ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ พัฒนาการของลูกน้อย ที่คุณแม่ควรรู้!

ในระยะเวลาตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ หรือช่วงอายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างสำคัญและคุณแม่จะต้องเตรียมตัวแ 

 1452 views

ในระยะเวลาตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ หรือช่วงอายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างสำคัญและคุณแม่จะต้องเตรียมตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย หนึ่งในนั้นคือรวมถึงพัฒนาการลูกในท้องของเราด้วย สำหรับคุณแม่คนไหนที่อยากทราบว่า ระยะเวลา ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ ลูกในท้องมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง? มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ

ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ พัฒนาการลูกในท้องเป็นอย่างไร?

 

ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์

1. น้ำหนักตัวทารก

เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 5 เดือน หรือตั้งครรภ์ได้ประมาณ 23 สัปดาห์ แน่นอนว่าน้ำหนักของทารกก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งโดยมาตรฐานแล้วน้ำหนักทารกจะมีน้ำหนักกว่าครึ่งกิโลกรัมนั่นเองค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 24 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

2. สัดส่วนร่างกาย

นอกจากน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นแล้ว ทุกส่วนในร่างกายของทารกยังได้สัดส่วนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสัดส่วนต่าง ๆ ในร่างกายจะเล็กหรือจะผอมสิ่งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการสะสมชั้นไขมันใต้ผิวหนังตามไปด้วย

3. ปอดเริ่มมีการผลิตสาร

หลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 23 สัปดาห์ ปอดของทารกก็จะเริ่มผลิตสารลดแรงตึงผิวขึ้นมา โดยสารเหล่านี้จะช่วยทำให้ถุงลมในปอดพองตัวในขณะที่ลูกของเราหายใจเข้า และจะเกิดการหดตัวเวลาหายใจออกนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกตื่นเต้นไปตามกันเลยล่ะค่ะ

4. เส้นเลือดในปอดเริ่มมีการขยาย

ระยะเวลาที่คุณแม่เริ่มตั้งท้องได้ประมาณ 5 เดือน เส้นเลือดที่อยู่ภายในปอดก็จะมีการขยายใหญ่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการหายใจให้กับเด็ก ๆ โดยทารกในครรภ์จะมีการหายใจโดยเอาน้ำคร่ำออกมา จากนั้นก็จะฝึกการทำงานของกะบังลมเป็นส่วนใหญ่นะคะ เพราะหากเป็นการหายใจที่ได้รับออกซิเจนทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนจากคุณแม่อยู่แล้วค่ะ

5. ทารกสามารถเปลี่ยนท่าได้

อีกหนึ่งพัฒนาการของทารกคือสามารถเปลี่ยนท่าได้ คุณแม่เคยสังเกตไหมคะว่าเมื่อเราเริ่มมีอายุครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น อย่างตั้งท้องได้ประมาณ 5 เดือน ลูกในท้องของเราจะดิ้นปล่อยขึ้น หรือเขาสามารถเปลี่ยนท่าได้ตลอดทั้งวันเลยก็ว่าได้ค่ะ ซึ่งโดยส่วนมากตอนเช้า ๆ เขาจะชอบเอาหัวลง แต่เมื่อมาถึงช่วงบ่ายเขาก็จะเอาหัวกลับขึ้นมาเหมือนเดิมค่ะ

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของคุณแม่ที่ควรรู้

นอกจากพัฒนาการลูกในท้องที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แล้ว ต้องบอกว่าร่างกายของคุณแม่ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน เรามาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ พัฒนาการทารกในครรภ์ ไตรมาสที่ 2

ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์

1. มีหน้าท้องชัดเจนมากขึ้น

อย่างแรกเลยคุณแม่จะมีหน้าท้องที่ชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากตำแหน่งมดลูกจะเลื่อนขึ้นไปอยู่บริเวณเหนือสะดือ ทำให้ท้องของคุณแม่ดูโตขึ้น จนใคร ๆ ก็สังเกตได้หรือดูออกมาคุณแม่กำลังตั้งท้องอยู่

2. รู้สึกถึงอาการชา

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามมาเลยคืออาการชา หรือคุณแม่บางคนก็อาจจะรู้สึกเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทงที่ปลายนิ้วมือ ซึ่งอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เส้นประสาทของเราถูกกดทับจนส่งผลทำให้คุณแม่รู้สึกมีอาการชาที่บริเวณนิ้วมือขึ้นมา ถ้าคุณแม่คนไหนที่รู้สึกปวดหรือชาขึ้นมามาก ๆ เราก็อาจจะทำกายภาพบำบัด หรือบางคนก็อาจจะต้องเข้าเฝือกเพื่อทำการรักษาได้เลยค่ะ

