ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่บทความของเรานะคะ ใกล้สู่ช่วงครึ่งทางแล้ว ในช่วงนี้คุณแม่อาจกำลังตื่นเต้นที่จะได้ทราบเพศของลูก แต่ที่จริงแล้ว ใน 

 1742 views

ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่บทความของเรานะคะ ใกล้สู่ช่วงครึ่งทางแล้ว ในช่วงนี้คุณแม่อาจกำลังตื่นเต้นที่จะได้ทราบเพศของลูก แต่ที่จริงแล้ว ในช่วงนี้ลูกน้อยก็มีพัฒนาที่สำคัญเช่นกัน เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าว่าพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ เป็นอย่างไร ลูกจะตัวโตแค่ไหน และคุณแม่จะมีอาการอะไรที่น่าเป็นห่วงหรือต้องระวังบ้าง พร้อมแล้ว ไปดูกันค่ะ

ท้อง 19 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

คุณแม่หลายคนอาจเกิดความสับสนว่าท้อง 19 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน คำตอบคือ ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์เท่ากับ 4 เดือนกับอีก 3 สัปดาห์นะคะ คุณแม่อย่าลืมว่าคุณหมอจะติดตามการตั้งครรภ์เป็นรายสัปดาห์มากกว่ารายเดือน เพราะฉะนั้นเหลือเพียงอีกแค่สัปดาห์เดียว คุณแม่ก็จะเข้าสู่ช่วงครึ่งทางของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

ทารกในครรภ์อายุ 19 สัปดาห์ เป็นอย่างไรบ้าง

หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ในช่วง 79 สัปดาห์ ลูกน้อยของคุณจะมีขนาดเท่าผลมะม่วงแล้ว โดยจะมีขนาดความยาว 6 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 8.5 ออนซ์ ซึ่งท้องของคุณแม่จะเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น จนอาจสังเกตได้ว่าท้องอยู่ค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าในช่วง 19 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ลูกน้อยในครรภ์จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง

มีลายนิ้วมือ

สัปดาห์นี้ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มมีลายนิ้วบนนิ้วมือ และนิ้วเท้า ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีลายนิ้วมือที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือฝาแฝดก็ตาม

พัฒนาระบบประสาท

ทารกจะมีพัฒนาการทางประสาทสัมผัส โดยสมองของทารกของเขาจะเริ่มพัฒนาการรับรส กลิ่น เสียง การมองเห็น และการสัมผัส ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่วงสำคัญของพัฒนาการลูกน้อย

ไขทารก

ในช่วงนี้ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มสร้างไขทารกซึ่งเรียกว่า “Vernix Caseosa” โดยจะเป็นไขที่ถูกสร้างจากต่อมไขมัน มีสารที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ขี้ผึ้ง ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอล โดยไขทารกนี้จะเริ่มผลิตมากขึ้นตามอายุครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ 8-9 ซึ่งเป็นช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ไขทารกนี้จะช่วยปกป้องผิวหนังของลูกในครรภ์ค่ะ

การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

โดยทั่วไปแล้ว อาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์นั้นจะมีอาการที่ไม่รุนแรง แต่จะเป็นอาการที่สร้างความรำคาญใจให้แก่คุณแม่มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้ไม่ได้แปลว่าคุณแม่จะสามารถรับมือได้ง่าย ๆ นะคะ เรามาดูกันดีกว่าว่าท้อง 19 สัปดาห์ คุณแม่จะมีอาการอย่างไรบ้าง

ปวดท้อง

อาการปวดท้องเป็นอาการทั่วไปที่คุณแม่สามารถพบเจอได้ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่อาจมีอาการปวดท้องน้อย จนทำให้ไม่สบายตัว ซึ่งอาการนี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อของคุณแม่เริ่มยืดออก เพื่อรองรับทารก หากคุณมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือเป็นกังวล สามารถแจ้งให้คุณหมอทราบได้นะคะ เพื่อให้รับคำแนะนำในการบรรเทาอาการ แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บปวดเล็กน้อย ก็เกิดจากการขยายตัวของกล้ามเนื้อทั่วไปค่ะ

ตะคริว

อาการตะคริวมักเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ขาดแคลเซียม และมีฟอสฟอรัสมากเกินไปในกระแสเลือด ทำให้คุณแม่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนเกิดอาการตะคริวนั่นเอง วิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว คือ การยืดกล้ามเนื้อ เหยียดขา หรือยืดเท้าออกไปข้างหน้า คุณแม่อาจใช้วิธีการนวดเบา ๆ หรือเล่นโยคะคนท้องก็สามารถช่วยบรรเทาอาการนี้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ตะคริว เกิดจากอะไร เป็นตะคริวบ่อยรักษาอย่างไรให้หายดี?

