนข้างแก่ขึ้นมาก็ได้
2. บริเวณหนังเป็ดต้องสะอาด
สิ่งที่เราอาจจะต้องดูต่อมาเลยอาจจะเป็นส่วนบริเวณที่เป็นหนังเป็ด ซึ่งหากเป็นเนื้อเป็ดที่มีคุณภาพนั้น ส่วนที่เป็นหนังจะต้องมีความสะอาด และที่สำคัญจะต้องไม่มีกลิ่นตามไปด้วย นอกเหนือจากกลิ่นแล้วนั้นเราก็อาจจะทำการสังเกตดูด้วยว่าส่วนที่เป็นหนังเป็ดมีรอยย่นหรือเปล่า เพราะหากเมื่อไหร่ที่เราเผลอซื้อเนื้อเป็ดที่มีกลิ่นเหม็นและมีรอยย่น สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เนื้อเป็ดที่เราซื้อมาไม่อร่อยและเกิดการเน่าเสียขึ้นมาได้ง่าย
3. เนื้อเป็ดจะต้องไม่มีรอยบุ๋ม
จากนั้นเราก็อาจจะลองใช้นิ้วมือกดลงไปบริเวณเนื้อเป็ดตามไปด้วย ซึ่งเราอาจจะต้องดูว่าในขณะที่เราใช้นิ้วมือกดลงไปที่เนื้อเป็ดนั้น เนื้อเป็ดมีรอยบุ๋มเกิดขึ้นหรือเปล่า และหากเนื้อเป็ดมีรอยบุ๋มเกิดขึ้นสิ่งนี้ก็บ่งบอกเราได้ว่าเนื้อเป็ดที่เรากำลังจะซื้อไปนั้นไม่มีความสดใหม่นั่นเอง
4. ปากและตีนเป็ดจะต้องมีสีเหลือง
สิ่งที่เราอาจจะต้องทำการสังเกตต่อมาเลยคือ ส่วนที่เป็นปากและตีนเป็ดนั้นจะต้องมีสีเหลือง หรือพูดง่าย ๆ ว่าไม่ควรมีสีคล้ำ เพราะเมื่อไหร่ที่เราซื้อเป็ดที่มีปากและตีนเป็นสีคล้ำ สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้เราเผลอไปซื้อเป็ดแก่มาประกอบทำเป็นเมนูอาหารได้
วิธีทำข้าวหน้าเป็ดกินเอง
วัตถุดิบและส่วนผสม (เนื้อเป็ด)
- เป็ด 1 ตัว
- ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วดำ 2 ช้อนโต๊ะ
- ซอสหอยนางรม 3 ช้อนโต๊ะ
- เหล้าจีน 3 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ ตรามิตรผล 5 ช้อนโต๊ะ
- ผงพะโล้ 3 ช้อนโต๊ะ
- สามเกลอ 6 ช้อนโต๊ะ
- ขิง 1 ½ ถ้วย
วัตถุดิบและส่วนผสม (น้ำราด)
- น้ำในตัวเป็ด (เหลือจากการย่าง) 150 กรัม
- แป้งมันสำปะหลัง 10 กรัม
- น้ำเปล่า 350 กรัม
- น้ำเปล่า (สำหรับละลายแป้ง) 40 กรัม
- ผงพะโล้ 5 กรัม
- เต้าเจี้ยว 30 กรัม
- ผงปรุงรส 10 กรัม
- ซีอิ๊วขาว 10 กรัม
ขั้นตอนการทำ
1. ขั้นตอนแรกให้เราทำการหมักเป็ดก่อน โดยให้เราใส่ส่วนผสมชนิดต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ให้เรียบร้อย จากนั้นให้เราทำการปั่นส่วนผสมให้เข้ากันจนกลายละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน
2. จากนั้นให้เรานำส่วนผสมที่ได้มาทาลงบนตัวเนื้อเป็ด ซึ่งขั้นตอนการทาให้เราทาไปทั่วทั้งตัวเป็ดได้เลย จากนั้นก็ทำการเสียบไม้และพักไว้ก่อนได้เลย
3. ขั้นตอนต่อมาให้เรานำเป็ดที่ผ่านการทาเครื่องปรุงประเภทต่าง ๆ มาแล้ว มาทำการผึ่งไว้ให้แห้ง โดยอาจจะผึ่งทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงได้เลย
4. เมื่อครบเวลาที่กำหนดให้เรานำเป็ดที่ได้มาทำการอบให้เรียบร้อย ซึ่งขั้นตอนการอบนั้น เราจะทำการอบที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 90 นาทีนั่นเอง
5. ต่อมาเรามาทำการเตรียมน้ำราดของข้าวหน้าเป็ดกันบ้างดีกว่า ซึ่งขั้นตอนการเตรียมน้ำราดนั้น ให้เราทำการผสมแป้งมันสำปะหลังและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน เสร็จแล้วพักไว้ก่อน
6. จากนั้นให้นำน้ำในตัวเป็ด น้ำเปล่า น้ำตาล ผงพะโล้ เต้าเจี้ยว น้ำอ้อยธรรมชาติ และซีอิ๊วขาวเทใส่ลงไปในหม้อ พร้อมกับทำการต้มทิ้งไว้ให้เดือด
7. สิ่งที่เราจะต้องทำต่อมาเลยคือให้เราค่อย ๆ เทแป้งที่ทำการผสมไว้แล้วนั้น ค่อย ๆ เทลงไป พร้อมกับทำการคนไปเรื่อย ๆ เมื่อน้ำเริ่มข้นและมีความเหนียว เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำราดที่อร่อยแล้วล่ะค่ะ
8. ต่อมาให้เราทำการตักข้าวสวยใส่จาน ตามด้วยเนื้อเป็ด และราดน้ำลงไปแบบฉ่ำ ๆ เลยนะคะ บอกเลยว่าเมนูนี้เป็นอะไรที่อร่อยมาก
จากที่เราได้มาลองทำข้าวหน้าเป็ด และมารู้ถึงคุณประโยชน์ของเนื้อเป็ดกันมากขึ้นแล้วนั้น ต้องบอกเลยนะคะว่าเนื้อเป็ดเป็นอะไรที่ค่อนข้างอร่อย และมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้านเลย เอาเป็นว่าอย่าลืมมาทำตามกันเยอะ ๆ นะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินนมข้นหวานได้ไหม กินแล้วน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นหรือเปล่า?
คนท้องกินโรตีได้ไหม กินแล้วจะส่งผลต่อลูกในท้องมากน้อยแค่ไหน?
ชาดอกคำฝอยคนท้องกินได้ไหม กินแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือไม่?
ที่มา : 1, 2