3. มีอาการปวดหัว

สำหรับอาการที่ค่อนข้างพบได้บ่อยสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ประมาณ 5 เดือน นั่นคืออาการปวดหัว อาจเป็นเพราะฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่เพิ่มสูงขึ้นจนทำให้คุณแม่มีอาการปวดหัวขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นหากคุณแม่คนไหนที่กำลังมีอาการเหล่านี้อยู่ อาจจะต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย พร้อมกับหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศร้อนมากจนเกินไป เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดอาการปวดหัวให้กับคุณแม่ได้แล้ว

4. มีการตกขาวเพิ่มมากขึ้น

นอกจากสิ่งต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว สำหรับคุณแม่บางคนก็อาจจะมีอาการตกขาวเพิ่มขึ้นมาด้วย โดยการตกขาวที่เป็นอยู่นี้โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสีขาวใสไม่มีกลิ่น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้สึกระคายเคือง หรือมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย อาจจะต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ ไม่อย่างนั้นอาจจะส่งผลอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกในท้องได้ง่าย ๆ

5. อาการเจ็บท้องหลอก

อาการเจ็บท้องหลอกเป็นอีกหนึ่งอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ระยะนี้ อาจเป็นเพราะมดลูกของเราเริ่มมีการบีบตัวและหดตัวมากกว่าปกติ แต่อาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอาการเจ็บท้องคล้าย ๆ จะคลอดเท่านั้น แต่ไม่ได้จะคลอดก่อนกำหนดแน่นอนค่ะ

เคล็ดลับวิธีดูแลตัวเองสำหรับแม่ท้อง

หากคุณแม่กำลังมองหาวิธีดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อที่เราจะได้เป็นคุณแม่ที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมกับให้ลูกของเรามีสุขภาพดีไปด้วย มาดูเคล็ดลับวิธีดูแลตัวเองไปพร้อมกันเลยค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เนื้อปลา ดีต่อแม่ท้องอย่างไร คนท้องกินปลาอะไรได้บ้าง?

ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์

1. พยายามบริหารกล้ามเนื้อ

แน่นอนว่าในช่วงตั้งครรภ์ อาจเป็นช่วงระยะเวลาที่คุณแม่หลายคนรู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หากคุณแม่อยากมีสุขภาพที่ดี และอยากให้ลูกในท้องของเราแข็งแรงตามไปด้วย เราก็อาจจะต้องทำการบริหารกล้ามเนื้ออยู่บ่อย ๆ อาจจะทำในช่วงก่อนนอนทุกครั้ง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดอาการตะคริวพร้อมกับทำให้คุณแม่หลับสบายมากยิ่งขึ้นเลยล่ะค่ะ

2. ตรวจสุขภาพตามนัดทุกครั้ง

สิ่งที่คุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ต่อมาเลยคือเรื่องของสุขภาพ เพราะฉะนั้นในช่วงที่คุณหมอนัด เราควรไปตรวจสุขภาพตามที่หมอนัดทุกครั้ง และไม่ควรที่จะไปช้า หรือผัดวันประกันพรุ่งนะคะ เพื่อที่คุณหมอจะได้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำดี ๆ ให้คุณแม่ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องนะคะ

จากที่เราได้นำข้อมูลดี ๆ มาฝากคุณแม่เกี่ยวกับพัฒนาการของทารกในครรภ์และการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ หรือช่วงเวลาตั้งท้อง 5 เดือน เชื่อว่าคุณแม่หลายคนก็น่าจะคลายความกังวลขึ้นมาได้บ้างแล้ว ยังไงอย่าลืมเข้ามาอ่านกันนะคะ บอกเลยว่าสิ่งที่เราได้นำมาฝากนั้น มีประโยชน์และทำให้คุณแม่ได้รู้ถึงพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปของทารกในครรภ์ รวมถึงตัวเราเองด้วยค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

10 อาหารว่างสำหรับคนท้อง กินแล้วดี มีประโยชน์ต่อลูกในครรภ์

คนท้องฟังเพลง แล้วส่งผลดีต่อลูกในท้องอย่างไร? เพลงสำหรับคนท้อง

ผลไม้สำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง? กินแล้วมีประโยชน์อย่างไร

ที่มา : 1, 2