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

หน้ามืด และเวียนศีรษะ

คุณแม่หลายคนมักมีอาการหน้ามืด และเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม เนื่องจากมดลูกกำลังขยายตัวไปกดทับเส้นเลือดนั่นเอง นอกจากนี้ เมื่อลูกในครรภ์เริ่มโตขึ้น ก็อาจไปเบียดกับปอดของคุณแม่จนทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยลง รวมทั้งคุณแม่บางคนอาจมีภาวะขาดน้ำ และไม่ค่อยรับประทานอาหาร ก็อาจทำให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัวได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรดูแลตัวเองให้ดี ดื่มน้ำสะอาด และรับประทานอาหารให้เพียงพอ ก็จะช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้ค่ะ

ปวดสะโพก

หากคุณแม่มีอาการปวดสะโพก ก็อาจส่งผลให้เกิดความหงุดหงิด และนอนหลับยาก ทางที่ดีคุณแม่สามารถเปลี่ยนมานอนตะแคงได้ โดยใช้หมอนรองไว้ระหว่างเข่าทั้งสองข้าง ยิ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดอยู่ด้วยแล้ว การใช้หมอนรองเข่าก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดสะโพกได้ดีเชียวละ

เคล็ดลับการดูแลตัวเองของคุณแม่ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์การดูแลตัวเองเป็นสิ่งพื้นฐานที่คุณแม่ควรต้องปฏิบัติ เพื่อทำให้ลูกน้อย และตนเองแข็งแรง ปลอดภัย และมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ก็ควรดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี เราจึงได้รวบรวมเคล็ดลับการดูแลตัวเองของคุณแม่ท้อง 19 สัปดาห์มาฝากค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรที่คุณแม่ควรทำบ้าง

หาข้อมูลเรื่องหมอเด็ก

คุณแม่ควรเริ่มมองหาข้อมูลหมอเด็ก โดยอาจขอคำแนะนำจากเพื่อนผู้ปกครอง หรือค้นหาทางออนไลน์ หากแถวบ้านของคุณแม่มีคลินิกเด็กอยู่แล้ว ให้ลองติดต่อสอบถามไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้สะดวกต่อการเดินทางใกล้บ้าน นอกจากนี้ คุณแม่อาจลิสต์รายชื่อคุณหมอไว้ จนกว่าจะถึงเวลาตัดสินใจ

ทำกิจกรรมผ่อนคลาย

คุณแม่บางคนอาจมีความเครียดจากการตั้งครรภ์จนทำให้นอนไม่หลับ ดังนั้นคุณแม่จึงควรหากิจกรรมต่าง ๆ ทำเพื่อผ่อนคลายความเครียด โดยคุณแม่อาจดูหนัง อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ ไปช้อปปิ้ง หรือปลูกต้นไม้ ก็จะช่วยลดความวิตกกังวลได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายคุณแม่ผ่อนคลายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นพิลาทิส โยคะ เดินเบา ๆ หรือว่ายน้ำ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : โยคะคนท้อง ดีต่อคุณแม่อย่างไร ช่วยให้คลอดลูกง่ายจริงไหม?

ตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกจนเกินไป เพราะอาจทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ หากคุณแม่มีอาการปวดขา ปวดท้องจนนอนไม่หลับ ก็อาจใช้วิธีนวดเบา ๆ หรือไปหาคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษา ทั้งนี้คุณแม่ควรดื่มน้ำสะอาด และรับประทานอาหารให้เพียงพอ เพื่อช่วยนอนหลับสนิทมากขึ้นค่ะ

พูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น

คุณแม่สามารถพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น เพื่อร่วมกันพูดคุยถึงอาการที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยกันแชร์ไอเดีย และวิธีรับมือกับอาการแล้ว ยังช่วยให้คุณแม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองคนอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ คุณแม่อาจรวมกลุ่มผู้ปกครองกันไปเรียนโยคะคนท้อง หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วยกันได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับคุณแม่ท่านอื่นได้เป็นอย่างดี

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เชื่อว่าตอนนี้คุณแม่คงจะได้ทราบกันแล้วว่าลูกน้อยในครรภ์เป็นอย่างไร และอาการที่คุณแม่จะต้องพบเจอในสัปดาห์นี้จะมีอะไรบ้าง หากคุณแม่อยากรู้ว่าในสัปดาห์ต่อไปลูกน้อยจะเป็นอย่างไร และคุณแม่จะต้องเจอกับอาการอะไรบ้าง สามารถติดตามเรื่องราวของการตั้งครรภ์ในแต่ละสัปดาห์เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของเรา หรือเลือกบทความเกี่ยวกับเรื่องตั้งครรภ์ในสัปดาห์ถัดไป และสัปดาห์ก่อนหน้าได้ที่ด้านล่างนี้เลยนะคะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เรียนรู้ครรภ์ 16 สัปดาห์ พัฒนาการทารกที่ก้าวกระโดดกว่าที่คิด

ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

ตั้งครรภ์ 25 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

ที่มา : 1, 2